[:th]CrCF Logo[:]

แถลงการณ์ขอให้ สตช. สอบสวนการใช้กำลังเกินเหตุของตำรวจ ต่อผู้ชุมนุมกิจกรรมรับเสด็จ 15 เมย. 2565

Share

วันที่ 15 เมษายน 2565 จากกิจกรรมการชุมนุมเดินขบวนไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยผู้ชุมนุมมีการเดินเท้าจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อไปรับเสด็จ แต่ถูกตำรวจตั้งด่านสกัดที่ถนนหลานหลวง ทำให้เกิดเหตุเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่ และผู้ชุมนุม

โดยเบื้องต้นมีผู้ชุมนุมหนึ่งรายได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ซึ่งใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ มีร่างกายบอบช้ำ และฟันบิ่นเนื่องจากเจ้าหน้าที่กดหัวกระแทกกับพื้น และได้รับการตรวจรักษาร่างกายที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ขณะเดียวกันยังพบว่ามีการเข้าควบคุมตัวเยาวชนอายุ 13 ปี โดยใช้เจ้าหน้าที่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นับสิบคนเข้าล้อมตัว และอุ้มขึ้นยานพาหนะไปยังสถานที่ควบคุมตัวโดยพลการ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทำงานด้านการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องยุติการทรมาน การปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมย้ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการบังคับให้สูญหาย เห็นว่าการกระทำดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ

กล่าวคือ มีการนำกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากเข้าสกัดผู้ชุมนุมโดยสงบ และมีเจ้าหน้าที่บางคนโดยใช้กำลังฉุดกระชากผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธกดลงกับพื้นเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายและอาจรวมถึงทรัพย์สินเสียหายด้วย

มูลนิธิฯ ขอให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวในครั้งนี้ว่ามีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุหรือไม่อย่างไร โดยเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งทางวินัยและอาญา พร้อมเสนอให้มีการปรับแผนการควบคุมกิจกรรมการชุมนุมโดยสงบ

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ที่มีลักษณะขัดขวางการแสดงออกทางความคิดเห็น และการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธซึ่งเป็นการจับกุมโดยพลการ และมีความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมที่เป็นเยาวชนบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงขึ้น

เช่นกรณีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 นักกิจกรรมชายรายหนึ่งได้เดินทางไปที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อไปยืนร่วมในขบวนรับเสด็จพร้อมกระดาษ A4 ใส่อยู่ในกระเป๋า เขียนว่า “เราพร้อมอยู่ร่วมกับสถาบันกษัตริย์ ที่พูดถึงได้ ถามถึงได้ วิจารณ์ได้ ทรงพระเจริญ” แต่กลับถูกควบคุมตัวไปที่ สโมสรตำรวจ

และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 นักกิจกรรมหญิงรายหนึ่งจัดกิจกรรมรณรงค์ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยการแจกริบบิ้น 2 สี หากสนับสนุนมาตรา 112 ให้รับริบบิ้นสีน้ำเงิน และหากต้องการให้ยกเลิกมาตรา 112 ให้รับริบบิ้นสีแดง โดยนัดหมายที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ต่อมาถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ ทั้งสองกรณีถูกตั้งข้อหากลั่นแกล้งมีลักษณะเพื่อให้ยุติกิจกรรมทางสาธารณะทั้งที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายเป็นความผิดอาญาแต่อย่างใด

“การกระทำดังกล่าวแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ เป็นการการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนที่เพียงใช้สิทธิ และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ แม้จะเป็นการแสดงออกทางความคิดเห็นที่แตกต่างกับรัฐก็ตาม

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่พึงกระทำได้ มูลนิธิฯ ขอเน้นย้ำว่าไม่มีบุคคลใดสมควรถูกทำร้ายร่างกายเพียงเพราะต้องการแสดงออกทางความคิดเห็น” พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  0659793836[:th]วันที่ 15 เมษายน 2565 จากกิจกรรมการชุมนุมเดินขบวนไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยผู้ชุมนุมมีการเดินเท้าจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อไปรับเสด็จ แต่ถูกตำรวจตั้งด่านสกัดที่ถนนหลานหลวง ทำให้เกิดเหตุเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่ และผู้ชุมนุม

โดยเบื้องต้นมีผู้ชุมนุมหนึ่งรายได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ซึ่งใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ มีร่างกายบอบช้ำ และฟันบิ่นเนื่องจากเจ้าหน้าที่กดหัวกระแทกกับพื้น และได้รับการตรวจรักษาร่างกายที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ขณะเดียวกันยังพบว่ามีการเข้าควบคุมตัวเยาวชนอายุ 13 ปี โดยใช้เจ้าหน้าที่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นับสิบคนเข้าล้อมตัว และอุ้มขึ้นยานพาหนะไปยังสถานที่ควบคุมตัวโดยพลการ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทำงานด้านการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องยุติการทรมาน การปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมย้ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการบังคับให้สูญหาย เห็นว่าการกระทำดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ

กล่าวคือ มีการนำกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากเข้าสกัดผู้ชุมนุมโดยสงบ และมีเจ้าหน้าที่บางคนโดยใช้กำลังฉุดกระชากผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธกดลงกับพื้นเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายและอาจรวมถึงทรัพย์สินเสียหายด้วย

มูลนิธิฯ ขอให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวในครั้งนี้ว่ามีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุหรือไม่อย่างไร โดยเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งทางวินัยและอาญา พร้อมเสนอให้มีการปรับแผนการควบคุมกิจกรรมการชุมนุมโดยสงบ

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ที่มีลักษณะขัดขวางการแสดงออกทางความคิดเห็น และการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธซึ่งเป็นการจับกุมโดยพลการ และมีความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมที่เป็นเยาวชนบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงขึ้น

เช่นกรณีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 นักกิจกรรมชายรายหนึ่งได้เดินทางไปที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อไปยืนร่วมในขบวนรับเสด็จพร้อมกระดาษ A4 ใส่อยู่ในกระเป๋า เขียนว่า “เราพร้อมอยู่ร่วมกับสถาบันกษัตริย์ ที่พูดถึงได้ ถามถึงได้ วิจารณ์ได้ ทรงพระเจริญ” แต่กลับถูกควบคุมตัวไปที่ สโมสรตำรวจ

และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 นักกิจกรรมหญิงรายหนึ่งจัดกิจกรรมรณรงค์ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยการแจกริบบิ้น 2 สี หากสนับสนุนมาตรา 112 ให้รับริบบิ้นสีน้ำเงิน และหากต้องการให้ยกเลิกมาตรา 112 ให้รับริบบิ้นสีแดง โดยนัดหมายที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ต่อมาถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ ทั้งสองกรณีถูกตั้งข้อหากลั่นแกล้งมีลักษณะเพื่อให้ยุติกิจกรรมทางสาธารณะทั้งที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายเป็นความผิดอาญาแต่อย่างใด

“การกระทำดังกล่าวแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ เป็นการการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนที่เพียงใช้สิทธิ และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ แม้จะเป็นการแสดงออกทางความคิดเห็นที่แตกต่างกับรัฐก็ตาม

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่พึงกระทำได้ มูลนิธิฯ ขอเน้นย้ำว่าไม่มีบุคคลใดสมควรถูกทำร้ายร่างกายเพียงเพราะต้องการแสดงออกทางความคิดเห็น” พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม 0659793836

RELATED ARTICLES