[:en]บทสัมภาษณ์: เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (Jasad)[:th]บทสัมภาษณ์: เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (Jasad)[:]

Share

[:en]

“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว” นายอับดุลเลาะ เงาะ หัวหน้ากลุ่มเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad) พูดประโยคนี้ด้วยน้ำเสียงแห่งอิสรภาพ หลังจากถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเมื่อปีพ.ศ. 2552 ก่อนจะเข้ามาเป็นผู้นำเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad)

Q: ที่มาก่อตั้งเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ

A: จุดเริ่มต้นมาจากเราถูกควบคุมตัวโดยทหาร 3 ครั้ง โดยพรก.ฉุกเฉินกฏหมายพิเศษ และระหว่างนั้นก็ถูกซ้อมทรมาน หลังจากถูกปล่อยจากควบคุมครั้งแรกปีพ.ศ. 2552 ก็พบกับคุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

               จนกระทั่งตนเองโดนควบคุมตัวครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2555 ทำให้เริ่มสนใจที่จะถอดบทเรียนว่าระหว่างที่โดนควบคุมตัว อะไรคือข้อเสียของกฏหมายพวกนี้ อะไรบ้างที่ละเมิด อะไรบ้างที่จะช่วยเหลือเคสเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเยียวยา ด้านกฏหมาย ในตอนนั้นเป็นแค่การวางแผนงานไว้เฉย ๆ

จนปีพ.ศ.2557 ครั้งที่ 3 ก็สัญญากับตัวเองว่าต้องทำโดยมีกลุ่มผู้ที่เคยถูกควบคุมตัว จึงเริ่มก่อตั้งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ เมื่อก่อนยังไม่มีออฟฟิศ ก็คอยส่งอาสาสมัครติดตามแต่ละเคสว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยแบ่งเป็นอาสาสมัครประจำออฟฟิศ 3 – 4 คนในวันทำการ แต่ละคนจะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษาเรื่องของกฏหมายพิเศษ และการเยียวยา ในสามข้อนี้เราสามารถดูแลกันได้

ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์ จะเป็นตนเองที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบพร้อมอาสาสมัครอีก 2 – 3 คน และที่เหลือจะเป็นอาสาสมัครจากครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ บางเคสคนในครอบครัวก็คุมตัวอยู่ในเรือนจำ ประจำที่สำนักงานอยู่ที่ 20 กว่าคน โดยการทำงานของ Jasad จะไม่เน้นการทำงานเชิงวิชาการมาก แต่จะเน้นที่การดูแลเยียวยาจิตใจ การให้ความรู้ตามที่อบรมมา

และอีกส่วนจะเป็นทีมที่ปรึกษา เป็นอดีตผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในเรือนจำ 10 – 11 ปี เขาจะมีประสบการณ์เยอะ เช่น ให้ความรู้ว่าครอบครัวควรเตรียมอะไรไว้บ้าง โดยทั้งสองส่วนต้องมีความรู้ภาคปฏิบัติที่แน่นมาก เพราะหากคนในพื้นที่ไม่แม่นเรื่องบาดแผล ก็จะส่งต่องานให้คนที่จะรวบรวมข้อมูลได้ตกหล่น ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นต้องทำควบคู่กันไปด้วย

Q: ผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลเรื่องคดีทางเครือข่ายติดต่อมาจากไหนบ้าง

A:  ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวและถูกปล่อยตัวออกมา คนที่ทำงานด้วยกันก็มีหน้าที่การงานด้านอื่นด้วย แต่ก็มาเป็นอาสาสมัคร เพราะเราก็ไม่ได้มีค่าตอบแทนอะไรให้เขา สิ่งที่ทำให้เขาอยากทำงานร่วมกับเราต่อไป เพราะความเข้าใจที่เคยถูกปฏิบัติไม่ถูกต้องมาก่อน และบางส่วนก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นปัญชาชน

Q: แบบนี้เราจะสามารถนิยามตนเองว่าเป็นเครือข่ายที่มีอาสาสมัครมีประสบการณ์ในถูกควบคุมมากที่สุดเลยได้หรือไม่

A: ตอนแนะนำตัวเครือข่ายก็พูดประมาณนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการถูกควบคุมตัว ซึ่งมันเหมือนจะตลกแต่ไม่เลย เราเข้าใจความรู้สึกว่าหากถูกคุมตัวแล้วเราไม่เห็นว่าญาติมาเยี่ยมมันรู้สึกอย่าง มันบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับเราเหมือนไม่ใช่มนุษย์ พาเราไปอยู่ในกระต๊อบคนเดียวกับเจ้าหน้าที่ ตอนเราได้ออกมาจากพื้นที่ตรงนั้นคือตอนครอบครัวมารับตัวกลับบ้าน

“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว”

เพราะเช่นนั้นในหลักสูตรของเราเนี่ยการใช้เราจะเน้นยำเรื่องการให้ญาติไปเยี่ยมทุกวัน ถึงแม้ว่าจะญาติจะไม่มีเงิน ก็ให้ประสานมา ทางเครือข่ายพร้อมสนับสนุน เพราะการที่เคสต้องถูกคุมขังคนเดียวมันกระทบกระเทือนจิตใจ นี่จึงเป็นขั้นตอนแรกและขั้นตอนสำคัญ

นอกจากนั้นยังเป็นการติดตามว่าในแต่ละวันเคสถูกเจ้าหน้าที่กระทำการรุนแรงอะไรบ้าง ผู้ติดตามเคสก็จะเอาหลักฐานพวกนี้ไปยื่นให้ศาลพิจารณา ถ้าเราไม่ติดตามในช่วงเวลานี้จะทำให้มีปัญหาตอนดำเนินคดีอาญา เพราะคดีความมั่นคงศาลไม่มีหลักฐาน จำเป็นและสำคัญมากที่เราต้องส่งอาสามสมัครติดตาม 1 คน/เคส

อีกทั้งยังมีเรื่องที่ตามมาอีกคือหลังจากผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวถูกปล่อย จะส่งผลกระทบหลังจากนั้นทั้งเรื่องหน้าที่การงาน สถานะทางสังคมที่ถูกมองให้เปลี่ยนไป ไหนจะเรื่องครอบครัวที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อมอีก เราก็ต้องยื่นมือเข้าไปดูแลและช่วยเหลือเขา จะประกันตัวแต่ละทีก็ลำบากไม่ใช่แค่เรื่องเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องอื่นด้วย คล้ายกับรัฐต้องการทำให้เห็นว่าหากเป็นปฏิปักษ์กับรัฐจะเจอกับอะไรบ้าง ถ้าไม่กล้าก็อยู่ลำบาก

Q: ตั้งแต่ทำงานด้านสิทธิมา คิดว่าอะไรที่เป็นเรื่องที่ทำให้เราขยับตัวลำบาก แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างใจมากที่สุด

A: อยากแก้ไขด่วนที่สุด ต้องเป็นเรื่องซ้อมทรมาน เพราะบางทีญาติมาบอกว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวถูกซ้อมทรมานจนสลบแล้วก็ฟื้น สลบแล้วก็ฟื้น เราก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะมีหลายขั้นตอนในการยื่นเรื่องร้องเรียน เราต้องไปหานักสิทธิ และยื่นเรื่องไปที่กรุงเทพฯ และต้องยื่นเรื่องเข้าค่ายทหารอีก กว่าจะได้พบบาดแผลก็หาย จนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าถูกซ้อมอย่างไร

และพอใครที่ฟ้องแบบไม่มีหลักฐานเช่นใบรับรองแพทย์ที่ระบุร่องรอยบาดแผล ทางกอ.รมน. ก็เข้ามาฟ้อง slapp (เป็นการฟ้องคดีโดยมีจุดมุ่งหมายให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริงต่อสาธารณะอ่อนแรงและเงียบลงไป) ปิดปากไม่ให้พูด

การซ้อมทรมานมันไม่มีวันหยุด มันจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ และมันไม่ได้เจ็บทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่มันเจ็บที่สภาพจิตใจด้วย

[:th]

“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว” นายอับดุลเลาะ เงาะ หัวหน้ากลุ่มเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad) พูดประโยคนี้ด้วยน้ำเสียงแห่งอิสรภาพ หลังจากถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเมื่อปี พ.ศ. 2552 ก่อนจะเข้ามาเป็นผู้นำเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ (Jasad)

Q: ที่มาก่อตั้งเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ

A: จุดเริ่มต้นมาจากเราถูกควบคุมตัวโดยทหาร 3 ครั้ง โดย พรก. ฉุกเฉินกฏหมายพิเศษ และระหว่างนั้นก็ถูกซ้อมทรมาน หลังจากถูกปล่อยจากควบคุมครั้งแรกปี พ.ศ. 2552 ก็พบกับคุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

จนกระทั่งตนเองโดนควบคุมตัวครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2555 ทำให้เริ่มสนใจที่จะถอดบทเรียนว่าระหว่างที่โดนควบคุมตัว อะไรคือข้อเสียของกฏหมายพวกนี้ อะไรบ้างที่ละเมิด อะไรบ้างที่จะช่วยเหลือเคสเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเยียวยา ด้านกฏหมาย ในตอนนั้นเป็นแค่การวางแผนงานไว้เฉย ๆ

จนปี พ.ศ. 2557 ครั้งที่ 3 ก็สัญญากับตัวเองว่าต้องทำโดยมีกลุ่มผู้ที่เคยถูกควบคุมตัว จึงเริ่มก่อตั้งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมายพิเศษ เมื่อก่อนยังไม่มีออฟฟิศ ก็คอยส่งอาสาสมัครติดตามแต่ละเคสว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยแบ่งเป็นอาสาสมัครประจำออฟฟิศ 3 – 4 คนในวันทำการ แต่ละคนจะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษาเรื่องของกฏหมายพิเศษ และการเยียวยา ในสามข้อนี้เราสามารถดูแลกันได้

ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์ จะเป็นตนเองที่เป็นฝ่ายรับผิดชอบพร้อมอาสาสมัครอีก 2 – 3 คน และที่เหลือจะเป็นอาสาสมัครจากครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ บางเคสคนในครอบครัวก็คุมตัวอยู่ในเรือนจำ ประจำที่สำนักงานอยู่ที่ 20 กว่าคน โดยการทำงานของ Jasad จะไม่เน้นการทำงานเชิงวิชาการมาก แต่จะเน้นที่การดูแลเยียวยาจิตใจ การให้ความรู้ตามที่อบรมมา

และอีกส่วนจะเป็นทีมที่ปรึกษา เป็นอดีตผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในเรือนจำ 10 – 11 ปี เขาจะมีประสบการณ์เยอะ เช่น ให้ความรู้ว่าครอบครัวควรเตรียมอะไรไว้บ้าง โดยทั้งสองส่วนต้องมีความรู้ภาคปฏิบัติที่แน่นมาก เพราะหากคนในพื้นที่ไม่แม่นเรื่องบาดแผล ก็จะส่งต่องานให้คนที่จะรวบรวมข้อมูลได้ตกหล่น ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นต้องทำควบคู่กันไปด้วย

Q: ผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลเรื่องคดีทางเครือข่ายติดต่อมาจากไหนบ้าง?

A:  ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวและถูกปล่อยตัวออกมา คนที่ทำงานด้วยกันก็มีหน้าที่การงานด้านอื่นด้วย แต่ก็มาเป็นอาสาสมัคร เพราะเราก็ไม่ได้มีค่าตอบแทนอะไรให้เขา สิ่งที่ทำให้เขาอยากทำงานร่วมกับเราต่อไป เพราะความเข้าใจที่เคยถูกปฏิบัติไม่ถูกต้องมาก่อน และบางส่วนก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นปัญชาชน

Q: แบบนี้เราจะสามารถนิยามตนเองว่าเป็นเครือข่ายที่มีอาสาสมัครมีประสบการณ์ในถูกควบคุมมากที่สุดเลยได้หรือไม่

A: ตอนแนะนำตัวเครือข่ายก็พูดประมาณนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการถูกควบคุมตัว ซึ่งมันเหมือนจะตลกแต่ไม่เลย เราเข้าใจความรู้สึกว่าหากถูกคุมตัวแล้วเราไม่เห็นว่าญาติมาเยี่ยมมันรู้สึกอย่าง มันบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับเราเหมือนไม่ใช่มนุษย์ พาเราไปอยู่ในกระต๊อบคนเดียวกับเจ้าหน้าที่ ตอนเราได้ออกมาจากพื้นที่ตรงนั้นคือตอนครอบครัวมารับตัวกลับบ้าน

“ตอนที่ลมปะทะผิวหน้า หันไปเห็นต้นไม้สีเขียวทางที่จะกลับบ้าน มันเหมือนฝันไปว่าเราได้กลับบ้านแล้ว”

เพราะเช่นนั้นในหลักสูตรของเราเนี่ยการใช้เราจะเน้นยำเรื่องการให้ญาติไปเยี่ยมทุกวัน ถึงแม้ว่าจะญาติจะไม่มีเงิน ก็ให้ประสานมา ทางเครือข่ายพร้อมสนับสนุน เพราะการที่เคสต้องถูกคุมขังคนเดียวมันกระทบกระเทือนจิตใจ นี่จึงเป็นขั้นตอนแรกและขั้นตอนสำคัญ

นอกจากนั้นยังเป็นการติดตามว่าในแต่ละวันเคสถูกเจ้าหน้าที่กระทำการรุนแรงอะไรบ้าง ผู้ติดตามเคสก็จะเอาหลักฐานพวกนี้ไปยื่นให้ศาลพิจารณา ถ้าเราไม่ติดตามในช่วงเวลานี้จะทำให้มีปัญหาตอนดำเนินคดีอาญา เพราะคดีความมั่นคงศาลไม่มีหลักฐาน จำเป็นและสำคัญมากที่เราต้องส่งอาสามสมัครติดตาม 1 คน/เคส

อีกทั้งยังมีเรื่องที่ตามมาอีกคือหลังจากผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวถูกปล่อย จะส่งผลกระทบหลังจากนั้นทั้งเรื่องหน้าที่การงาน สถานะทางสังคมที่ถูกมองให้เปลี่ยนไป ไหนจะเรื่องครอบครัวที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อมอีก เราก็ต้องยื่นมือเข้าไปดูแลและช่วยเหลือเขา จะประกันตัวแต่ละทีก็ลำบากไม่ใช่แค่เรื่องเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องอื่นด้วย คล้ายกับรัฐต้องการทำให้เห็นว่าหากเป็นปฏิปักษ์กับรัฐจะเจอกับอะไรบ้าง ถ้าไม่กล้าก็อยู่ลำบาก

Q: ตั้งแต่ทำงานด้านสิทธิมา คิดว่าอะไรที่เป็นเรื่องที่ทำให้เราขยับตัวลำบาก แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างใจมากที่สุด

A: อยากแก้ไขด่วนที่สุด ต้องเป็นเรื่องซ้อมทรมาน เพราะบางทีญาติมาบอกว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวถูกซ้อมทรมานจนสลบแล้วก็ฟื้น สลบแล้วก็ฟื้น เราก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะมีหลายขั้นตอนในการยื่นเรื่องร้องเรียน เราต้องไปหานักสิทธิ และยื่นเรื่องไปที่กรุงเทพฯ และต้องยื่นเรื่องเข้าค่ายทหารอีก กว่าจะได้พบบาดแผลก็หาย จนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าถูกซ้อมอย่างไร

และพอใครที่ฟ้องแบบไม่มีหลักฐานเช่นใบรับรองแพทย์ที่ระบุร่องรอยบาดแผล ทาง กอ.รมน. ก็เข้ามาฟ้อง slapp (เป็นการฟ้องคดีโดยมีจุดมุ่งหมายให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริงต่อสาธารณะอ่อนแรงและเงียบลงไป) ปิดปากไม่ให้พูด

การซ้อมทรมานมันไม่มีวันหยุด มันจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ และมันไม่ได้เจ็บทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่มันเจ็บที่สภาพจิตใจด้วย

[:]

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading