[:th]จดหมายเปิดผนึก: องค์กรประชาสังคมเด็ก-สตรี จ.ชายแดนใต้ ขอ ศอบต. ยุตินิคมอุตสาหกรรม ในพื้นจะนะ ที่กระทบต่อผู้หญิง-เด็ก และชุมชน[:]

Share

[:th]

จดหมายเปิดผนึก

วันที่ 1 ตุลาคม 2563

เรื่อง  ขอให้คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์และสร้างการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองปกป้องสตรีและเด็กที่จะได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมจะนะอย่างเร่งด่วน

เรียน  เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร

สำเนาส่งถึง  1. ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่  28 กันยายน 2563 ที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาเปลี่ยนแปลงผังเมืองอำเภอจะนะ จากสีเขียวให้เป็นสีม่วงเพื่อเปิดพื้นที่ให้ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงผังเมือง 3 ตำบล คือ ต.นาทับ ต.สะกอม ต.ตลิ่งชัน  เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นในจำนวนหนึ่งมีนักกิจกรรมสตรีจำนวนหลายคนร่วมด้วยได้เดินทางมายื่นหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แจ้งแก่เครือข่ายฯ ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อยู่ ทางเครือข่ายฯ จึงได้ยื่นข้อเสนอให้เจ้าหน้าที่ว่า ขอให้ส่งประธานการจัดประชุมกรรมการที่ปรึกษาเปลี่ยนแปลงผังเมือง ลงมารับหนังสือแทนก็ได้ แต่ปรากฏว่า ไม่มีใครมารับหนังสือ และต่อมาได้มีข่าวยืนยันวันที่ประชุมดังกล่าวได้อนุมัติข้อเสนอให้เปลี่ยนผังเมืองอำเภอจะนะจากพื้นที่เกษตรกรรม (สีเขียว) เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม (สีม่วง) โดยขาดการตระหนักถึงผลกระทบและการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะจากผู้หญิง  ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นเชื่อได้ว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายดังกล่าว

รายนามบุคคลและองค์กรที่แนบท้ายมานี้ มีความเห็นว่า การดำเนินการศอบต.ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะยังขาดการการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองปกป้องสตรีและเด็กที่จะได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมจะนะ และจะส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสตรีและเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นแนวทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้หญิงและเด็กมักตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาและความไม่เป็นธรรมจากนโยบายและการดำเนินการทางธุรกิจพลังงานที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน

องค์กรภาคประชาสังคมและบุคคลตามหลายนามนี้มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อปกป้อง คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ การฟื้นฟูเยียวและแก้ไข การพัฒนาศักยภาพของเด็ก สตรีข้อเสนอข้อห่วงใยต่อท่านในฐานะเลขาธิการศอบต.  ผู้หญิงและเด็กเป็นกลุ่มประชากรที่จะได้รับผลกระทบซ้ำซ้อนและรุนแรงโดยเสมอมาเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในชุมชนโดยเฉพาะในชุมชนที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นเกษตรกรรม  ชุมชนในพื้นที่อำเภอจะนะมีความเป็นอยู่ผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ครอบครัวของผู้หญิงและเด็กครอบครัวชาวประมงและชาวสวนจะได้รับผลกระทบทั้งจากถูกอพยพโยกย้ายจากการสร้างนิคมอุตสาหกรรมและซ้ำร้ายชุมชนใกล้เคียงอีกจำนวนมากก็จะได้รับผลกระทบจากมลพิษที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รายนามบุคคลและองค์กรที่แนบท้ายมานี้จึงขอให้ท่านในฐานะเลขาธิการศอบต. ใช้อำนาจหน้าที่ของท่านหยุดนิคมอุตสาหกรรมจะนะและยุติการดำเนินการใดใดในพื้นที่อำเภอจะนะและพื้นที่ใกล้เคียงที่จะส่งผลให้ผู้หญิงเด็กและชุมชนของเขาได้รับผลกระทบระยะยาวจากการเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมโดยทันที องค์กรภาคประชาสังคมด้านเด็กและสตรี จังหวัดชายแดนใต้ ตามรายนามด้านล่างนี้มีความคาดหวังอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกันให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกระดับอย่างยั่งยืนได้จริง ขอให้ท่านดำเนินการและสื่อสารต่อสาธารณะในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องและเป็นระยะระยะให้เกิดความโปร่งใสมีธรรมาภิบาล

                                                                                  ด้วยความเคารพอย่างสูง

ลงชื่อ

  1. รอซิดะห์ ปูซู   ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพสามจังหวัด 
  2. สุชาติ เศรษฐมาลินี  อดีตหัวหน้าสาขาวิชาการสร้างสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
  3. วรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ 
  4. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ    มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  5. อัญชนา หีมมิหน๊ะ  กลุ่มด้วยใจ 
  6. ปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ ประธานสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ
  7. ผศ.ดร.กัลยา ดาระหะ อดีตประธานหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  8. ลม้าย มานะการ  เลขาธิการสมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
  9. ฮันซอลาห์ มะสง ประธานสภานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดชายแดนใต้
[:]

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading