เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านนักกิจกรรมภาคใต้หลังเผยแพร่รายงานสถานการณ์การทรมาน

Share

เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านนักกิจกรรมภาคใต้หลังเผยแพร่รายงานสถานการณ์การทรมาน

 

เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านนักกิจกรรมภาคใต้หลังเผยแพร่รายงานสถานการณ์การทรมาน

19 ก.พ. 2559 เวลา 17.00 น. บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน แต่งกายด้วยเครื่องเเบบสีเขียว ประมาณ  10 นาย ได้มาขอพบ น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ โดยไม่มีหมายจับหรือหมายค้น เจ้าหน้าที่ได้จอดรถสามคันล้อมรอบบ้านของอัญชนาในเขต จ.สงขลา พร้อมทั้งซักประวัติ ถ่ายรูปบ้านและมารดาของอัญชนาไว้ ก่อนกลับไปหลังจากไม่พบอัญชนา

12714343_1150322058312427_282817634_n

ทั้งนี้ในเวลาดังกล่าวมีเพียงมารดาของนอัญชนา ซึ่งมีอายุ 75 ปีอยู่บ้านคนเดียว ทำให้มารดาของอัญชนารู้สึกกังวลที่ต้องคุยกับเจ้าหน้าที่ เพราะไม่มีใครอยู่ด้วยและบ้านใกล้เคียงก็อยู่ห่างออกไปประมาณ 30 เมตร โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำตัวเองว่าเป็นตำรวจตระเวนชายแดน พร้อมทั้งสอบถามถึงประวัติส่วนตัวของอัญชนา หีมมิหน๊ะ ในเรื่องการทำงาน และได้ถ่ายรูปมารดาและบ้านของนางสาวอัญชนาไว้หลายรูป แต่ไม่ได้เข้าไปด้านในบ้าน การพบครั้งนี้ไม่มีหมายหรือเอกสารใดๆมาแสดง ภายหลังจากพูดคุยกันประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้ว ก่อนกลับเจ้าหน้าที่ได้แจ้งกับมารดาว่าฝากบอกลูกสาวด้วยว่าห้ามเล่นไลน์ (line) และเฟซบุ๊ก (facebook)

การที่เจ้าหน้าที่มาเยี่ยมบ้าน น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะครั้งนี้  เป็นครั้งที่ 2 ของปี 2559 หลังจากที่มีการยื่นรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558 ให้แก่แม่ทัพภาค 4 เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2559 โดยในครั้งแรกที่มีเจ้าหน้าที่มาตามหาตัว น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะคือวันที่ 19 ม.ค. 2559 เวลากลางวันก่อนเที่ยง  โดยเจ้าหน้าที่แต่งชุดเขียวเเยกไม่ออกว่าทหารหรือตำรวจตระเวนชายเเดนประมาณ 3 นาย เข้าไปที่ร้านขายผ้าในตลาดอำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา เพื่อตามหานางสาวอัญชนาที่ร้าน  พบแต่พนักงานในร้าน เจ้าหน้าที่จึงกลับไปโดยไม่มีการฝากเอกสารหรือข้อความใดๆไว้

ต่อมา  14 ก.พ. 2559 แม่ทัพภาค 4 ได้โทรเรียกให้ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ และทีมงานที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเพื่อทำรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี เข้าไปพูดคุยที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ได้มีการคุยกันประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นต่อกันในเรื่องรายงานและการจัดบันทึกข้อร้องเรียนจากผู้เสียหายจากการทรมาน

น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ กลุ่มด้วยใจเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่มาพบครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากการเผยแพร่รายงานสถานการณ์ทรมานฯออกไป ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดได้ไปพบเจ้าหน้าที่คนอื่นขององค์กรเครือข่ายที่ช่วยเก็บข้อมูลและเจ้าของกรณีที่ให้ข้อมูล  สำหรับรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558 เป็นรายงานซึ่งจัดทำโดยกลุ่มด้วยใจ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปัตตานี โดยรายงานเป็นการนำเสนอหลักการและผลของการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินผลกระทบจากการทรมานฯ เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์โดยแบบสอบถามดังกล่าวได้นำหลักการสากลที่ชื่อว่า “พิธีสารอิสตันบูล” (Istanbul Protocol: Manual on the Effective Investigation and Documentation of Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) มาเป็นแนวทางในการตั้งกรอบคำถามและแนวทางการบันทึกผลกระทบจากการทรมานจากผู้ร้องเรียนทั้งหมด 54 ราย

 

 

TAG

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading