ข้อเสนอด้านนโยบาย กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เผยแพร่[1]ในเวทีเสวนาทางกฎหมาย เรื่อง“คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน” วันที่ 11 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องจิตติ ติงศภัทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
บทนำ

ตามที่มีเหตุการณ์การพยายามฆ่าตัวตายและเผยแพร่คำแถลงการณ์ของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ในเอกสาร 25 หน้านี้มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงการถูกแทรกแซงกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดี รวมไปถึงการกล่าวถึงสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพิพากษาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จากพยานหลักฐานหรือการรับสารภาพของจำเลยที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยถูกควบคุมตัวเป็นระยะเวลานานภายใต้กฎหมายพิเศษ
.
จากเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนให้ความสนใจ และเกิดการตั้งคำถามถึงเรื่องความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษา การรับฟังพยานหลักฐานและการพิพากษาคดีของศาลในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษ และการตั้งคำถามถึงเรื่องการใช้อำนาจพิเศษของเจ้าหน้าที่รัฐด้วยและจากการทำงานส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) มากว่า 10 ปี มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ อ่านต่อได้ที่
[1] ปรับปรุงจากเอกสารที่เผยแพร่ครั้งแรกเดือนเมษายน 2562