ศาลทหาร

TLHR เผยรายงานสถานการณ์สิทธิของพลเรือนไทย ภายใต้ศาลทหาร และกฎอัยการศึกปี 2557

Share

เผยแพร่วันที่ 23 มกราคม 2558

ใบแจ้งข่าว ศูนย์ทนายฯ เผยรายงาน “สถานการณ์สิทธิของพลเรือนไทยภายใต้ศาลทหารและกฎอัยการศึกปี 2557” ชี้ประชาชนขาดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

23 มกราคม 2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดรายงาน “สถานการณ์สิทธิของพลเรือนไทยภายใต้ศาลทหารและกฎอัยการศึกปี 2557” ชี้ประชาชนทยอยถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร กระบวนการภายในศาลละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ ส่งผลให้การพิจารณาพิพากษาคดีไม่เป็นไปตามความยุติธรรม และเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก การนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร

ซึ่งในรายงานได้ชี้ให้เห็นว่า การประกาศใช้ศาลทหารภายใต้กฎอัยการศึก ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดและละเลยสิทธิของประชาชนหลายอย่าง กระทบต่อประชาชนในหลายส่วน ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือ

1. พลเรือนทยอยขึ้นศาลทหาร

2. เจ้าหน้าที่ใช้กฎอัยการศึกในฐานะต้นธารของกระบวนการยุติธรรม โดยเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมประชาชนตามกฎอัยการศึกและนำข้อมูลที่ได้ระหว่างนั้นไปแจ้งความ ดำเนินคดีต่อพลเรือนและขอฝากขังต่อศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่อาจรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นผลดีต่อผู้ต้องหาได้

3. กระบวนการพิจารณาคดีที่แตกต่างจากกระบวนพิจารณาคดีทั่วไป โดยตุลาการขาดความอิสระและเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ขาดทนายขอแรง ห้ามจดบันทึก มีการพิจาณาคดีลับในหลายคดี และประชาชนเข้าถึงศาลทหารได้ยาก

4. สิทธิในการได้รับการประกันตัว ซึ่งศาลทหารยากที่จะให้การประกันตัวในคดีการเมือง ส่งผลกระทบต่อผู้ต้องขังที่มีปัญหาสุขภาพที่ขาดโอกาสมารักษาตัวข้างนอก

5. คำพิพากษา ศาลทหารปราศจาการอุทธรณ์ ฎีกาและมีแนวโน้มลงโทษหนักกว่าศาลพลเรือน ส่งผลให้จำเลยเลือกที่จะรับสารภาพแทนการสู้คดี นอกจากนี้ยังไม่มีการสืบเสาะประวัติจำเลยซึ่งจะนำไปสู่การพิจารณาลดโทษ ซึ่งจะนำไปสู่การลี้ภัยทางการเมือง

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่าการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ถือเป็นหลักสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมหากคณะรักษาความสงบแห่งชาติจงใจละเลยหลักการดังกล่าวด้วยการประกาศใช้กฎอัยการศึก บัญญัติให้การกระทำบางอย่างเป็นความผิด และนำพลเรือนขึ้นสู่ศาลทหาร จะเป็นการทำให้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นสิ่งที่ “ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม”

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเรียกร้องต่อสังคมไทยในประเด็นดังต่อไปนี้

1. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร และให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
2. ยุติการจับกุมและควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก
3. ขอให้ศาลและเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ตีความกฎหมายให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย และยึดหลักสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวเป็นหลัก การไม่อนุญาตให้ประกันตัวเป็นกรณียกเว้น
4. ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ให้พลเรือนขึ้นศาลทหารทุกฉบับ และให้พลเรือนขึ้นศาลพลเรือนตามปกติ
5. ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่กำหนดให้การกระทำบางประเภทเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา
6. ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยเร็ว

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
Thai Lawyers for Human Rights
โทร/Tel (+66) (0) 96-789-3172, 096-789-3173
e-mail: tlhr2014@gmail.com

สุนทรพจน์ งานรับรางวัลสิทธิมนุษยชนจากสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading