การเยียวยาในภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดย Lisa Magarrell หัวหน้าฝ่ายเยียวยา ICTJ

Share

การเยียวยาในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ[1]  โดย Lisa Magarrell หัวหน้าฝ่ายเยียวยา ศูนย์ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ  (International Center for Transitional Justice – ICTJ)

I. ธรรมชาติและวัตถุประสงค์ของการเยียวยา

. สิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ

หลักการและแนวปฏิบัติพื้นฐานว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือและการเยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดร้ายแรงต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ (UN Basic Principles and Guidelines on the Right to a Remedy and Reparation for Gross Violations of International Human Rights Law and Serious Violations of International Humanitarian Law assert) ยืนยันสิทธิของผู้เสียหายจากการละเมิดที่จะได้รับการเยียวยาโดยทันที อย่างพอเพียง และเป็นผล[2]

โดยในกรณีที่เหมาะสมและในบางรูปแบบอาจรวมถึงการชดใช้ ค่าชดเชยต่อความเสียหาย และการฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ และสถานภาพ มาตรการที่ทำให้ผู้เสียหายพึงพอใจอย่างเช่น การเปิดเผยความจริง การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และการยุติการละเมิดที่เกิดขึ้น ยังเป็นขั้นตอนที่มีผลในเชิงการเยียวยา ในทำนองเดียวกัน ขั้นตอนในการป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดซ้ำก็ควรดำเนินไปพร้อมกับการเยียวยา เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้เสียหายว่าการเยียวยาไม่ใช่คำสัญญาที่ว่างเปล่าหรือมาตรการบรรเทาปัญหาชั่วคราว

ภายหลังการละเมิดอย่างเป็นระบบหรือกว้างขวางหรือความขัดแย้งโดยทั่วไป การจัดให้มีการเยียวยาอย่างจริงจังมักเป็นภารกิจที่ท้าทาย อาจเป็นเพราะจำนวนผู้เสียหายมีอยู่มากมาย หรืออันตรายที่เกิดขึ้นมีผลร้ายแรงและไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้ อาจส่งผลกระทบทั้งระดับบุคคลและกลุ่ม และอาจมีผลในระยะยาวต่อผู้เสียหายแต่ละคนและสังคมโดยรวม การละเมิดกฎบัตรสิทธิมนุษยชนหรือมนุษยธรรมอาจกลายเป็นเรื่องปรกติมากกว่าเป็นข้อยกเว้น ส่วนหน่วยงานคุ้มครองสิทธิเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นศาล หรือระบบยุติธรรมท้องถิ่นของชุมชน อาจต้องเผชิญกับคดีความมากมาย หรือไม่ระบบดังกล่าวก็ถูกทำลายไปในระหว่างความขัดแย้ง หรือไม่ระบบดังกล่าวก็ถูกแทรกแซงและครอบงำด้วยอำนาจการเมืองที่ฉ้อฉล[3] ในบริบทเช่นนั้น มาตรการเชิงนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายอาจเป็นวิธีการดีสุดที่นำไปสู่การเยียวยา แทนที่จะปล่อยให้เกิดการเยียวยาเป็นรายกรณีตามกลไกของศาล

ในปัจจุบัน กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดอย่างชัดเจนถึงหน้าที่ในการเยียวยา แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หน้าที่ที่กำหนดยังขาดรายละเอียดที่ชัดเจน และทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าจะมีวิธีการปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวได้อย่างไรในสภาพที่เกิดความเสียหายร้ายแรงขึ้นมาแล้ว


[1] เขียนโดย Lisa Magarrell หัวหน้าฝ่ายเยียวยา ศูนย์ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ (International Center for Transitional Justice – ICTJ) และด้วยความอนุเคราะห์ด้านข้อมูลจาก Ruben Carranza และ Cristian Correa, Senior Associates และ Virginie Ladisch, Program Associate โปรดดู http://www.ictj.org

[2] รับรองและประกาศโดยมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 60/147 16 ธันวาคม 2548  http://www.ohchr.org/english/law/remedy.htm เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2550

[3] โปรดดูข้อมูลโดยทั่วไปที่ Pablo de Greiff, “Justice and Reparations,” in Pablo de Greiff, ed., The Handbook of Reparations (Oxford: Oxford University Press: 2006)

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [1.06 MB]

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [206.47 KB]

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading