15 ปี สมชาย นีละไพจิตร และเสียงจากผู้สูญหาย

Share

ทนายสมชาย นีละไพจิตร พื้นเพเป็นคนจังหวัดกรุงเทพมหานคร การที่เขาเกิดในครอบครัวชาวนา ทำให้รับรู้รับทราบความยากลำบากที่คนจนจะต้องเผชิญในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างดี สมชายจึงมีความตั้งใจ และบากบั่น เรียนหนังสือเพื่อประกอบอาชีพทนายความ เนื่องจากว่าเขาอยากว่าความให้ชาวนา และคนยากจน

ตลอดระยะเวลา 20 ปีของการประกอบอาชีพทนายความ สมชายได้ทำหน้าที่ว่าความให้แก่ลูกความหลากหลาย ไม่เลือกเฉพาะเจาะจงเชื้อชาติ และศาสนาใด เขามีความสนใจทำคดีด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพิเศษ

ทนายสมชาย ได้รับเลือกเป็นรองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสภาทนายความ และต่อมาได้รับเลือกเป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิมแห่งประเทศไทย

สมชาย มักประสบความสำเร็จในคดีที่เขาอาสาเข้าไปทำ จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เขาสร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

สมชายเริ่มหันไปทำคดีอาสาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ ทศวรรษ 2530 สมชายเริ่มมองเห็นว่า กฎอัยการศึก ที่บังคับใช้อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีช่องว่างที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น เขาจึงเริ่มรณรงค์ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าว

54255479_2084200198293922_4995587684450697216_o

ก่อนหน้าที่เขาถูกบังคับสูญหายไปในวันที่ 12 มีนาคม 2547 เขาได้ส่งจดหมายร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการซ้อมทรมานผู้ต้องหา ซึ่งเป็นลูกความของเขา 5 ราย โดยเจ้าหน้าตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม และสืบสวนสอบสวนในคดีดังกล่าว จวบจนกระทั่งปัจจุบัน สมชายหายตัวไป โดยมีพยานผู้หนึ่งยืนยันว่าเห็นเขาถูกผลักเข้าไปในรถยนตร์ที่มีผู้ขับออกไป ส่วนรถยนตร์ของเขาถูกพบ หลังจากนั้นไม่นาน

ครอบครัวของนาย สมชาย นีละไพจิตร เป็นครอบครัวแรก ในประเทศไทยที่ตัดสินใจใช้กลไกตามกระบวนการยุติธรรมในคดีการบังคับ บุคคลสูญหายซึ่งยังไม่ถือเป็นอาชญากรรม
ในประเทศไทย ครอบครัวของเขา ใช้เวลากว่าทศวรรษในกระบวนการได้มาซึ่งความจริงและความยุติธรรม

กระทั่งปลายปี 2558 ศาลฎีกาตัดสินยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งหมดในคดี และรวมทั้งตัดสิทธิ์ของครอบครัวในการฟ้องดำเนินคดีแทนนายสมชาย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบชะตากรรม

ปี 2561 การดำเนินการสอบสวนโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งดำเนินการมา ตั้งแต่ปี 2548 ยุติลง โดยเหตุไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม แต่ยังให้ความคุ้มครอง นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชายในฐานะพยานในคดีดังกล่าว 

โดยไม่มีข่าวคราวว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการ หรือกำลังดำเนินการ สืบสวนสอบสวนเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางคดีหรือไม่ประการใด คงเป็นอีกคดีหนึ่งของผู้สูญหาย
ที่กำลังสูญหายไปจากกระบวนการยุติธรรมไทย

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading