[:th]CrCF Logo[:]

[:en]การปกป้องสิทธิ ผู้ถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในจังหวัดชายแดนใต้[:th]การปกป้องสิทธิ ผู้ถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในจังหวัดชายแดนใต้[:]

Share

[:en]

ตามที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน ในพื้นที่สามจังหวัด สี่อำเภอ ชายแดนภาคใต้ จำนวนมาก ได้ร้องเรียนมูลนิธิผสานวัฒนธรรมว่า ถูกตัดสัญญานโทรศัพท์มือถือตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจาก กอ.รมน.ภาค 4  และกสทช. ได้ให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กำหนดให้ผู้ใช้โทรศัพท์โดยเฉพาะระบบเติมเงินต้องลงทะเบียนซิมใหม่ด้วยระบบสแกนใบหน้า (ระบบ 2 แชะ) โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนใหม่จะถูกบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์มือถือตัดสัญญาณไม่สามารถใช้โทรศัพท์ต่อไปได้

เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ติดตามปัญหา ท้วงติงและคัดค้านมาตรการดังกล่าวตลอดมา ดังปรากฎรายละเอียดตามแถลงการณ์ของมูลนิธิและองค์กรเครือข่าย ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2563  มูลนิธิฯเห็นว่า

  1. ในช่วงที่ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้กำลังเผชิญกับภัยโรคระบาดร้ายแรงโควิด-19 การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาด การเรียนรู้มาตรการเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแจ้งเหตุ ขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณะสุขในกรณีที่สงสัยว่าตนหรือบุคคลในครอบครัวอาจแป็นโรค เจ็บป่วย หรือมีความจำเป็นอื่นๆ ในการประกอบอาชีพและชีวิตประจำวัน ซึ่งในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือนั้นถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขของประชาชน
  2. จากการตรวจสอบของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์การและหน่วยงานต่างๆเช่น คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม สิทธิมนุษยชนเป็นต้น พบว่าการขอให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะผู้ที่ได้เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ต้องไปลงทะเบียนใหม่โดยระบบ 2 แซ๊ะ มิเช่นนั้นจะถูกตัดสัญญาณนั้น น่าจะเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายหรือความชอบธรรมที่จะกระทำได้ ทั้งมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ  เนื่องจากมาตราการดังกล่าวใช้เฉพาะกับประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลาเท่านั้น อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูกตัดสัญญาณอาจดำเนินการตามต่อไปนี้

(1) ร้องเรียนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ช่วยแก้ไขปัญหาเช่น เจรจากับ กอ.รมน.และ กสทช. หรือผู้นำรัฐบาล

(2) ร้องเรียนหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะ กสทช. และ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ให้ยุติการตัดสัญญาณ

(3) ร้องเรียนหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย เช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลยุติธรรมและศาลปกครองเพื่อสั่งให้ระงับการตัดสิญญาณโทรศัพท์มือถือและพิพากษาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

                                                                                          มูลนิธิผสานวัฒนธรรม                                                                                                                              21 พฤษภาคม 2563

[:th]

ตามที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน ในพื้นที่สามจังหวัด สี่อำเภอ ชายแดนภาคใต้ จำนวนมาก ได้ร้องเรียนมูลนิธิผสานวัฒนธรรมว่า ถูกตัดสัญญานโทรศัพท์มือถือตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจาก กอ.รมน.ภาค 4  และกสทช. ได้ให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กำหนดให้ผู้ใช้โทรศัพท์โดยเฉพาะระบบเติมเงินต้องลงทะเบียนซิมใหม่ด้วยระบบสแกนใบหน้า (ระบบ 2 แชะ) โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนใหม่จะถูกบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์มือถือตัดสัญญาณไม่สามารถใช้โทรศัพท์ต่อไปได้

เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ติดตามปัญหา ท้วงติงและคัดค้านมาตรการดังกล่าวตลอดมา ดังปรากฎรายละเอียดตามแถลงการณ์ของมูลนิธิและองค์กรเครือข่าย ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2563  มูลนิธิฯเห็นว่า

  1. ในช่วงที่ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้กำลังเผชิญกับภัยโรคระบาดร้ายแรงโควิด-19 การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาด การเรียนรู้มาตรการเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแจ้งเหตุ ขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณะสุขในกรณีที่สงสัยว่าตนหรือบุคคลในครอบครัวอาจแป็นโรค เจ็บป่วย หรือมีความจำเป็นอื่นๆ ในการประกอบอาชีพและชีวิตประจำวัน ซึ่งในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือนั้นถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขของประชาชน
  2. จากการตรวจสอบของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์การและหน่วยงานต่างๆเช่น คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม สิทธิมนุษยชนเป็นต้น พบว่าการขอให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะผู้ที่ได้เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ต้องไปลงทะเบียนใหม่โดยระบบ 2 แซ๊ะ มิเช่นนั้นจะถูกตัดสัญญาณนั้น น่าจะเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายหรือความชอบธรรมที่จะกระทำได้ ทั้งมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ  เนื่องจากมาตราการดังกล่าวใช้เฉพาะกับประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลาเท่านั้น อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูกตัดสัญญาณอาจดำเนินการตามต่อไปนี้

(1) ร้องเรียนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ช่วยแก้ไขปัญหาเช่น เจรจากับ กอ.รมน.และ กสทช. หรือผู้นำรัฐบาล

(2) ร้องเรียนหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะ กสทช. และ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ให้ยุติการตัดสัญญาณ

(3) ร้องเรียนหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย เช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลยุติธรรมและศาลปกครองเพื่อสั่งให้ระงับการตัดสิญญาณโทรศัพท์มือถือและพิพากษาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

                                                                                          มูลนิธิผสานวัฒนธรรม                                                                                                                              21 พฤษภาคม 2563

[:]

TAG

RELATED ARTICLES