[:th]CrCF Logo[:]

บทความ: นักกิจกรรม,กิจกรรมและพื้นที่ยืนในจังหวัดชายแดนใต้โดยพรเพ็ญ_คงขจรเกียรติ

Share

25570627-180218.jpg25570627-180210.jpg25570627-180203.jpg25570627-180157.jpg DSC02038DSC02013DSC02002DSC02010DSC02037DSC02017DSC02015DSC02038 DSC02014DSC02035 บทความ : นักกิจกรรม กิจกรรมและพื้นที่ยืนในจังหวัดชายแดนใต้ โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ   คงต้องขอขอบคุณนักกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยเฉพาะเครือข่ายสิทธิมนุษยชนที่ใช้ชื่อว่า HAP เจ้าของโครงการ ด้วยความร่วมมือกับ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม,กลุ่มด้วยใจ จ. สงขลา, เครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ จชต., เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และเครือข่ายเยาวชน PERMAS และ PERWANI ที่ร่วมกับองค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างองค์กรแอนเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม จัดกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก โดยเป็นการจัดงานวันสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานในวันที่ 26 มิถุนายน 2557 ที่อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ จังหวัดยะลาให้ได้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมประจำปีที่องค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลกจัดกันทุกปีเพื่อให้กำลังใจกับผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมาน ในสถานการณ์ความขัดแย้งพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เราได้จัดงานลักษณะนี้มาแล้วหลายสองปีติดต่อกัน จากตัวเลขของศูนย์ทนายความมุสลิมมีสถิติข้อร้องเรียนเรื่องการทรมานและปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมตั้งแต่ปี 2550 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 จำนวนทั้งสิ้น 364 กรณี และจากการเก็บข้อมูลของกลุ่มด้วยใจ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปัตตานี และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ผ่านโครงการกองทุนสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานขององค์กรสหประชาชาติ (UN Voluntary Fund for Torture Victims) เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลาสองปีจำนวน 92 กรณี เท่ากับว่าอย่างน้อยที่สุดมีผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้กว่า 450 คน ที่ยอมเปิดเผยประสบการณ์อันเลวร้ายของตนและของคนในครอบครัวว่าได้รับประสบการณ์เหล่านี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ต้องได้รับการชดเชยเยียวยาเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถกลับมามีที่ยืนในสังคม

ในวันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันสุนทรภู่ วันต่อต้านการค้ามนุษย์ และวันต่อต้านยาเสพติด และเป็นวันสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานด้วย จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคิดถึงงานใหญ่ว่าจะจัดกิจกรรมสิทธิมนุษยชนให้ได้ผลทั้งในเรื่องการรณรงค์สร้างความเข้าใจและที่สำคัญต้องการสื่อสารออกไปยังสังคมวงกว้าง อย่างที่หลายคนคิดและมีหลายคนถามว่าจะจัดกิจกรรมได้หรือภายใต้คำสั่งคสช. และสถานการณ์การข่มขุ่และคุกคามนักกิจกรรมในพื้นที่ในหลายๆ รูปแบบไม่ว่าจะนักข่าวท้องถิ่นถูกเยี่ยมบ้าน สำนักงานของวิทยุชุมชนรายสำคัญถูกเยี่ยมและปรามการทำงาน และสุดท้ายต้องปิดตัวลง ช่างภาพถูกจับกุมและบันทึกประวัติก่อนปล่อยตัวไป นักศึกษาและนักกิจกรรม ประสบกับการคุกคามหลายรูปแบบ ตั้งแต่ลอบยิงข่มขู่เอาชีวิต ขอดูมือถือคอมพิวเตอร์ก่อนปล่อยตัวไป เป็นต้น และคงมีอีกหลายเหตุการณ์ที่นักกิจกรรมยังไม่รู้สึกปลอดภัยเพียงพอที่จะสื่อสารกับสาธารณะ โดยเฉพาะบรรยากาศหลังเหตุการณ์ไฟดับทั่วเมืองปัตตานีเกือบสองวันเมื่อวันที่ 24 พค.หลังรัฐประหาร เท่าที่สอบถามจากคนใกล้ชิดบรรยากาศวันนั้นยังคงสร้างความหวั่นไหวและหวาดกลัวในหมู่ประชาชนอยู่ไม่น้อย ในวันงานไม่มีสื่อมวลชนรายใดทั้งส่วนกลางและพื้นที่ที่ได้รับการเชิญแล้วมาร่วมแต่อย่างใด เหมือนกับวันที่ทางสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชนได้จัดงานเปิดรายงานข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานขององค์กรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพ ก็ไม่มีสื่อมวลชนรายใดมาทำข่าวเช่นกัน ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว การจัดกิจกรรมพูดถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะคู่ขัดแย้งที่กลายมาเป็นรัฐธาธิปัตย์แม้ว่ามันไม่ง่ายแต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ การสร้างพื้นที่ยืนให้กับนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏ จังหวัดยะลา จึงเป็นประสบการณ์ที่ต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง การจัดกิจกรรมในสถานที่ราชการมีขั้นตอนการบริหารจัดการที่โดยปกติแล้วก็ไม่ยุ่งยากนัก คือการทำหนังสือขอใช้สถานที่ หรืออุปกรณ์โต๊ะ เก้าอี้ที่เกี่ยวข้อง หากแต่ในสถานการณ์ความมั่นคงทางการเมืองที่มีแกนนำเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีขั้นตอนแทรกเสริมอีกคือการขออนุญาตแม่ทัพภาคที่สี่ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ หน่วยงานราชการที่อนุญาตให้จัดกิจกรรมในแต่ละครั้งก็เกิดความสบายใจว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้องตามมาตรการเสริมดังกล่าว นักกิจกรรมในจังหวัดยะลาส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของราชภัฏ จังหวัดยะลา จังหวัดยะลาเองก็เป็นจังหวัดที่มีนักกิจกรรมในประเด็นต่างๆ ไม่น้อย ชาวยะลาก็ไปเติบโตและมีพื้นที่ยืนทั้งในพื้นที่และในส่วนกลางก็ไม่น้อย การจัดให้มีกิจกรรมเพื่อยืนยันหลักการด้านสิทธิมนุษยชนว่า ทั้งหน่วยงานราชการเช่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ ยะลา มีนายทหารระดับสูงจากกอรมน. ภาคสี่ มีตัวแทนจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนใต้ มายืนยันหลักการเดียวกันว่า การทรมานเป็นสิ่งต้องห้าม และต้องร่วมกันยุติการทรมาน ย่อมเป็นสัญญาณที่ส่งออกสื่อออกไปได้อย่างดีว่างานด้านสิทธิมนุษยชน หน่วยงานราชการ และฝ่ายความมั่นคงทั้งตำรวจและทหาร ยังสามารถทำงานร่วมกันได้แม้ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

: เมื่อ 30 ปีที่แล้ว องค์การสหประชาชาติได้กำหนดหลักการว่า ห้ามไม่ให้มีการทรมานโดยเด็ดขาด ไว้ในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกในอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับนี้เมื่อปี 2550 นับเป็นเวลา 7 ปี วันสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานในวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นี้กำหนดขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกและประชากรของประเทศสมาชิก รวมทั้งทุกคนในสังคมโลกได้รำลึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี โดยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือที่เจ้าหน้าที่รัฐอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการยุยง ส่งเสริม หรือรู้เห็นเป็นใจ เพื่อบังคับให้สารภาพและให้ข้อมูลกับทางการ สำหรับในประเทศไทยนับแต่นี้เป็นห้วงเวลาที่สำคัญที่ประเทศไทยจะนำข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานต่อประเทศไทย เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมานำมาใช้เพื่อการรณรงค์ และสร้างให้เกิดเปลี่ยนแปลงทั้งทางกฎหมาย นโยบาย และทัศนคติของบุคคลกรของรัฐทุกฝ่ายว่า การทรมานเป็นสิ่งต้องห้ามเด็ดขาดทั้งในสถานการณ์ปกติและแม้ในสถานการณ์ที่มีความฉุกเฉิน หรือในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธใดใด เหล่านี้ไม่เป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมให้กับการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี การทรมานเป็นอาชญกรรมที่ประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ นอกจากนั้นประเทศไทยยังต้องมีมาตาการที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการทรมาน เช่นการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวโดยอิสระ การเข้าถึงแพทย์ ทนายความและญาติที่เหมาะสม การปรับปรุงสถานที่ควบคุมตัวไม่ให้มีสภาพที่แออัดและก่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งการดำเนินการให้มีการชดเชยเยียวยาต่อผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานที่ผ่านมา รายงานที่เกี่ยวข้อง 1) ข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานต่อประเทศไทย https://crcfthailand.org/2014/06/23/e-book-%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9b/ 2) สรุปรายงานคู่ขนานสถานการณ์การทรมาน https://crcfthailand.org/2014/04/23/%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%8e/ 25570627-180150.jpg 25570627-180157.jpg 25570627-180203.jpg 25570627-180210.jpg 25570627-180218.jpg

TAG

RELATED ARTICLES