[:th]CrCF Logo[:]

[:en]เมื่อต้อง “ไม่มีผู้ใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ในสถานการณ์ COVID19 แถลงการณ์ร่วม ขอให้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยทันที[:th]แถลงการณ์ร่วม ขอให้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยทันที[:]

Share

[:en]95149451_3193495974003459_6190140981367537664_n เมื่อต้อง “ไม่มีผู้ใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” แถลงการณ์ร่วม ขอให้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์โดยทันที กรณีผู้ใช้โทรศัพท์ ไม่ไปถ่ายรูปสองแชะในจังหวัดชายแดนใต้ ในสถานการณ์โควิด-19 เผยแพร่วันที่ 17  พฤษภาคม 2563 เมื่อ12 พฤษภาคม 2563  มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเริ่มได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา) โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินทั้งสี่เครือข่ายไม่ว่าจะเป็นของ CAT, DTAC, AIS และ TRUE ว่าสัญญาณโทรศัพท์ถูกตัดแล้ว ไม่สามารถใช้บริการอินเตอร์เนต รับสายเข้า และโทรออกได้ ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมักได้รับข้อความทางโทรศัพท์มือถือว่า ให้ทุกคนที่ต้องการใช้โทรศัพท์มือถือในพื้นที่ดังกล่าว ไปลงทะเบียนซิมการ์ดโดยวีธีการตรวจสอบใบหน้า (Face Recognition) เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ ของตน ภายในวันที่ 30 เมษายน 2563 มิเช่นนั้นจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือของตนได้[1] โดยข้อความลักษณะดังกล่าวมีเนื้อหาแตกต่างกันออกไปบ้าง และมีการจัดส่งอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันมาตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นต้นมา โดยมีข้อมูลของฝ่ายกฎหมาย กอรมน. ภาคสี่ส่วนหน้า ที่ให้ไว้กับการประชุมกรรมาธิการการกฎหมาย ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562    ซึ่งเป็นข้อมูลของช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 ว่า มีผู้ใช้ซิมการ์ดในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จำนวนทั้งสิ้น 1.5 ล้านหมายเลข เป็นหมายเลขจดทะเบียนรายเดือนเพียง 300,000  หมายเลข  ปัจจุบันนี้ทางกอรมน.ได้ดำเนินการบริการให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ลงทะเบียนโดยระบบสองแช้ะ อัตลักษณ์ไปแล้วทั้งสิ้น  888,813 เลขหมาย โดยใช้เจ้าหน้าที่ทหารทั้งสิ้น 7,305 นายดำเนินการมาตั้งแต่มีนโยบายนี้ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องพบว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในสถานการณ์รับมือโควิด-19 ดังนี้
  1. การที่บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตัดสัญญาโทรศัพท์ของผู้ใช้ซิมแบบเติมเงินนั้น ส่งผลให้เกิดความเดือนร้อนอย่างมากของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในสถานการณ์โควิด 19 เนื่องจากผู้ใช้ซิมเติมเงินเป็นส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ซิมที่มีรายได้ไม่มากนักและมีการใช้งานทั้งในเรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เนต การติดต่อสื่อสารเพราะมีการจำกัดการเดินทางในภาวะที่มีการปิดเมือง ปิดตำบล ปิดหมู่บ้าน รวมทั้งการประสานขอความช่วยเหลือด้านการศึกษา การสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรม เช่น
1.1           มิติการศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาของเด็กและเยาวชนในอนาคตที่ไม่สามารถเปิดโรงเรียนได้    ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเปิดการเรียนการสอนหนังสือผ่านระบบออนไลน์  การตัดสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่อัตราการเข้าเรียนและคุณภาพการศึกษามีโอกาสน้อยกว่าภาคอื่นๆของประเทศ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 1.2           มิติเศรษฐกิจ รายงานของธนาคารโลกระบุว่าอัตราความยากจนในพื้นที่ขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนใต้สูงที่สุดในประเทศไทยและจากสถานการณ์ความมั่นคงและการระบาดของโควิด19 ทำให้ผู้คนในจังหวัดชายแดนใต้ประกอบอาชีพขายของออนไลน์มากขึ้น การตัดสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นการตัดโอกาสในการรอดพ้นภาวะยากจนและการมีรายได้เพื่อมาเลี้ยงชีพในครัวเรือน 1.3           มิติความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และการเข้าถึงความช่วยเหลือทางด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรม การตัดสัญญาณโทรศัพท์ทำให้ผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำหรือเดินทางคนเดียว หรือผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลันเมื่อประสบอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายหรือมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉินการร้องขอความช่วยเหลือจึงผ่านทางโทรศัพท์ไม่อาจทำได้จึงมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสในการมีชีวิตรอด
  1. การบังคับให้ประชากรที่ใช้ซิมโทรศัพท์ไปจดทะเบียนใหม่โดยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเพื่อพิสูจน์และรับรองอัตลักษณ์บุคคลแต่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลาจะตัดสัญญาณโทรศัพท์ นั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสัญญาเนื่องจากผู้ที่ใช้โทรศัพท์มาแต่เดิมทำสัญญาเข้ารับบริการใช้เครือข่าย ไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือว่าบริษัทผู้ให้บริการผิดหลักการคู่สัญญาบริการธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ และการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารของประชาชน โดยไม่มีกฎหมายใดใดให้อำนาจไว้
 
  1. การดำเนินการตัดสัญญาณโทรศัพท์ของผู้ใช้ซิมแบบเติมเงินจำนวนในพื้นที่หลายแสนเลขหมาย เฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และขัดกับมาตรการขององค์การสหประชาชาติ[2] ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 ที่ว่า “การระบาดใหญ่ของโรคโควิด – 19 เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงความสำคัญของหลักการแยกออกจากกันไม่ได้และการพึ่งพาอาศัยกันของสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย การระบาดใหญ่ในครั้งนี้เป็นภัยคุกคามสาธารณสุขทั่วโลก อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ในหลายแง่มุมต่อการใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เนื่องจากบางมาตรการที่รัฐบังคับใช้เพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่มีผลเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเดินทางโยกย้ายและสิทธิอื่นๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่รัฐจำต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่ด้วยความสมเหตุสมผล (reasonable) และได้สัดส่วน (proportionate) เพื่อรับประกันการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย” รวมทั้งขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติที่ประเทศไทยเป็นภาคีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลักเสมอภาคและไม่มีเลือกปฏิบัติ
  2. อีกทั้งการจัดเก็บและการนำมาใช้ในการหาข้อมูลหรือเก็บหลักฐานประกอบปฏิบัติการข่าวกรองมักนำไปสู่การคัดกรองบุคคลโดยดูจากลักษณะทางเชื้อชาติ (Racial Profiling) หากไม่ใช้อย่างระมัดระวัง อาจทำให้เกิดการจับและลงโทษคนผิด นอกจากจะนับเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติยังสร้างเงื่อนไขให้ประชาชนขาดความไว้วางใจต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก
ดังนั้นองค์กรที่มีชื่อข้างท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้จึงขอเรียกร้องให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กสทช. กอ.รมน. 4 และรัฐบาล ได้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในจังหวัดชายแดนใต้โดยทันที และต่อสัญญานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการทุกเครือข่ายโดยทันที รายชื่อบุคคลและองค์กรร่วมแถลงการณ์   ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2563
  1. เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.)
  2. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
  3. กลุ่มบุหงารายาเพื่อการศึกษา
  4. กลุ่มด้วยใจ
  5. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  6. เครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้
  7. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ ( JASAD)
  8. สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน
  9. กลุ่มบ้านพิราบขาว จชต.
  10. เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี
  11. Deep South Watch – DSW
  12. ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน (BUKU)
  13. สมาคมเพื่อการพัฒนาสตรีและการช่วยเหลือเด็กกำพร้า
  14. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  15. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  16. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  17. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  18. เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  19. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  20. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
[1] ตัวอย่างข้อความ “กอ.รมน.ภาค4 ขอให้ผู้ใช้บริการใน 3จว.ชายแดนใต้+4 อำเภอสงขลา ลงทะเบียนซิมด้วยระบบตรวจสอบใบหน้า/อัตลักษณ์ ภายใน 31ต.ค.62 เช็กสถานะซิม กด*165*5*เลขบัตรปชช.# โทรออก หากไม่ดำเนินการในวันที่กำหนด จะไม่สามารถใช้บริการได้ฟังข้อมูลเพิ่มเติมกด*915653 ภาษายาวีกด*915654” [2] แถลงการณ์ เรื่อง การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด – 19) กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมแถลงการณ์โดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เผยแพร่วันที่ 6 เมษายน   2563 แถลงการณ์ ขอให้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์ บรรเทาความเดือนร้อนประชาชนในสถานการณ์โควิด-final[:th]

เมื่อต้อง “ไม่มีผู้ใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” แถลงการณ์ร่วม ขอให้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์โดยทันที กรณีผู้ใช้โทรศัพท์ ไม่ไปถ่ายรูปสองแชะในจังหวัดชายแดนใต้ ในสถานการณ์โควิด-19

เผยแพร่วันที่ 17  พฤษภาคม 2563

เมื่อ12 พฤษภาคม 2563  มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเริ่มได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา) โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินทั้งสี่เครือข่ายไม่ว่าจะเป็นของ CAT, DTAC, AIS และ TRUE ว่าสัญญาณโทรศัพท์ถูกตัดแล้ว ไม่สามารถใช้บริการอินเตอร์เนต รับสายเข้า และโทรออกได้

ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมักได้รับข้อความทางโทรศัพท์มือถือว่า ให้ทุกคนที่ต้องการใช้โทรศัพท์มือถือในพื้นที่ดังกล่าว ไปลงทะเบียนซิมการ์ดโดยวีธีการตรวจสอบใบหน้า (Face Recognition) เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ ของตน ภายในวันที่ 30 เมษายน 2563 มิเช่นนั้นจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือของตนได้[1] โดยข้อความลักษณะดังกล่าวมีเนื้อหาแตกต่างกันออกไปบ้าง และมีการจัดส่งอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันมาตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นต้นมา

โดยมีข้อมูลของฝ่ายกฎหมาย กอรมน. ภาคสี่ส่วนหน้า ที่ให้ไว้กับการประชุมกรรมาธิการการกฎหมาย ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562    ซึ่งเป็นข้อมูลของช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 ว่า มีผู้ใช้ซิมการ์ดในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จำนวนทั้งสิ้น 1.5 ล้านหมายเลข เป็นหมายเลขจดทะเบียนรายเดือนเพียง 300,000  หมายเลข  ปัจจุบันนี้ทางกอรมน.ได้ดำเนินการบริการให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ลงทะเบียนโดยระบบสองแช้ะ อัตลักษณ์ไปแล้วทั้งสิ้น  888,813 เลขหมาย โดยใช้เจ้าหน้าที่ทหารทั้งสิ้น 7,305 นายดำเนินการมาตั้งแต่มีนโยบายนี้

95149451_3193495974003459_6190140981367537664_n

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องพบว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในสถานการณ์รับมือโควิด-19 ดังนี้

  1. การที่บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตัดสัญญาโทรศัพท์ของผู้ใช้ซิมแบบเติมเงินนั้น ส่งผลให้เกิดความเดือนร้อนอย่างมากของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในสถานการณ์โควิด 19 เนื่องจากผู้ใช้ซิมเติมเงินเป็นส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ซิมที่มีรายได้ไม่มากนักและมีการใช้งานทั้งในเรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เนต การติดต่อสื่อสารเพราะมีการจำกัดการเดินทางในภาวะที่มีการปิดเมือง ปิดตำบล ปิดหมู่บ้าน รวมทั้งการประสานขอความช่วยเหลือด้านการศึกษา การสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรม เช่น

1.1           มิติการศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาของเด็กและเยาวชนในอนาคตที่ไม่สามารถเปิดโรงเรียนได้    ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเปิดการเรียนการสอนหนังสือผ่านระบบออนไลน์  การตัดสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่อัตราการเข้าเรียนและคุณภาพการศึกษามีโอกาสน้อยกว่าภาคอื่นๆของประเทศ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1.2           มิติเศรษฐกิจ รายงานของธนาคารโลกระบุว่าอัตราความยากจนในพื้นที่ขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนใต้สูงที่สุดในประเทศไทยและจากสถานการณ์ความมั่นคงและการระบาดของโควิด19 ทำให้ผู้คนในจังหวัดชายแดนใต้ประกอบอาชีพขายของออนไลน์มากขึ้น การตัดสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นการตัดโอกาสในการรอดพ้นภาวะยากจนและการมีรายได้เพื่อมาเลี้ยงชีพในครัวเรือน

1.3           มิติความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และการเข้าถึงความช่วยเหลือทางด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรม การตัดสัญญาณโทรศัพท์ทำให้ผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำหรือเดินทางคนเดียว หรือผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลันเมื่อประสบอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายหรือมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉินการร้องขอความช่วยเหลือจึงผ่านทางโทรศัพท์ไม่อาจทำได้จึงมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสในการมีชีวิตรอด

  1. การบังคับให้ประชากรที่ใช้ซิมโทรศัพท์ไปจดทะเบียนใหม่โดยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเพื่อพิสูจน์และรับรองอัตลักษณ์บุคคลแต่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลาจะตัดสัญญาณโทรศัพท์ นั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสัญญาเนื่องจากผู้ที่ใช้โทรศัพท์มาแต่เดิมทำสัญญาเข้ารับบริการใช้เครือข่าย ไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือว่าบริษัทผู้ให้บริการผิดหลักการคู่สัญญาบริการธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ และการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารของประชาชน โดยไม่มีกฎหมายใดใดให้อำนาจไว้

 

  1. การดำเนินการตัดสัญญาณโทรศัพท์ของผู้ใช้ซิมแบบเติมเงินจำนวนในพื้นที่หลายแสนเลขหมาย เฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และขัดกับมาตรการขององค์การสหประชาชาติ[2] ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 ที่ว่า “การระบาดใหญ่ของโรคโควิด – 19 เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงความสำคัญของหลักการแยกออกจากกันไม่ได้และการพึ่งพาอาศัยกันของสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย การระบาดใหญ่ในครั้งนี้เป็นภัยคุกคามสาธารณสุขทั่วโลก อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ในหลายแง่มุมต่อการใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เนื่องจากบางมาตรการที่รัฐบังคับใช้เพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่มีผลเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเดินทางโยกย้ายและสิทธิอื่นๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่รัฐจำต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่ด้วยความสมเหตุสมผล (reasonable) และได้สัดส่วน (proportionate) เพื่อรับประกันการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย” รวมทั้งขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติที่ประเทศไทยเป็นภาคีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลักเสมอภาคและไม่มีเลือกปฏิบัติ
  2. อีกทั้งการจัดเก็บและการนำมาใช้ในการหาข้อมูลหรือเก็บหลักฐานประกอบปฏิบัติการข่าวกรองมักนำไปสู่การคัดกรองบุคคลโดยดูจากลักษณะทางเชื้อชาติ (Racial Profiling) หากไม่ใช้อย่างระมัดระวัง อาจทำให้เกิดการจับและลงโทษคนผิด นอกจากจะนับเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติยังสร้างเงื่อนไขให้ประชาชนขาดความไว้วางใจต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก

ดังนั้นองค์กรที่มีชื่อข้างท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้จึงขอเรียกร้องให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กสทช. กอ.รมน. 4 และรัฐบาล ได้ยุติการตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการในจังหวัดชายแดนใต้โดยทันที และต่อสัญญานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการทุกเครือข่ายโดยทันที

รายชื่อบุคคลและองค์กรร่วมแถลงการณ์   ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2563

  1. เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.)
  2. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
  3. กลุ่มบุหงารายาเพื่อการศึกษา
  4. กลุ่มด้วยใจ
  5. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  6. เครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้
  7. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ ( JASAD)
  8. สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน
  9. กลุ่มบ้านพิราบขาว จชต.
  10. เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี
  11. Deep South Watch – DSW
  12. ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน (BUKU)
  13. สมาคมเพื่อการพัฒนาสตรีและการช่วยเหลือเด็กกำพร้า
  14. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  15. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  16. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  17. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  18. เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  19. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  20. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

[1] ตัวอย่างข้อความ “กอ.รมน.ภาค4 ขอให้ผู้ใช้บริการใน 3จว.ชายแดนใต้+4 อำเภอสงขลา ลงทะเบียนซิมด้วยระบบตรวจสอบใบหน้า/อัตลักษณ์ ภายใน 31ต.ค.62 เช็กสถานะซิม กด*165*5*เลขบัตรปชช.# โทรออก หากไม่ดำเนินการในวันที่กำหนด จะไม่สามารถใช้บริการได้ฟังข้อมูลเพิ่มเติมกด*915653 ภาษายาวีกด*915654”

[2] แถลงการณ์ เรื่อง การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด – 19) กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมแถลงการณ์โดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เผยแพร่วันที่ 6 เมษายน   2563

 

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Photo: มติชน

[:]

TAG

RELATED ARTICLES