ชาวบ้านโนนดินแดง

ครบรอบหนึ่งปีการบังคับไล่รื้อ ชาวบ้านโนนดินแดน จ.บุรีรัมย์ยังไม่ยุติการไล่รื้อ ขอให้ยุติการขับไล่ ชดเชยเยียวยา และจัดสรรที่พักพิง

Share

​เผยแพร่วันที่ 28 มิถุนายน 2558

ครบรอบหนึ่งปีการบังคับไล่รื้อ ชาวบ้านโนนดินแดน จ.บุรีรัมย์ยังไม่ยุติการไล่รื้อ ขอให้ยุติการขับไล่ ชดเชยเยียวยาและจัดสรรที่พักพิง

สืบเนื่องจากกลุ่มชาวบ้านทั้งสิ้น 46 ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับขับไล่ออกมาจากพื้นที่อาศัย และที่ทำกินจากป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2557 โดยเป็นระยะเวลาหนึ่งปีที่ทางราชการไม่ได้แก้ไขปัญหาการไร้ที่ดิน และความยากจนของชาวบ้านกลุ่มนี้ อีกทั้งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน โดยกลับมีมาตรการกดดันให้เจ้าของสวนยางที่อนุญาตให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ตั้งเพิงพักอาศัยชั่วคราวซึ่งเป็นการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมที่ได้รับความเดือดร้อน

ขณะนี้มีการกดดันให้ชาวบ้านที่ตั้งเรือนพักชั่วคราวบริเวณสวนยางพารา บ้านซับคะนิง ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดงจำนวน 28 ครอบครัว บริเวณวัดหัวเขื่อนลำนางรอง ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จำนวน 6 ครอบครัว และบริเวณวัดลำนางรองจำนวน 12 ครอบครัวให้ออกจากพื้นที่โดยไม่มีพื้นที่รองรับภายใน 7 วัน ปัจจุบันแม้จะผ่านเวลา 7 วันมาแล้วชาวบ้านก็ไม่สามารถจะออกจากพื้นที่ได้เนื่องจากไม่มีทางไป และหวาดกลัวว่าจะถูกบังคับไล่รื้อทันที

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้เผยแพร่ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยภายหลังที่ได้ร่วมรับฟังข้อมูลในเวทีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยมีตัวแทนหน่วยงานราชการไทยจำนวนกว่า 20 คนที่เดินทางมาร่วมเวทีในวันที่ 4-5 มิถุนายน โดยระหว่างการพูดคุยหนึ่งในคณะกรรมการ 18 คน ได้สอบถามถึงการบังคับขับไล่ชาวบ้านกรณีบ้านโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมภ์ว่า

ขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงสรุปอย่างเป็นทางการและเผยแพร่ในวันที่ 22 มิถุนายน 2558 นี้ และได้จัดส่งถึงรัฐบาลไทยผ่านคณะทูตไทยประจำนครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางเวปไซด์ของสหประชาชาติ โดยระบุในเอกสารฉบับที่ United Nations​E/C.12/THA/CO/1-2 ของคณะกรรมการเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมขององค์การสหประชาชาติ ว่า

“คณะกรรมการฯ กังวลเกี่ยวกับประเด็นที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ หลังได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายการอนุรักษ์ป่า โดยเฉพาะคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 64/2557 และ 66/2557 ในปี 2557 ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำลายพืชผลและการบังคับโยกย้าย คณะกรรมการแนะนำให้รัฐภาคีปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งปวงที่จำเป็นรวมทั้งการแก้ไขกฎหมายและกรอบนโยบาย ทั้งนี้เพื่อ ประกันให้มีการใช้วิธีไล่รื้อเป็นมาตรการสุดท้ายเท่านั้น และบุคคลที่ถูกบังคับโยกย้ายออกจากพื้นที่ต้องได้รับค่าชดเชยอย่างเพียงพอ และ/หรือได้รับการจัดสรรที่ดินใหม่ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการ ฉบับที่ 4 (2534) เกี่ยวกับสิทธิการมีที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ และฉบับที่ 7 (2540) ว่าด้วยการไล่รื้อ”

​มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่าทางออกในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการไร้ที่ดินทำกินของชาวบ้านกลุ่มนี้ ควรดำเนินการด้วยหลักการด้านมนุษยธรรมและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระยะยาวของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั้งด้านที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ซึ่งไม่อาจแก้ไปได้ด้วยการขับไล่ชาวบ้านออกนอกพื้นที่โดยเร่งด่วนขาดการมีส่วนร่วมและมาตรการรองรับ ขอเสนอให้มีการชลอการขับไล่และเจรจาพูดคุยเพื่อให้ชาวบ้านกลุ่มนี้มีที่พักพิงชั่วคราวระหว่างรอมาตรการของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ 02-6934939

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม Cross Cultural Foundation
111 ซอยสิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทร: 02-6934939, 02-6934831 โทรสาร : 02-2753954 Tel:02-6934939,02-6934831 Fax:02-2753954
​111 Soi Sithichon Suthisarnwinichai Rd. Samsennok Huaykwang Bangkok Thailand 10320
​www.crcf.or.th

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading