
“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว” นายอับดุลเลาะ เงาะ หัวหน้ากลุ่มเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad) พูดประโยคนี้ด้วยน้ำเสียงแห่งอิสรภาพ หลังจากถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเมื่อปีพ.ศ. 2552 ก่อนจะเข้ามาเป็นผู้นำเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad)
Q: ที่มาก่อตั้งเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ
A: จุดเริ่มต้นมาจากเราถูกควบคุมตัวโดยทหาร 3 ครั้ง โดยพรก.ฉุกเฉินกฏหมายพิเศษ และระหว่างนั้นก็ถูกซ้อมทรมาน หลังจากถูกปล่อยจากควบคุมครั้งแรกปีพ.ศ. 2552 ก็พบกับคุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
จนกระทั่งตนเองโดนควบคุมตัวครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2555 ทำให้เริ่มสนใจที่จะถอดบทเรียนว่าระหว่างที่โดนควบคุมตัว อะไรคือข้อเสียของกฏหมายพวกนี้ อะไรบ้างที่ละเมิด อะไรบ้างที่จะช่วยเหลือเคสเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเยียวยา ด้านกฏหมาย ในตอนนั้นเป็นแค่การวางแผนงานไว้เฉย ๆ
จนปีพ.ศ.2557 ครั้งที่ 3 ก็สัญญากับตัวเองว่าต้องทำโดยมีกลุ่มผู้ที่เคยถูกควบคุมตัว จึงเริ่มก่อตั้งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ เมื่อก่อนยังไม่มีออฟฟิศ ก็คอยส่งอาสาสมัครติดตามแต่ละเคสว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยแบ่งเป็นอาสาสมัครประจำออฟฟิศ 3 – 4 คนในวันทำการ แต่ละคนจะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษาเรื่องของกฏหมายพิเศษ และการเยียวยา ในสามข้อนี้เราสามารถดูแลกันได้
ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์ จะเป็นตนเองที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบพร้อมอาสาสมัครอีก 2 – 3 คน และที่เหลือจะเป็นอาสาสมัครจากครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ บางเคสคนในครอบครัวก็คุมตัวอยู่ในเรือนจำ ประจำที่สำนักงานอยู่ที่ 20 กว่าคน โดยการทำงานของ Jasad จะไม่เน้นการทำงานเชิงวิชาการมาก แต่จะเน้นที่การดูแลเยียวยาจิตใจ การให้ความรู้ตามที่อบรมมา
และอีกส่วนจะเป็นทีมที่ปรึกษา เป็นอดีตผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในเรือนจำ 10 – 11 ปี เขาจะมีประสบการณ์เยอะ เช่น ให้ความรู้ว่าครอบครัวควรเตรียมอะไรไว้บ้าง โดยทั้งสองส่วนต้องมีความรู้ภาคปฏิบัติที่แน่นมาก เพราะหากคนในพื้นที่ไม่แม่นเรื่องบาดแผล ก็จะส่งต่องานให้คนที่จะรวบรวมข้อมูลได้ตกหล่น ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นต้องทำควบคู่กันไปด้วย
Q: ผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลเรื่องคดีทางเครือข่ายติดต่อมาจากไหนบ้าง
A: ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวและถูกปล่อยตัวออกมา คนที่ทำงานด้วยกันก็มีหน้าที่การงานด้านอื่นด้วย แต่ก็มาเป็นอาสาสมัคร เพราะเราก็ไม่ได้มีค่าตอบแทนอะไรให้เขา สิ่งที่ทำให้เขาอยากทำงานร่วมกับเราต่อไป เพราะความเข้าใจที่เคยถูกปฏิบัติไม่ถูกต้องมาก่อน และบางส่วนก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นปัญชาชน
Q: แบบนี้เราจะสามารถนิยามตนเองว่าเป็นเครือข่ายที่มีอาสาสมัครมีประสบการณ์ในถูกควบคุมมากที่สุดเลยได้หรือไม่
A: ตอนแนะนำตัวเครือข่ายก็พูดประมาณนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการถูกควบคุมตัว ซึ่งมันเหมือนจะตลกแต่ไม่เลย เราเข้าใจความรู้สึกว่าหากถูกคุมตัวแล้วเราไม่เห็นว่าญาติมาเยี่ยมมันรู้สึกอย่าง มันบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับเราเหมือนไม่ใช่มนุษย์ พาเราไปอยู่ในกระต๊อบคนเดียวกับเจ้าหน้าที่ ตอนเราได้ออกมาจากพื้นที่ตรงนั้นคือตอนครอบครัวมารับตัวกลับบ้าน
“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว”
เพราะเช่นนั้นในหลักสูตรของเราเนี่ยการใช้เราจะเน้นยำเรื่องการให้ญาติไปเยี่ยมทุกวัน ถึงแม้ว่าจะญาติจะไม่มีเงิน ก็ให้ประสานมา ทางเครือข่ายพร้อมสนับสนุน เพราะการที่เคสต้องถูกคุมขังคนเดียวมันกระทบกระเทือนจิตใจ นี่จึงเป็นขั้นตอนแรกและขั้นตอนสำคัญ
นอกจากนั้นยังเป็นการติดตามว่าในแต่ละวันเคสถูกเจ้าหน้าที่กระทำการรุนแรงอะไรบ้าง ผู้ติดตามเคสก็จะเอาหลักฐานพวกนี้ไปยื่นให้ศาลพิจารณา ถ้าเราไม่ติดตามในช่วงเวลานี้จะทำให้มีปัญหาตอนดำเนินคดีอาญา เพราะคดีความมั่นคงศาลไม่มีหลักฐาน จำเป็นและสำคัญมากที่เราต้องส่งอาสามสมัครติดตาม 1 คน/เคส
อีกทั้งยังมีเรื่องที่ตามมาอีกคือหลังจากผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวถูกปล่อย จะส่งผลกระทบหลังจากนั้นทั้งเรื่องหน้าที่การงาน สถานะทางสังคมที่ถูกมองให้เปลี่ยนไป ไหนจะเรื่องครอบครัวที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อมอีก เราก็ต้องยื่นมือเข้าไปดูแลและช่วยเหลือเขา จะประกันตัวแต่ละทีก็ลำบากไม่ใช่แค่เรื่องเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องอื่นด้วย คล้ายกับรัฐต้องการทำให้เห็นว่าหากเป็นปฏิปักษ์กับรัฐจะเจอกับอะไรบ้าง ถ้าไม่กล้าก็อยู่ลำบาก
Q: ตั้งแต่ทำงานด้านสิทธิมา คิดว่าอะไรที่เป็นเรื่องที่ทำให้เราขยับตัวลำบาก แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างใจมากที่สุด
A: อยากแก้ไขด่วนที่สุด ต้องเป็นเรื่องซ้อมทรมาน เพราะบางทีญาติมาบอกว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวถูกซ้อมทรมานจนสลบแล้วก็ฟื้น สลบแล้วก็ฟื้น เราก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะมีหลายขั้นตอนในการยื่นเรื่องร้องเรียน เราต้องไปหานักสิทธิ และยื่นเรื่องไปที่กรุงเทพฯ และต้องยื่นเรื่องเข้าค่ายทหารอีก กว่าจะได้พบบาดแผลก็หาย จนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าถูกซ้อมอย่างไร
และพอใครที่ฟ้องแบบไม่มีหลักฐานเช่นใบรับรองแพทย์ที่ระบุร่องรอยบาดแผล ทางกอ.รมน. ก็เข้ามาฟ้อง slapp (เป็นการฟ้องคดีโดยมีจุดมุ่งหมายให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริงต่อสาธารณะอ่อนแรงและเงียบลงไป) ปิดปากไม่ให้พูด
การซ้อมทรมานมันไม่มีวันหยุด มันจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ และมันไม่ได้เจ็บทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่มันเจ็บที่สภาพจิตใจด้วย
[:th]“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว” นายอับดุลเลาะ เงาะ หัวหน้ากลุ่มเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad) พูดประโยคนี้ด้วยน้ำเสียงแห่งอิสรภาพ หลังจากถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเมื่อปี พ.ศ. 2552 ก่อนจะเข้ามาเป็นผู้นำเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad)
Q: ที่มาก่อตั้งเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ
A: จุดเริ่มต้นมาจากเราถูกควบคุมตัวโดยทหาร 3 ครั้ง โดย พรก. ฉุกเฉินกฏหมายพิเศษ และระหว่างนั้นก็ถูกซ้อมทรมาน หลังจากถูกปล่อยจากควบคุมครั้งแรกปี พ.ศ. 2552 ก็พบกับคุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
จนกระทั่งตนเองโดนควบคุมตัวครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2555 ทำให้เริ่มสนใจที่จะถอดบทเรียนว่าระหว่างที่โดนควบคุมตัว อะไรคือข้อเสียของกฏหมายพวกนี้ อะไรบ้างที่ละเมิด อะไรบ้างที่จะช่วยเหลือเคสเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเยียวยา ด้านกฏหมาย ในตอนนั้นเป็นแค่การวางแผนงานไว้เฉย ๆ
จนปี พ.ศ. 2557 ครั้งที่ 3 ก็สัญญากับตัวเองว่าต้องทำโดยมีกลุ่มผู้ที่เคยถูกควบคุมตัว จึงเริ่มก่อตั้งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ เมื่อก่อนยังไม่มีออฟฟิศ ก็คอยส่งอาสาสมัครติดตามแต่ละเคสว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยแบ่งเป็นอาสาสมัครประจำออฟฟิศ 3 – 4 คนในวันทำการ แต่ละคนจะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษาเรื่องของกฏหมายพิเศษ และการเยียวยา ในสามข้อนี้เราสามารถดูแลกันได้
ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์ จะเป็นตนเองที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบพร้อมอาสาสมัครอีก 2 – 3 คน และที่เหลือจะเป็นอาสาสมัครจากครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ บางเคสคนในครอบครัวก็คุมตัวอยู่ในเรือนจำ ประจำที่สำนักงานอยู่ที่ 20 กว่าคน โดยการทำงานของ Jasad จะไม่เน้นการทำงานเชิงวิชาการมาก แต่จะเน้นที่การดูแลเยียวยาจิตใจ การให้ความรู้ตามที่อบรมมา
และอีกส่วนจะเป็นทีมที่ปรึกษา เป็นอดีตผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในเรือนจำ 10 – 11 ปี เขาจะมีประสบการณ์เยอะ เช่น ให้ความรู้ว่าครอบครัวควรเตรียมอะไรไว้บ้าง โดยทั้งสองส่วนต้องมีความรู้ภาคปฏิบัติที่แน่นมาก เพราะหากคนในพื้นที่ไม่แม่นเรื่องบาดแผล ก็จะส่งต่องานให้คนที่จะรวบรวมข้อมูลได้ตกหล่น ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นต้องทำควบคู่กันไปด้วย
Q: ผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลเรื่องคดีทางเครือข่ายติดต่อมาจากไหนบ้าง?
A: ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวและถูกปล่อยตัวออกมา คนที่ทำงานด้วยกันก็มีหน้าที่การงานด้านอื่นด้วย แต่ก็มาเป็นอาสาสมัคร เพราะเราก็ไม่ได้มีค่าตอบแทนอะไรให้เขา สิ่งที่ทำให้เขาอยากทำงานร่วมกับเราต่อไป เพราะความเข้าใจที่เคยถูกปฏิบัติไม่ถูกต้องมาก่อน และบางส่วนก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นปัญชาชน
Q: แบบนี้เราจะสามารถนิยามตนเองว่าเป็นเครือข่ายที่มีอาสาสมัครมีประสบการณ์ในถูกควบคุมมากที่สุดเลยได้หรือไม่
A: ตอนแนะนำตัวเครือข่ายก็พูดประมาณนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการถูกควบคุมตัว ซึ่งมันเหมือนจะตลกแต่ไม่เลย เราเข้าใจความรู้สึกว่าหากถูกคุมตัวแล้วเราไม่เห็นว่าญาติมาเยี่ยมมันรู้สึกอย่าง มันบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับเราเหมือนไม่ใช่มนุษย์ พาเราไปอยู่ในกระต๊อบคนเดียวกับเจ้าหน้าที่ ตอนเราได้ออกมาจากพื้นที่ตรงนั้นคือตอนครอบครัวมารับตัวกลับบ้าน
“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว”
เพราะเช่นนั้นในหลักสูตรของเราเนี่ยการใช้เราจะเน้นยำเรื่องการให้ญาติไปเยี่ยมทุกวัน ถึงแม้ว่าจะญาติจะไม่มีเงิน ก็ให้ประสานมา ทางเครือข่ายพร้อมสนับสนุน เพราะการที่เคสต้องถูกคุมขังคนเดียวมันกระทบกระเทือนจิตใจ นี่จึงเป็นขั้นตอนแรกและขั้นตอนสำคัญ
นอกจากนั้นยังเป็นการติดตามว่าในแต่ละวันเคสถูกเจ้าหน้าที่กระทำการรุนแรงอะไรบ้าง ผู้ติดตามเคสก็จะเอาหลักฐานพวกนี้ไปยื่นให้ศาลพิจารณา ถ้าเราไม่ติดตามในช่วงเวลานี้จะทำให้มีปัญหาตอนดำเนินคดีอาญา เพราะคดีความมั่นคงศาลไม่มีหลักฐาน จำเป็นและสำคัญมากที่เราต้องส่งอาสามสมัครติดตาม 1 คน/เคส
อีกทั้งยังมีเรื่องที่ตามมาอีกคือหลังจากผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวถูกปล่อย จะส่งผลกระทบหลังจากนั้นทั้งเรื่องหน้าที่การงาน สถานะทางสังคมที่ถูกมองให้เปลี่ยนไป ไหนจะเรื่องครอบครัวที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อมอีก เราก็ต้องยื่นมือเข้าไปดูแลและช่วยเหลือเขา จะประกันตัวแต่ละทีก็ลำบากไม่ใช่แค่เรื่องเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องอื่นด้วย คล้ายกับรัฐต้องการทำให้เห็นว่าหากเป็นปฏิปักษ์กับรัฐจะเจอกับอะไรบ้าง ถ้าไม่กล้าก็อยู่ลำบาก
Q: ตั้งแต่ทำงานด้านสิทธิมา คิดว่าอะไรที่เป็นเรื่องที่ทำให้เราขยับตัวลำบาก แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างใจมากที่สุด
A: อยากแก้ไขด่วนที่สุด ต้องเป็นเรื่องซ้อมทรมาน เพราะบางทีญาติมาบอกว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวถูกซ้อมทรมานจนสลบแล้วก็ฟื้น สลบแล้วก็ฟื้น เราก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะมีหลายขั้นตอนในการยื่นเรื่องร้องเรียน เราต้องไปหานักสิทธิ และยื่นเรื่องไปที่กรุงเทพฯ และต้องยื่นเรื่องเข้าค่ายทหารอีก กว่าจะได้พบบาดแผลก็หาย จนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าถูกซ้อมอย่างไร
และพอใครที่ฟ้องแบบไม่มีหลักฐานเช่นใบรับรองแพทย์ที่ระบุร่องรอยบาดแผล ทาง กอ.รมน. ก็เข้ามาฟ้อง slapp (เป็นการฟ้องคดีโดยมีจุดมุ่งหมายให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริงต่อสาธารณะอ่อนแรงและเงียบลงไป) ปิดปากไม่ให้พูด
การซ้อมทรมานมันไม่มีวันหยุด มันจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ และมันไม่ได้เจ็บทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่มันเจ็บที่สภาพจิตใจด้วย
[:]