[:th]CrCF Logo[:]

กิจกรรมโต๊ะกลมสนทนาครั้งที่ 1 หัวข้อ  วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน

Share

โต๊ะกลมสนทนาครั้งที่1

หัวข้อ  วิกฤตไฟใต้:

จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน

วันพฤหัสที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒

โรงแรมซีเอส ปัตตานี ห้องสะบารัง จังหวัดปัตตานี

เวลา๑๓.๐๐-๑๗.๐๐น.

หลักการและเหตุผล

ความเสมอภาคในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของประชาชน ตามหลักการแห่งสิทธิมนุษยชน และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ยึดถือต่อเนื่องกันมายาวนาน เช่นเดียวกับมาตรฐานอื่นๆ ที่ได้กำหนดไว้

จากรายงานการตรวจสอบข้อร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ปี ๒๕๔๕ – ๒๕๕๒ พบว่า กว่าร้อยละ ๖๐ ของเรื่องร้องเรียน เป็นปัญหาอันสืบเนื่องมาจากกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหากับเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในอันดับต้นๆ ของข้อร้องเรียนเหล่านั้น

หลักการพื้นฐานในการใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) ได้รับการรับรองจากการประชุมใหญ่ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้ต้องหา ครั้งที่ ๘ ณ กรุงฉาวานา ประเทศคิวบา เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม – ๗ กันยายน ๒๕๓๓  (Adopted by the Eighth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders, Havana, Cuba, 27 August to 7 September ๑๙๙๐).

จรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforcement Officials) รับรองโดยมติที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ข้อมติที่ ๓๔/๑๐๙ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๒ (Adopted by General Assembly resolution 34/169 of 17 December 1979)

ขณะที่รัฐบาลประเทศออสเตรียก็ได้สนับสนุนการจัดพิมพ์เอกสารว่าด้วยกิจการตำรวจในสังคมประชาธิปไตย (Policing in a Democratic Society: Is your Police Service a Human Rights Champion?), Council of Europe, (Austrian Ministry of the Interior, 2000 ในปี ๒๕๔๓ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน และตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ตลอดจนความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงเห็นว่าการปฏิรูปตำรวจและระบบนิติธรรม   เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ สามารถเอื้ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างเสมอภาค และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมได้อย่างแท้จริง เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และเจ้าหน้าที่ตำรวจมืออาชีพที่เคารพในหลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชน และประเทศไทยมีบทบาทนำในระดับภูมิภาคในด้านการปฏิรูประบบยุติธรรม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้มีการบัญญัติเรื่องการปฏิรูปตำรวจไว้ในมาตรา ๒๕๘ ง (๔) ว่าด้วยการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการปรับปรุงหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้เหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เกิดประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการปฏิรูประบบยุติธรรมที่เป็นสาระสำคัญ อย่างไรก็ดีรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ตามมาตรา ๒๖๐ ขึ้น เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยพลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน และมีกรรมการจากตำรวจ ผู้แทนหน่วยงานราชการ และผู้ทรงคุณวุฒิอีกรวม ๓๔ คน

อย่างไรก็ดีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสภาพปัญหาในการเข้าถึงความยุติธรรมที่สลับซับซ้อนมากว่าพื้นที่อื่น มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF.) จึงได้ร่วมกับเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) รวมกันจัด โต๊ะกลมสนทนาครั้งที่1 หัวข้อ  วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน แลกเปลี่ยนกับพี่น้อง ๓ จังหวัดภาคใต้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขั้นต้นดังนี้

วัตถุประสงค์    ๑. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนภาคใต้ และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเข้าใจถึงปัญหาการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้น

๒. ระดมความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็น เพื่อร่วมกันหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม

๓. เพื่อร่วมกันสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐบนฐานความรู้ความเข้าใจสิทธิมนุษยชนที่มีความเป็นมืออาชีพ ยึดหลักการสิทธิมนุษยชน และหลักมาตรฐานสากลมากขึ้น

ผู้เข้าร่วม: ตัวแทนภาคประชาสังคม ผู้ได้รับผลกระทบ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม สื่อมวลชนและผู้สนใจ  รวมทั้งตัวแทนพรรคการเมืองที่สนใจ จำนวน 80 คน

กำหนดการ

หัวข้อ  วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน

วันพฤหัสที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ โรงแรมซีเอส ปัตตานี ห้องสะบารัง จังหวัดปัตตานี

เวลา๑๓.๐๐-๑๗.๐๐น.

๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ ลงทะเบียน

๑๓.๓๐  กล่าวเปิดโดย คุณสมศรี หาญอนันทสุข  เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ

๑๓.๔๐-๑๕-๓๐ ตั้งโต๊ะกลมสนทนาครั้งที่1 หัวข้อ  วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไรเพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชน แลกเปลี่ยนกับพี่น้อง ๓ จังหวัดภาคใต้ เรื่อง วิกฤตไฟใต้: จะปฏิรูปตำรวจอย่างไรเพื่อคืนความยุติธรรมแก่ประชาชน โดย

  1. อจ.อัสมา มังกรชัย มหาวิทยาลัยสงขลาานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะรัฐศาสตร์
  2. ทนายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์  ตัวแทนศูนย์ทนายความมุสลิม
  3. ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม
  4. รักชาติ สุวรรณ เครือข่ายไทยพุทธเพื่อสันติภาพ
  5. อัญชนา หีมมินะห์ ตัวแทนกลุ่มด้วยใจ
  6. บุษยมาส อิศดุลย์ ตัวแทนบ้านบุญเต็ม
  7. พตอ. วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร คอลัมนิสต์ เสียงประชาชนปฎิรูปตำรวจ ไทยโพสต์

ดำเนินรายการ  บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร)และพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

๑๕.๔๐-๑๖-๓๐ ถามตอบ และตอบข้อซักถาม

๑๖.๓๐-๑๗.๐๐  สรุปโดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร)

TAG

RELATED ARTICLES