[:th]CrCF Logo[:]

[:en]เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีอำนาจเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ (DNA) ไปจากเรา[:th]เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีอำนาจเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ (DNA) ไปจากเรา[:]

Share

[:en]

ดีเอ็นเอคืออะไร?
ดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรม เป็นกรดชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายของเรา ที่กำหนดรูปลักษณะทางกายและสุขภาพเฉพาะตัวของเราแต่ละคน


เราละคนจะมีดีเอ็นเอไม่เหมือนกัน 100 % ดังนั้นในโลกนี้จึงไม่มีใครที่มีรูปร่างหน้าตาหรือสุขภาพเหมือนกัน 100%

ดีเอ็นเอสามารถถ่ายทอดจากพ่อและแม่สู่ลูกได้ ดังนั้นลูกจะมีดีเอ็นเอที่ผสมกันระหว่างดีเอ็นเอของพ่อและดีเอ็นเอของแม่ ลูกจึงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับพ่อและแม่หรือบรรพบุรุษ bดังนั้นหากต้องการพิสูจน์ว่าเด็กเป็นลูกของใคร ก็สามารถตรวจเทียบดู ดีเอ็นเอได้

ข้อมูลดีเอ็นเอสำคัญอย่างไร?
ข้อมูลดีเอ็นเอ เป็นข้อมูลเฉพาะบุคคล อาจถูกนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์และโทษในทางผิดๆ เช่นนำไปใช้เป็นหลักฐานกลั่นแกล้งเราว่ากระทำความผิดในคดีอาญา โดยอ้างว่า ดีเอ็นเอของคนร้ายที่เก็บได้จากที่เกิดเหตุ ตรงกับดีเอ็นเอของเรา เราจึงเป็นคนร้าย เป็นต้น


เรามีสิทธิในดีเอ็นเอของเรา ใครจะละเมิดมิได้
ตามหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายของไทย เราทุกคนมีสิทธิในชีวิต ร่างกาย และข้อมูลส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ของเรา ดีเอ็นเอเป็นส่วนของชีวิตและร่างกายและเป็นข้อมูลส่วนตัวของเราได้รับการปกป้องโดยรัฐธรรมนูญ ผู้ใดหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐจะละเมิดมิได้ (รัฐธรรมนูญมาตรา 28 และ 32)
เจ้าหน้าที่จะเก็บดีเอ็นเอได้เพียงสองกรณี คือ

(2.1) เจ้าหน้าที่ต้องให้ข้อมูลแก่เราอย่างละเอียด ถูกต้องเป็นจริง ชัดเจน เข้าใจได้ เช่น
(1) เจ้าหน้าที่ต้องอธิบายให้เราเข้าใจว่าดีเอ็นเอคืออะไร
(2) เจ้าหน้าที่ที่เก็บดีเอ็นเอเรามาจากหน่วยงานไหน
(3) เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอเราไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด
(4) เมื่อเอาตัวอย่างดีเอ็นเอเราไปแล้วจะเก็บไว้ที่ไหน ใครเป็นผู้ตรวจ บันทึกข้อมูล ใครเป็นผู้เก็บรักษา เก็บรักษาอย่างไร
(5) จะรักษาความลับข้อมูลดีเอ็นเอของเราอย่างไร ใครสามารถเข้าถึงได้บ้าง
(6) ใครมีสิทธิเอาข้อมูลดีเอ็นเอของเราไปใช้ได้บ้าง
(7) จะป้องกันไม่ให้นำข้อมูลดีเอ็นเอของเราไปใช้ในทางที่ผิดได้อย่างไร และ
(2.2) เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้เราทราบว่า เรามีสิทธิจะให้เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเราหรือปฏิเสธได้ไม่บังคับ หากเราไม่ให้เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเรา ก็จะไม่มีผลร้ายใดๆต่อเรา
(2.3) หากเราได้ให้ความยินยอมไปแล้ว เราสามารถเปลี่บยนใจและถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องลบทำลายข้อมูลดีเอ็นเอของเราเสีย

เจ้าหน้าที่เก็บดีเอ็นเอจากเด็กทารกได้หรือไม่ เด็กทารกยังไม่สามารถเข้าใจเรื่องดีเอ็นเอและไม่สามารถตัดสินใจที่จะให้ความยินยอมในการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอได้ ดีเอ็นเอเป็นข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ดังนั้นถ้าไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์แก่เด็กเช่นเพื่อพิสูจน์หาพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก เจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเด็กไม่ได้ แม้พ่อแม่ ผู้ปกครองจะให้ความยินยอม

เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจเก็บดีเอ็นเอจากบุคคลใดๆ รวมทั้งบุคคลต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นไม่ “ยินยอมด้วยความเต็มใจ” เช่น
(1) ผู้ถูกจับ ควบคุมตัวตาม กฎอัยการศึกหรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
(2) ผู้เข้าเกณฑ์ทหาร
(3) ผู้เข้าเมืองโดยไม่ผ่านด่าน
(4) ผู้เข้ารับการตรวจรักษาโรค

หากเจ้าหน้าที่ขอเก็บดีเอ็นเอเราควรทำอย่างไร?
(1) เราควรขอให้เจ้าหน้าที่อธิบายและให้ข้อมูลเราโดยละเอียด
(2) หากเราไม่เต็มใจเราไม่ควรให้เจ้าหน้าที่เก็บดีเอ็นเอ และไม่ควรลงชื่อในเอกสารที่ระบุว่าเราอนุญาตให้เก็บดีเอ็นเอ
(3) หากเจ้าหน้าที่ข่มขู่บังคับ เราควรร้องเรียนผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน รวมทั้งองค์กรสิทธิมนุษยนชน
(4) หากเราถูกเก็บดีเอ็นเอไปแล้วเราควรเพิกถอนการเก็บโดยทำหนังสือไปถึงหน่วยงานที่เก็บดีเอ็นเอ หากหน่วยงานไม่ยอมลบข้อมูลดีเอ็นเอเราควรฟ้องศาล

#DNA

[:th]

ดีเอ็นเอคืออะไร?


ดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรม เป็นกรดชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายของเรา ที่กำหนดรูปลักษณะทางกาย และสุขภาพเฉพาะตัวของเราแต่ละคน เราละคนจะมีดีเอ็นเอไม่เหมือนกัน 100 % ดังนั้นในโลกนี้จึงไม่มีใครที่มีรูปร่างหน้าตาหรือสุขภาพเหมือนกัน 100%

ดีเอ็นเอสามารถถ่ายทอดจากพ่อและแม่สู่ลูกได้ ดังนั้นลูกจะมีดีเอ็นเอที่ผสมกันระหว่างดีเอ็นเอของพ่อและดีเอ็นเอของแม่ ลูกจึงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับพ่อและแม่หรือบรรพบุรุษ bดังนั้นหากต้องการพิสูจน์ว่าเด็กเป็นลูกของใคร ก็สามารถตรวจเทียบดู ดีเอ็นเอได้

ข้อมูลดีเอ็นเอสำคัญอย่างไร?

ข้อมูลดีเอ็นเอ เป็นข้อมูลเฉพาะบุคคล อาจถูกนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์และโทษในทางผิดๆ เช่นนำไปใช้เป็นหลักฐานกลั่นแกล้งเราว่ากระทำความผิดในคดีอาญา โดยอ้างว่า ดีเอ็นเอของคนร้ายที่เก็บได้จากที่เกิดเหตุ ตรงกับดีเอ็นเอของเรา เราจึงเป็นคนร้าย เป็นต้น

เรามีสิทธิในดีเอ็นเอของเรา ใครจะละเมิดมิได้

ตามหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายของไทย เราทุกคนมีสิทธิในชีวิต ร่างกาย และข้อมูลส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ของเรา ดีเอ็นเอเป็นส่วนของชีวิตและร่างกายและเป็นข้อมูลส่วนตัวของเราได้รับการปกป้องโดยรัฐธรรมนูญ ผู้ใดหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐจะละเมิดมิได้ (รัฐธรรมนูญมาตรา 28 และ 32)

เจ้าหน้าที่จะเก็บดีเอ็นเอได้เพียงสองกรณี คือ

(2.1) เจ้าหน้าที่ต้องให้ข้อมูลแก่เราอย่างละเอียด ถูกต้องเป็นจริง ชัดเจน เข้าใจได้ เช่น

  • เจ้าหน้าที่ต้องอธิบายให้เราเข้าใจว่าดีเอ็นเอคืออะไร
  • เจ้าหน้าที่ที่เก็บดีเอ็นเอเรามาจากหน่วยงานไหน
  • เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอเราไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด
  • เมื่อเอาตัวอย่างดีเอ็นเอเราไปแล้วจะเก็บไว้ที่ไหน ใครเป็นผู้ตรวจ บันทึกข้อมูล ใครเป็นผู้เก็บรักษา เก็บรักษาอย่างไร
  • จะรักษาความลับข้อมูลดีเอ็นเอของเราอย่างไร ใครสามารถเข้าถึงได้บ้าง
  • ใครมีสิทธิเอาข้อมูลดีเอ็นเอของเราไปใช้ได้บ้าง
  • จะป้องกันไม่ให้นำข้อมูลดีเอ็นเอของเราไปใช้ในทางที่ผิดได้อย่างไร และ

(2.2) เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้เราทราบว่า เรามีสิทธิจะให้เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเราหรือปฏิเสธได้ไม่บังคับ หากเราไม่ให้เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเรา ก็จะไม่มีผลร้ายใดๆต่อเรา

(2.3) หากเราได้ให้ความยินยอมไปแล้ว เราสามารถเปลี่บยนใจและถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องลบทำลายข้อมูลดีเอ็นเอของเราเสีย

เจ้าหน้าที่เก็บดีเอ็นเอจากเด็กทารกได้หรือไม่?

เด็กทารกยังไม่สามารถเข้าใจเรื่องดีเอ็นเอและไม่สามารถตัดสินใจที่จะให้ความยินยอมในการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอได้ ดีเอ็นเอเป็นข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ดังนั้นถ้าไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์แก่เด็กเช่นเพื่อพิสูจน์หาพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก เจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเด็กไม่ได้ แม้พ่อแม่ ผู้ปกครองจะให้ความยินยอม

เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจเก็บดีเอ็นเอจากบุคคลใดๆ รวมทั้งบุคคลต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นไม่ “ยินยอมด้วยความเต็มใจ” เช่น

  1. ผู้ถูกจับ ควบคุมตัวตาม กฎอัยการศึกหรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
  2. ผู้เข้าเกณฑ์ทหาร
  3. ผู้เข้าเมืองโดยไม่ผ่านด่าน
  4. ผู้เข้ารับการตรวจรักษาโรค

หากเจ้าหน้าที่ขอเก็บดีเอ็นเอเราควรทำอย่างไร?

  1. เราควรขอให้เจ้าหน้าที่อธิบายและให้ข้อมูลเราโดยละเอียด
  2. หากเราไม่เต็มใจเราไม่ควรให้เจ้าหน้าที่เก็บดีเอ็นเอ และไม่ควรลงชื่อในเอกสารที่ระบุว่าเราอนุญาตให้เก็บดีเอ็นเอ
  3. หากเจ้าหน้าที่ข่มขู่บังคับ เราควรร้องเรียนผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน รวมทั้งองค์กรสิทธิมนุษยนชน
  4. หากเราถูกเก็บดีเอ็นเอไปแล้วเราควรเพิกถอนการเก็บโดยทำหนังสือไปถึงหน่วยงานที่เก็บดีเอ็นเอ หากหน่วยงานไม่ยอมลบข้อมูลดีเอ็นเอเราควรฟ้องศาล
[:]