การต่อสู้ของคนธรรมดา กับ 16 เดือนแห่งการทวงถามความยุติธรรมให้อัสอารี สะมาแอ โดย เลขา เกลี้ยงเกลา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิสรา

Share

โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรากลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม ทั้งสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้หญิงเพื่อสันติภาพ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์ทนายความมุสลิม ได้ร่วมกันจัดงานเลี้ยงน้ำชาที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อระดมทุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางคดี และค่าธรรมเนียมศาลให้กับครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยื่นฟ้องคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ในวันนั้นมีการเปิดเวทีเสวนาเล็กๆ เรื่อง “4 ปีการต่อสู้ กับกระบวนการยุติธรรมไทย” ด้วย และหัวข้อหลักที่บนเวทีพูดถึงกันอย่างกว้างขวางก็คือ การเสียชีวิตของ นายอัสอารี สะมาแอ อายุ 27 ปี ชาว อ.ยะหา จ.ยะลา

อัสอารี เคยทำงานรับจ้างอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมพร้อมเพื่อนอีก 4 คนโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2550 ในฐานะผู้ต้องสงสัยเกี่ยวพันกับการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลาต่อมาปรากฏว่า อัสอารีเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ มีผู้พบศพเขาที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2550

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อมีการเสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ หรือเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ยื่นสำนวนต่อพนักงานอัยการ เพื่อยื่นคำร้องต่อศาลให้ “ไต่สวนการตาย” แต่บันทึกประจำวันในเบื้องต้นของตำรวจเกี่ยวกับชะตากรรมของอัสอารีมีเพียงว่า “มีผู้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา พบชายไทยไม่ทราบชื่อเสียชีวิตอยู่บนเตียงคนไข้ วันเวลาเสียชีวิต 22 ก.ค. 2550 เวลา 15.00 น. โดยไม่ทราบสาเหตุ”

ต่อมาพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนและเสนอต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลา เป็นคดี ช.0998 ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. 2550 แต่อัยการก็ยังไม่ได้เรียกญาติ โดยเฉพาะ นางแบเดาะ สะมาแอ มารดาของอัสอารี เข้าร้องคัดค้านในคดีไต่สวนการตายแต่อย่างใด

16 เดือนที่ผ่านมา นางแบเดาะได้ยื่นขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐต่างๆ ทั้งศูนย์ปฏิบัติการเยียวยาฯ จ.ยะลา กรมคุ้มครองสิท ธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า แต่ทุกหน่วยปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือแม้แต่ค่าเยียวยาขั้นต้นเหตุผลของหน่วยงานเหล่านั้นก็คือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกนายปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้อาวุธทุกประการ แต่ผู้ถูกควบคุมตัวมีการใช้อาวุธ และขัดขืนการจับกุม ทั้งยังพยายามหลบหนี จึงมีการต่อสู้กัน

ส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บ อัสอารีหกล้มศีรษะฟาดพื้น กระทั่งเสียชีวิตในเวลาต่อมาหลังต้องผิดหวังซ้ำซากเรื่องความช่วยเหลือ นางแบเดาะจึงตัดสินใจยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 403/2551 เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2551 เรียกค่าเสียหายจากกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในความผิดฐานละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เป็นเงิน 1,306,487 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีพร้อมกันนั้น

นางแบเดาะยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา และยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลด้วย แต่ศาลได้สั่งยกคำร้องในเวลาต่อมา เนื่องจากเห็นว่า นางแบเดาะมีรายได้จากสวนยางพารา 6 ไร่ มีรายจ่ายของลูกคนที่ 4-6 เดือนละ 5,000 บาท ลูกคนที่ 7-9 มีค่าใช้จ่ายคนละ 30 บาทต่อวัน รวมประมาณเดือนละ 6,800 บาท น่าเชื่อว่านางแบเดาะมีรายได้มากกว่าที่อ้าง และคำเบิกความยังบอกว่าสามารถกู้ยืมเงินจากเพื่อน และธนาคารได้ จึงน่าจะมีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล

นางแบเดาะได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2551 อัยการของจำเลยที่ 1-3 ได้ยื่นคำแถลงคัดค้านอุทธรณ์ เพื่อไม่ให้ศาลรับคำร้องและดำเนินคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แก่นางแบเดาะนายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความที่ดูแลคดีของนางแบเดาะ กล่าวว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อมีการเสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติหรือระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพ และไต่สวนการตาย

แต่กรณีนี้ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่ยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวนการตาย ถือเป็นการละเลยต่อกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นอย่างชัดเจนนอกจากนั้น ครอบครัวของอัสอารีก็ไม่ได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานใดๆ ของรัฐมาก่อน ทั้งที่โดยหลักแล้วยิ่งญาติแจ้งว่าการเสียชีวิตอาจจะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายรัฐยิ่งต้องเร่งให้การเยียวยาและสร้างความเข้าใจอย่างเร่งด่วน

“เมื่อการช่วยเหลือของรัฐไม่มีความคืบหน้า แม่ของอัสอารีก็ต้องฟ้องให้เป็นคดีตัวอย่างเพื่อให้สังคมได้รับรู้ เหมือนที่ชาว อ.จะนะ จ.สงขลา ฟ้องคัดค้านการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย” “แต่ปัญหาตอนนี้ก็คือเรื่องค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 2 ของทุนที่ยื่นฟ้อง โดยนางแบเดาะยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1,306,487 บาท ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลประมาณ 3 หมื่นบาท แต่ศาลยกคำร้องที่ขอยื่นฟ้องอย่างคนอนาถา เพราะศาลเชื่อว่านางแบเดาะยังมีกำลังจ่ายค่าธรรมเนียมศาลได้ ทั้งที่ทุกวันนี้นางไม่มีเงินใช้หนี้ที่เหลือกับ ธกส.เนื่องจากลูกชายคนโตของนางคืออัสอารี ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยทำงานหาเงินได้เสียชีวิตไปแล้ว

“ทนายรัษฎา กล่าวด้วยเหตุนี้ กิจกรรมเล็กๆ อย่างการจัดเลี้ยงน้ำชาเมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาจึงเกิดขึ้น เพื่อหาทุนรอนช่วยเหลือนางแบเดาะโดยการรวบรวมเงินบริจาคเป็นค่าธรรมเนียมศาล เพื่อไขว่คว้าหาความเป็นธรรมให้ลูกชายต่อไปนางแบเดาะ แม่ของอัสอารี มีบุตรรวมทั้งสิ้น 8 คน ยังอยู่ในวัยเรียน 7 คน นางมีอาชีพทำสวนยางพาราซึ่งเป็นสวนของตนเองจำนวน 6 ไร่ และต้องเผชิญกับโรคเบาหวานที่กำลังรุมเร้าพ่อของอัสอารีอายุ 62 ปี สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถประกอบอาชีพได้

เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดะวะฮฺ (ออกเผยแผ่ศาสนาไปตามมัสยิดต่างๆ) ทำให้นางแบเดาะต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพังเมื่อตอนที่อัสอารียังมีชีวิต ครอบครัวของนางไม่ลำบากมากนัก เพราะอัสอารีในฐานะลูกชายคนโตจะส่งเงินจากการทำงานรับจ้างที่หาดใหญ่ให้นางเดือนละ 4,000 บาท แต่เมื่อลูกชายเสียชีวิตไปแล้ว นางจึงเหลือรายได้จากการกรีดยางเพียงอย่างเดียว และเมื่อราคายางตกต่ำเช่นนี้ รายได้จึงไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่มีแต่จะสูงขึ้นทุกวัน

“ตอนที่อัสอารียังอยู่ เขาเรียนชั้นปี 3 เอกภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขาบอกเสมอว่าแม่ไม่ต้องเป็นห่วง เขาเรียนใกล้จบแล้ว จะไปเป็นครู ทำให้ฉันมีกำลังใจ เขาช่วยส่งเงินที่ทำงานมาให้เป็นค่าใช้จ่ายในบ้านตลอด ตั้งแต่เห็นศพลูกในวันนั้นฉันรู้สึกท้อและหมดกำลังใจ เพราะต้องดูแลลูกที่เหลือทั้งหมดเพียงคนเดียว ไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานไหนก็ไม่ได้ ทำให้ท้อเพิ่มขึ้นไปอีก”

แม่ของอัสอารี กล่าวจากหัวใจดวงช้ำแต่งานเลี้ยงน้ำชาที่จัดขึ้นโดยองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อหาเงินช่วยเหลือนางและครอบครัวอื่นๆ ที่ประสบชะตากรรมไม่ต่างกัน ทำให้นางปลาบปลื้มจนแทบจะเอ่ยอะไรไม่ถูก“ฉันบอกลูกทุกคนเสมอว่า แม้แม่จะเหนื่อยและท้ออย่างไร แต่ก็ยังมีคนให้กำลังใจและอยู่เคียงข้าง อย่างทนายของศูนย์ทนายความมุสลิม ฉะนั้นขอให้ลูกตั้งใจเรียน อย่าเกเร”เป็นคำบอกเล่าของนางแบเดาะ ที่วันนี้มีเพียงอนาคตของลูกๆ ที่ยังเหลือ และการต่อสู้เพื่อทวงความยุติธรรมให้กับลูกชายคนโตเท่านั้นที่พอจะเป็นความหวังในแต่ละวันอันแสนมืดมนก็ได้แต่หวังว่าความยุติธรรมจะไม่เดินช้าจนเกินไป… 2008_11_20_-isranews_an-ordinary-mother_calls-for-justice-of-her-son_with-pic

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading