[:th]CrCF Logo[:]

[:en]อาเยาะ คือนอ อีฆะ “พ่อถูกจับ” เส้นทางความยุติธรรมของ ผู้ต้องขัง คดีความมั่นคง ชายแดนใต้[:th]อาเยาะ คือนอ อีฆะ “พ่อถูกจับ” เส้นทางความยุติธรรมของ ผู้ต้องขัง คดีความมั่นคง ชายแดนใต้[:]

Share

[:th]

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมหลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชนทั้งทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิทธิพล เมืองมูลนิธิได้ดำเนินโครงการเข้าถึงความยุติธรรม และการคุ้มครองทางกฎหมายใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และการยึดถือปฏิบัติตามหลักนิติธรรมในการนี้ได้มีกิจกรรมเยี่ยมผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในเรือนจำ 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ได้แก่ศูนย์ทนายความมุสลิม กลุ่มบ้านอาสาเพื่อเด็ก และเยาวชน กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ และกลุ่มคนทำงานอิสระอื่นๆ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกรมราชทัณฑ์ จากการเยี่ยมผู้ต้องขัง และครอบครัวมูลนิธิได้สำรวจ และรวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ต้องขังใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา และความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับครอบครัวดังกล่าว

ผลจากการสำรวจจากเรือนจำพบว่า มีผู้ต้องขังในคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงกว่า 400 คนนี้มูลนิธิ และองค์กรเครือข่ายจึงได้สำรวจ และเยี่ยมเยียนครอบครัวของผู้ต้องขังเหล่านั้นรวม 218 ครอบครัว ข้อมูลที่ได้จากการเยี่ยมเยียนครอบครัว และจากข้อร้องเรียนของญาติผู้ต้องขังที่ศูนย์ทนายความมุสลิมพบว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวนถึง 278 คน เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่บุคคลในครอบครัวถูกคุมขัง แบ่งเป็นเด็กเล็กที่อายุไม่ถึงขวบ หรือในวัยเรียนอนุบาลมากถึง 134 คนเด็ก อายุ 7-12 ปี จำนวน 85 คน และเด็กอายุ 13 ถึง 18 ปีจำนวน 55 คนส่วนหนึ่งยังขาดโอกาสในการศึกษาทั้งในโรงเรียนสามัญ และโรงเรียนศาสนาสมาชิกครอบครัวที่เป็นหญิงประสบกับปัญหาความเดือดร้อนทางด้านจิตใจ และเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่นำเสนอสภาพปัญหา และความจำเป็นที่จะจัดให้มีความช่วยเหลือ และส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของเด็ก และสตรีเนื่องจากครอบครัวเหล่านี้ เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบาย และการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่แต่เป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกละเลย และยังไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาจากโครงการช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางด้านทัศนคติในแง่ลบของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือการเลือกปฏิบัติต่อครอบครัวผู้ต้องขังเหล่านี้ ทางมูลนิธิและเครือข่ายจึงเร่งรัดให้หน่วยงานรัฐกำหนดนโยบายในการจัดสวัสดิการในเรื่องอาชีพ ทุนการศึกษา และการให้ความช่วยเหลือทางด้านคดี และการได้รับโอกาสในการประกันตัวตามสิทธิที่เหมาะสม และเป็นธรรมส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมภาคองค์กรเอกชน เช่นค่ายเด็ก และเยาวชน สำหรับครอบครัวผู้ต้องขัง ทุนการศึกษาจากภาคเอกชน การเยี่ยมครอบครัว การสร้างกลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อลดความขัดแย้ง และสร้างทัศนคติที่ดีต่อกันระหว่างสังคม และครอบครัวของผู้กล่าวหาในคดีความมั่นคง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน กับรัฐอันจะเป็นพื้นฐานสำหรับความสมานฉัน และการร่วมมือร่วมใจกันในการสร้างความมั่นคงสร้างสรรค์ และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

[:]