[:en]News : อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน ชี้ 7 ข้อบกพร่อง พรบ.อุทยาน ขาดสิทธิ ละเมิดสิทธิ และมีช่องให้ทำเหมืองแร่[:th]News : อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน ชี้ 7 ข้อบกพร่อง พรบ.อุทยาน ขาดสิทธิ ละเมิดสิทธิ และมีช่องให้ทำเหมืองแร่[:]

Share

[:en]อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ชี้ข้อบกพร่อง 7 ประการใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ขาดการ “ฟื้นฟู” ในหลักการเหตุผล ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ขาดสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้ในเขตอุทยานแห่งชาติ ละเมิดสิทธิในเคหะสถาน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ขัดหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

 

นายสุรพงษ์ กองจันทึก อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ได้ชี้ให้เห็นว่า กรณีพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 และมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน นับแต่วันประกาศ คือมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนแปลงจาก พ.ร.บ.ฉบับเดิม พ.ศ.2504 ไปหลายประเด็น แม้ให้โอกาสคนผิดกฎหมายที่อยู่ในพื้นที่ป่าขออาศัยในพื้นที่ป่าตามเงื่อนไขไม่เกิน 20 ปี แต่มีข้อกังวลที่เป็นข้อบกพร่องของ พ.ร.บ.ทั้งสิ้น 7 ประการ ดังนี้

 

  1. ขาดการ “ฟื้นฟู” ในหลักการเหตุผล

หลักการเหตุผลของ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ไม่มีคำว่า “ฟื้นฟู” บัญญัติไว้เพียงการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

การสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษา เป็นการกระทำต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันเท่านั้น หากเป็นการปลูกป่า ปลูกต้นไม้เพิ่ม หรือการกระทำให้สภาพทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลง มีสภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นการฟื้นฟู อาจกระทำไม่ได้

  1. ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ไม่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนเลย ทั้งที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กำหนดให้ต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน และเมื่อเป็น พ.ร.บ.กลับรวมอำนาจในการจัดการและนโยบายไว้ที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น แม้จะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็เป็นกรรมการจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิยังสามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องโดยไม่สิ้นสุด อีกทั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติไม่ได้กำหนดให้มีหน้าที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

  1. ขาดสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ไม่ได้กำหนดสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรเลย ทั้งที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ได้บัญญัติสิทธิในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างชัดเจน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติมีเพียงแบ่งเงินให้แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกินร้อยละสิบเท่านั้น

  1. อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้ในเขตอุทยานแห่งชาติ

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ให้สามารถดำเนินกิจการเหมืองแร่ได้ทั้งในป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติต่อไปได้ จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ แต่ถ้ามีการต่ออายุใบอนุญาตก็สามารถดำเนินกิจการเหมืองแร่ในเขตป่าอนุรักษ์ไปได้โดยไม่สิ้นสุด ทั้งที่แม้ใน พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560 ยังกำหนดไม่ให้ทำเหมืองแร่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ

  1. ละเมิดสิทธิในเคหะสถาน

แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 บัญญัติคุ้มครองสิทธิในเคหะสถาน และประมวลกฎหมายอาญาได้คุ้มครองในเรื่องนี้โดยไม่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจค้นในเคหะสถาน ยกเว้นได้รับหมายค้นจากศาล แต่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติกลับให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร โดยให้เข้าไปและตรวจค้นในเคหะสถานและยานพาหนะ โดยไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล

  1. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

จากกรณีที่ชาวบ้านกะเหรี่ยงดั้งเดิม นำโดย ปู่คออี้ มีมิ ฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงในส่วนการจัดการทรัพยากรที่ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม โดยไม่เห็นชอบกับข้อกล่าวอ้างของฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี (กรมอุทยานฯ) ที่อ้างมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 ในการดำเนินการ

แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลับไม่ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 กลับนำมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 มาใช้ต่อไป โดยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562

  1. ขัดหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

แม้ประชาชนจะไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ แต่หากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายก็สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ทางกฎหมายหมายได้

การที่ประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ มาเป็นร้อยปี มีการปลูกสร้างบ้านเรือนอาศัย ทำไร่ทำสวน แม้ไม่มีหนังสือสำคัญหรือโฉนดสวน ก็เป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยได้มาเป็นที่บ้านหรือที่สวน ตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 อันเป็นกฎหมายเก่า ที่บ้านที่สวนนี้ต้องมีมานานก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 พ.ศ.2475 มีคำที่พิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2500 และ 286/2516 ยืนยันถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายที่ใช้ยันต่อบุคคลภายนอกได้

 

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นฉบับเดิมได้ให้สิทธิประชาชนในการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ แม้ไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ แต่ใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ได้ตัดสิทธิ์ในการโต้แย้งของประชาชน โดยกำหนดเพิ่มคำว่า ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น จึงโต้แย้งการประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้ ทำให้ประชาชนจำนวนมากแม้อาศัยอยู่มาเนิ่นนาน แต่เมื่อไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ก็ไม่สามารถโต้แย้งการประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้

 

ที่มา

หนังสือพิมพ์สยามโฟกัส

 [:th]อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ชี้ข้อบกพร่อง 7 ประการใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ขาดการ “ฟื้นฟู” ในหลักการเหตุผล ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ขาดสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้ในเขตอุทยานแห่งชาติ ละเมิดสิทธิในเคหะสถาน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ขัดหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

 

นายสุรพงษ์ กองจันทึก อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ได้ชี้ให้เห็นว่า กรณีพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 และมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน นับแต่วันประกาศ คือมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนแปลงจาก พ.ร.บ.ฉบับเดิม พ.ศ.2504 ไปหลายประเด็น แม้ให้โอกาสคนผิดกฎหมายที่อยู่ในพื้นที่ป่าขออาศัยในพื้นที่ป่าตามเงื่อนไขไม่เกิน 20 ปี แต่มีข้อกังวลที่เป็นข้อบกพร่องของ พ.ร.บ.ทั้งสิ้น 7 ประการ ดังนี้

 

  1. ขาดการ “ฟื้นฟู” ในหลักการเหตุผล

หลักการเหตุผลของ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ไม่มีคำว่า “ฟื้นฟู” บัญญัติไว้เพียงการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

การสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษา เป็นการกระทำต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันเท่านั้น หากเป็นการปลูกป่า ปลูกต้นไม้เพิ่ม หรือการกระทำให้สภาพทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลง มีสภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นการฟื้นฟู อาจกระทำไม่ได้

  1. ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ไม่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนเลย ทั้งที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กำหนดให้ต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน และเมื่อเป็น พ.ร.บ.กลับรวมอำนาจในการจัดการและนโยบายไว้ที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น แม้จะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็เป็นกรรมการจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิยังสามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องโดยไม่สิ้นสุด อีกทั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติไม่ได้กำหนดให้มีหน้าที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

  1. ขาดสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ไม่ได้กำหนดสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรเลย ทั้งที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ได้บัญญัติสิทธิในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างชัดเจน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติมีเพียงแบ่งเงินให้แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกินร้อยละสิบเท่านั้น

  1. อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้ในเขตอุทยานแห่งชาติ

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ให้สามารถดำเนินกิจการเหมืองแร่ได้ทั้งในป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติต่อไปได้ จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ แต่ถ้ามีการต่ออายุใบอนุญาตก็สามารถดำเนินกิจการเหมืองแร่ในเขตป่าอนุรักษ์ไปได้โดยไม่สิ้นสุด ทั้งที่แม้ใน พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560 ยังกำหนดไม่ให้ทำเหมืองแร่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ

  1. ละเมิดสิทธิในเคหะสถาน

แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 บัญญัติคุ้มครองสิทธิในเคหะสถาน และประมวลกฎหมายอาญาได้คุ้มครองในเรื่องนี้โดยไม่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจค้นในเคหะสถาน ยกเว้นได้รับหมายค้นจากศาล แต่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติกลับให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร โดยให้เข้าไปและตรวจค้นในเคหะสถานและยานพาหนะ โดยไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล

  1. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

จากกรณีที่ชาวบ้านกะเหรี่ยงดั้งเดิม นำโดย ปู่คออี้ มีมิ ฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงในส่วนการจัดการทรัพยากรที่ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม โดยไม่เห็นชอบกับข้อกล่าวอ้างของฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี (กรมอุทยานฯ) ที่อ้างมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 ในการดำเนินการ

แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลับไม่ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 กลับนำมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 มาใช้ต่อไป โดยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562

  1. ขัดหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

แม้ประชาชนจะไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ แต่หากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายก็สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ทางกฎหมายหมายได้

การที่ประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ มาเป็นร้อยปี มีการปลูกสร้างบ้านเรือนอาศัย ทำไร่ทำสวน แม้ไม่มีหนังสือสำคัญหรือโฉนดสวน ก็เป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยได้มาเป็นที่บ้านหรือที่สวน ตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 อันเป็นกฎหมายเก่า ที่บ้านที่สวนนี้ต้องมีมานานก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 พ.ศ.2475 มีคำที่พิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2500 และ 286/2516 ยืนยันถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายที่ใช้ยันต่อบุคคลภายนอกได้

 

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นฉบับเดิมได้ให้สิทธิประชาชนในการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ แม้ไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ แต่ใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ได้ตัดสิทธิ์ในการโต้แย้งของประชาชน โดยกำหนดเพิ่มคำว่า ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น จึงโต้แย้งการประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้ ทำให้ประชาชนจำนวนมากแม้อาศัยอยู่มาเนิ่นนาน แต่เมื่อไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ก็ไม่สามารถโต้แย้งการประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้

 

ที่มา

หนังสือพิมพ์สยามโฟกัส

 [:]

TAG

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading