รายงานคู่ขนาน ข้อสรุปเชิงสังเกต นโยบายให้เด็กที่เกิดในประเทศไทย และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดย วิวัฒน์ ตามี่

Share

19. นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา รัฐบาลมีนโยบายให้เด็กที่เกิดในประเทศไทย และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สามารถยื่นขอสัญชาติไทยได้ ตามมติ ค.ร.ม. 7 ธันวาคม 2559 และรัฐยังได้แก้ไขปรับปรุง มาตรา 19/2 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไร้สัญชาติที่ถูกบิดามารดาทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดามารดา ไร้รากเหง้าหรือเด็กที่เคยแจ้งเกิดแต่นายทะเบียนไม่อาจดำเนินการให้ได้ รวมถึงบุคคลที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ ไม่สามารถแจ้ง และขอหนังสือรับรองการเกิด ท.ร. 20/1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย

ยังมีนโยบายให้เด็กไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยจากบิดามารดาหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย และเด็กนักเรียนที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร G สามารถยื่นขอรับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตามมาตรา 38 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2552       

20. เมื่อเดือนธันวาคม 2562 สำนักบริหารการทะเบียน เสนอข้อมูลว่ายังมีผู้ที่ยังไม่มีสัญชาติไทยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน กว่า 727,926 คน ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้นับรวมเด็กไร้สัญชาติที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนกำลังเรียนหนังสืออยู่ในสถานศึกษาของรัฐที่มีอักษรนำหน้าเลขประจำตัว 13 หลักอักษร G, P,O รวม 90,640 คน (ข้อมูล ณ พ.ศ. 2559, กระทรวงศึกษาธิการ) และไม่รวมรวมจำนวนตัวเลขเด็กนักเรียนไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในศูนย์การเรียนเอกชนและเด็กไร้สัญชาติที่เกิดจากพ่อแม่มีสถานะหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายยังไม่ถูกสำรวจ(ไม่ทราบมีจำนวนเท่าใด) 

21. จำนวนคนไร้สัญชาติกว่า 727,926 คนไม่ได้ลดลงจากข้อมูลเมื่อปี 2545 แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นจริงได้ กล่าวคือ กรณีรัฐการเปิดโอกาสให้เด็กไร้สัญชาติที่มีสิทธิขอสัญชาติตามมาตรา 7 ทวิวรรค 2 พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2551 และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 ธันวาคม 2559 นั้น มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญคือ

เงื่อนไขแรกเด็กไร้สัญชาติที่จะมีสิทธิขอสัญชาติ ต้องเกิดในประเทศไทย และอาศัยอยู่ต่อเนื่องในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี และต้องเรียนให้จบปริญญาตรีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เพราะแค่เรียนให้จบระดับมัธยมศึกษาก็แทบเป็นไปไม่ได้ ด้วยเงื่อนไขครอบครัวยากจน เพราะพ่อแม่มีสถานะหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายจึงไม่สามารถประกอบอาชีพที่ดีมีรายได้มากพอจะจ่ายค่าเทอม อุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้านราคาแพง ค่าอาหาร ฯลฯ ที่ผ่านมามีเด็กไร้สัญชาติเรียนจบในระดับปริญญาตรี และขอพิสูจน์สัญชาติไม่เกิน 1-2 % เท่านั้น    

22. ตามนโยบายที่จะให้เด็กไร้สัญชาติเข้ารับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตาม มาตรา 38 วรรค 2 แห่ง  พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2551 นั้น เงื่อนไขสำคัญ ขั้นแรกจะต้องไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมข้อหาหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายระหว่างเดินทางไปอำเภอเพื่อขอรับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎร และการสำรวจนี้เพื่อให้มีตัวตนในทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่ไม่ได้ให้การคุ้มครองเรื่องสิทธิ และพัฒนาสิทธิทางสถานะหรือไม่สามารถขอพิสูจน์สถานะบุคคลหรือสัญชาติได้ นั่นก็คือรัฐจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์เพราะมีรายละเอียดข้อมูลบุคคลเหล่านี้ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองอยู่ที่ไหนบ้าง และสามารถดำเนินคดีได้ตลอด 

23. รัฐบาลไทยยังไม่ออกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขยื่นขอพิสูจน์สัญชาติ ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาออกหลักเกณฑ์การพิสูจน์สัญชาติ ให้แก่ชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x) จำนวนกว่า 152,869 คน (ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติระหว่างปี พ.ศ. 2549-2550, 2552) จึงไม่มีสิทธิยื่นขอพิสูจน์สัญชาติ และสถานะบุคคล ทำให้กลายเป็นคนไร้สัญชาติถาวร ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิ เลือกปฏิบัติและกีดกันไม่เปิดโอกาสให้เข้าถึงสถานะบุคคลและสัญชาติไทยแก่บุคคลกลุ่มนี้ 

24. ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อย ที่ถือบัตรประตัวสีฟ้า สีเขียวขอบแดง ที่ได้รับการสำรวจระหว่างปี 2533, 2542  มีเลขประจำตัวเลข 6,7 นำหน้าเลขประจำตัว 13 หลัก (6-xxxx-xxxxx-xx-x) เกิด/อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 30-40 ปี ประสบความยากลำบากในการขอพิสูจน์สถานะบุคคล และไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากผู้ที่มีอำนาจอนุมัติเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว และไม่ยอมกระจายอำนาจลงมายังระดับท้องถิ่นหรือผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดดำเนินการแทนตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง ปี พ.ศ. 2522 

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกิดจากขั้นตอน/กระบวนการยื่นเอกสารคำร้องขอพิสูจน์สถานะที่ยุ่งยาก 9 ขั้นตอนใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี และนานสุด 10 ปีในการพิจารณาและอนุมัติ ซึ่งเป็นการเลือดปฏิบัติ แบ่งแยกและกีดกันไม่ให้มีโอกาสได้รับการพัฒนาสถานะบุคคลและสิทธิขั้นพื้นฐาน 

ข้อเสนอแนะ

25. ขอให้รัฐบาลไทยจัดปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติการขอพิสูจน์สัญชาติ และสถานะบุคคลสำหรับเด็กที่เกิดใน ประเทศไทย และกำลังเรียนหนังสือ โดยให้สิทธิแก่นักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษาภาคบังคับ หรือในระดับอาชีวศึกษามีสิทธิขอสัญชาติและสถานะบุคคลตามมติ ค.ร.ม. 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้ 

26. ขอให้เด็กไร้สัญชาติ และเด็กนักเรียนรหัส G ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎร ตามมาตรา 38 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2551 ได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนาสถานะบุคคล

27. ขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการออกหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์สัญชาติ และสถานะบุคคล ให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยไร้สัญชาติ ที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x) โดยเร็ว โดยมอบหมายให้ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (ส.ม.ช.) ดำเนินการ 

28. ให้นายกรัฐมนตรีกระจายอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจ และพิจารณาอนุมัติการให้สถานะต่างด้าวถาวร หรือเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยแก่กลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยที่มีเลขประจำตัวเลข 6, 7 นำหน้าเลขประจำตัว 13 หลัก (6-xxxx-xxxxx-xx-x)  และลดขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการยื่นเอกสารคำร้อง และการพิจารณาอนุมัติการให้สถานะบุคคล

29. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างยั่งยืน รัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย ควรร่วมมือกันอย่างจริงในการจัดทำระบบฐานข้อมูลประชากรที่มีการอพยพระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศให้เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ     

ข้อเสนอแนะ

25. ขอให้รัฐบาลไทยจัดปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติการขอพิสูจน์สัญชาติ และสถานะบุคคลสำหรับเด็กที่เกิดในประเทศไทย และกำลังเรียนหนังสือ โดยให้สิทธิแก่นักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษาภาคบังคับ หรือในระดับอาชีวศึกษามีสิทธิขอสัญชาติ และสถานะบุคคลตามมติ ค.ร.ม. 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้  

26. ขอให้เด็กไร้สัญชาติ และเด็กนักเรียนรหัส G ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตาม มาตรา 38 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2551 ได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนาสถานะบุคคล

27. ขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการออกหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์สัญชาติ และสถานะบุคคล ให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยไร้สัญชาติ ที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x) โดยเร็ว โดยมอบหมายให้ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (ส.ม.ช.) ดำเนินการ  

28. ให้นายกรัฐมนตรีกระจายอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจ และพิจารณาอนุมัติการให้สถานะต่างด้าวถาวร หรือเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยแก่กลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยที่มีเลขประจำตัวเลข 6, 7 นำหน้าเลขประจำตัว 13 หลัก (6-xxxx-xxxxx-xx-x) และลดขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการยื่นเอกสารคำร้องและการพิจารณาอนุมัติการให้สถานะบุคคล

29. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างยั่งยืน รัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย ควรร่วมมือกันอย่างจริงในการจัดทำระบบฐานข้อมูลประชากรที่มีการอพยพระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศให้เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ      

ข้อ 5 (e) สิทธิพลเมืองอื่นๆ ข้อ iv สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข

– ตามที่ประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศมาตั้งแต่ปี 2545 ภายใต้ระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage, UC) ไม่เพียงทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังทำให้ประเทศไทยถูกยกเป็นต้นแบบประเทศกำลังพัฒนาที่ทำเรื่องนี้จนสำเร็จ มีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีจากตัวชี้วัดด้านต่างๆ แต่ สปสช. ปฏิเสธ และถอดสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขของชนเผ่า และกลุ่มชาติพันธุ์ไร้สัญชาติออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ด้วยเหตุผลเพียงแค่ไม่มีสัญชาติไทย ทำให้ไม่ได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐจนถึงปี พ.ศ. 2553

– ชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายหมอชายแดน ได้พยายามเรียกร้องสิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุให้แก่กลุ่มชนเผ่า และกลุ่มชาติพันธุ์คนไร้สัญชาติจากรัฐบาลโดยใช้ระยะเวลากว่า 8 ปีในการขับเคลื่อนเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนด้านสุขภาพ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 เพื่อให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะ และสิทธิ จำนวน 457,409 คน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ครั้งที่ 2 (เพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 เพื่อให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข แก่บุคคลไร้สัญชาติที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x) และรวมถึงบุตรเพิ่มเติมอีกจำนวน 208,631 คน

– มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 มีนาคม 2553 และ 20 เมษายน 2558 ไม่ได้ให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็กนักเรียนไร้สัญชาติในสถานศึกษาที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยอักษร G และนักเรียนในโรงเรียนรัฐสังกัดอื่น รวมถึงเด็กนักเรียนในศูนย์การเรียนต่าง ๆ กว่า 78,897 คน 1จำนวนเด็กนักเรียนในสถานศึกษา ประกอบด้วยเด็กนักเรียนที่มีรหัส G รหัส P และรหัส O ด้วยเหตุผลว่าเด็กเหล่านี้ขาดหลักฐาน ไม่ทราบจำนวน ข้อมูลซ้ำซ้อน จึงมอบหมายได้ให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ (ส.ม.ช.) เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันความถูกต้อง รับรองการขึ้นทะเบียน แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

34. ปัจจุบันผ่านมาแล้วกว่า 5 ปี รัฐบาลไทยยังไม่ได้ให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็กนักเรียนไร้สัญชาติ (รหัส G) และไม่มีการกำหนดระยะเวลาการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ด้านสาธารณสุขแก่เด็กเมื่อใด ทั้งที่เด็กนักเรียนดังกล่าวได้ผ่านการสำรวจคัดกรองข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎร และได้รับการกำหนดเลขประจำตัว 13 หลักจากกระทรวงมหาดไทยแล้วจำนวนหนึ่ง จึงเข้าคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 แต่ทำไมยังไม่คืนสิทธิ (ให้สิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็กนักเรียนเหล่านี้

35. เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิสุขภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติ ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยสิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็กนักเรียนไร้สัญชาติเหล่านี้ แค่ระหว่างเรียนหนังสือเท่านั้น ดังนั้นสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสารธารณสุขที่จะได้รับดังกล่าวจะหมดไปทันทีเมื่อเด็กนักเรียนสิ้นสุดสถานภาพความเป็นนักเรียนไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เช่น เมื่อสำเร็จการศึกษา สิ้นสภาพนักเรียน เป็นต้น แต่รัฐบาลไทยก็ยังไม่ยอมอนุมัติสิทธิด้านสุขแก่เด็กนักเรียนเหล่านี้     

36. กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะ และสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553  เป็นนโยบายฝ่ายบริหาร ใช้งบประมาณจากงบฉุกเฉินสำรองจ่ายของรัฐบาล ไม่ได้มีสถานะกองทุนในทางกฎหมาย จึงไม่มีมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองสิทธิ และการเยียวยากรณีเกิดความผิดพลาด เสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ (โรงพยาบาล) เหมือนกับกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 41 ที่ให้บริการช่วยเหลือกับคนสัญชาติไทยทุกคนกรณีได้รับความผิดพลาดในการรักษาพยาบาลจากหน่วยบริการ ซึ่งถือเป็นเลือกปฏิบัติในเรื่องความเท่าเทียม หรือใช้สองมาตรฐานกับประชาชนคนไทยที่รอพิสูจน์สัญชาติและสถานะบุคคล 

ข้อเสนอแนะ 

– เพื่อให้สิทธิความเท่าเทียม และขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติอย่างแท้จริงภายใต้ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage, UC)  ให้รัฐบาลไทยอนุมัติให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขตามที่กำหนดไว้ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟู และการควบคุมป้องกันโรคกับเด็กนักเรียนไร้สัญชาติที่กำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษา (เด็กนักเรียนรหัส G) และเด็กนักเรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 มาตรา 4 เช่น ศูนย์การเรียนขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับการจดทะเบียน ตาม พ.รบ. การศึกษา ดังกล่าว

– ควรให้บุคคลที่เป็นกลุ่มคนไทยที่กำลังรอพิสูจน์สถานะบุคคล และสัญชาติ หรือคนที่มีสิทธิอื่นที่เคยได้รับสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ได้แก่ คนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เป็นการเฉพาะ โดยการเพิ่มเติมในบทบัญญัติวรรคสุดท้ายของมาตรา 5 พ.รบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

  • 1
    จำนวนเด็กนักเรียนในสถานศึกษา ประกอบด้วยเด็กนักเรียนที่มีรหัส G รหัส P และรหัส O

TAG

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading