“ความมั่นคง” vs. “สิทธิความเป็นส่วนตัว”???
ตลอดปี 2562 หนึ่งในปฏิบัติการของภาครัฐที่ถูกตั้งคำถามมากที่สุดคือ การตรวจสารพันธุกรรมหรือ DNA ของประชากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้รับรายงานว่า ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้งทั้งในรูปแบบการสุ่มบังคับตรวจ DNA ตามครัวเรือน โรงเรียน และหอพักนักศึกษา และการตรวจเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบจากผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร ในขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจเก็บ DNA มักกล่าวอ้างว่าเป็นการทำฐานข้อมูลเพื่อการปราบปรามความรุนแรงและรักษา “ความมั่นคงแห่งชาติ” ประชาชนในพื้นที่จำนวนมากกลับมองว่าปฏิบัติการในลักษณะนี้ถือเป็นการรุกล้ำสิทธิมนุษยชนของพวกเขา โดยเฉพาะ “สิทธิความเป็นส่วนตัว”
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจึงได้จัดทำเอกสารชุดความรู้ว่าด้วย “การบังคับตรวจ DNA ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้” เพื่อตอบคำถามว่า:
– การบังคับตรวจ DNA ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เกิดขึ้นในลักษณะใดบ้าง?
– การบังคับตรวจ DNA เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่?
– การบังคับตรวจ DNA เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว หรือไม่ อย่างไร?
– ภาคประชาสังคมสามารถเฝ้าระวังการบังคับตรวจ DNA ได้อย่างไรบ้าง?
จัดทำโดย ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม