[:th]CrCF Logo[:]

เอกสารชุดความรู้ว่าด้วยเรื่อง “ชนเผ่าพื้นเมือง”

Share

68366115_410672762890592_3298141700546887680_n

เนื่องในโอกาสวันชนเผ่าพื้นเมืองโลกปี 2562 ฝ่ายงานวิจัยประจำมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้จัดทำเอกสารชุดความรู้เกี่ยวกับสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมืองประเทศไทยไว้เป็น เอกสารชุดความรู้ว่าด้วยเรื่อง “ชนเผ่าพื้นเมือง”

“ชนเผ่าพื้นเมือง” เป็นใคร?

  • จากสถิติของธนาคารโลก มีคนชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่บนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคกว่า 260 ล้านคน นับเป็นกว่า 70% ของประชากรชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก[1] ในประเทศไทย มีคนชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ประมาณ 600,000 – 1,200,000 คนซึ่งถือเป็นจำนวนประมาณ 1-2% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2559[2]
  • ในกฏหมายระหว่างประเทศ ยังไม่มีการนิยาม “ชนเผ่าพื้นเมือง” อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ประธานผู้รายงานพิเศษ (Chairperson-Rapporteur) ประจำคณะทำงานว่าด้วยประชากรชนเผ่าพื้นเมืองแห่งสหประชาชาติ ได้ระบุนิยามคร่าวๆว่า ชนเผ่าพื้นเมืองคือกลุ่มคนที่มีลักษณะต่างๆดังนี้[3] :
  1. ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมาก่อนที่จะถูกยึดครองโดยกลุ่มคนที่มีอำนาจในสังคมปัจจุบัน
  2. มีวัฒนธรรมที่เด่นชัดและแตกต่างจากสังคมส่วนใหญ่ โดยรวมถึงภาษา รูปแบบโครงสร้างสังคม ศาสนา ความเชื่อ วิธีการผลิต กฏหมาย และสถาบันต่างๆ
  3. นิยามตัวเองและได้รับการนิยามจากกลุ่มอื่นๆหรือหน่วยงานรัฐว่าเป็นคนกลุ่มเฉพาะ
  4. ต้องเคยประสบกับความไม่เป็นธรรม การถูกกีดกัน การแบ่งแยก การทำให้เป็นชายขอบ หรือการเลือกปฏิบัติ โดยเงื่อนไขเหล่านี้อาจยังคงอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ก็ได้
  • การมีนิยามที่ชัดเจนเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองเนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกก็ต่างมีบริบทและที่มาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน นิยามคร่าวๆที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้เป็นเพียงตัวช่วยเพื่อให้ภาคส่วนนำไปใช้ในระดับปฏิบัติการ นิยามนี้จึงมีความยืดหยุ่น สิ่งที่เราควรยึดเป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดคือ การนิยามตัวเอง กล่าวคือ หากคนกลุ่มใดนิยามตัวเองว่าเป็นชนเผ่าพื้นเมืองและเข้าข่ายเกณฑ์คร่าวๆที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ พวกเขาก็สมควรได้รับสิทธิที่จะได้รับการยอมรับ ดูแล และปกป้องในฐานะชนเผ่าพื้นเมืองดังที่ต้องการ

อ่านเพิ่มเติมเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนเผ่าพื้นที่เมืองได้ที่นี่

Fact sheet Indigeneity_TH_Text version

 

จัดทำโดย

Nasra Moumin,               นักศึกษาฝึกงาน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ชนาธิป ตติยการุณวงศ์         นักวิจัย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ          ผู้อำนวยการ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

 

ภาพประกอบ โดย

อัญมณี แก้วอะโข               เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

TAG

RELATED ARTICLES