10 สาระสำคัญ ร่าง พรบ. อุ้มหายฯ ฉบับกรรมาธิการกฎหมายฯ

Share

สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … ฉบับกรรมาธิการการกฎหมายฯ

บทนิยาม
๑. การทรมาน หมายความว่า การกระทําโดยเจตนาไม่ว่าด้วยประการใดอันก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือ ความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่กายหรือจิตใจต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อวัตถุประสงค์ เช่น (๑) ให้ได้มาซึ่งข้อมูล หรือคํารับสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม (๒) ลงโทษบุคคลนั้นสําหรับการกระทําซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่ สามได้กระทําหรือถูกสงสัยว่าได้กระทํา (๓) ข่มขู่หรือขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม หรือ (๔) เพราะเหตุผลอื่นใด บนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติไม่ว่ารูปแบบใด ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอันเป็นผลปกติ จาก หรือสืบเนื่องจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย

๒. การกระทําที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” หมายความว่า การกระทําโดย เจตนาไม่ว่าด้วยประการใดอันก่อให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มิใช่การทรมาน ทั้งนี้ไม่ รวมถึงอันตรายอันเป็นผลปกติจาก หรือสืบเนื่องจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย

๓. ควบคุมตัว หมายความรวมถึง การจับ คุม ยัง ลักพา กักตัว คุมขัง กักขัง เรียกตัว หรือเชิญตัว บุคคลไปสอบถามหรือซักถาม หรือกระทําด้วยประการอื่นใดในทํานองเดียวกันอันเป็นการจํากัดเสรีภาพใน ร่างกาย

๔. การกระทําให้บุคคลสูญหาย หมายความว่า การควบคุมตัวหรือการกระทําด้วยประการใด โดยเจ้าหน้าที่ ของรัฐ หรือโดยบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับคําสั่ง การสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และได้มี การปฏิเสธว่ามิได้กระทําการดังกล่าว หรือปกปิตชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลนั้น หรือกระทําด้วยประการอื่นใด ในทํานองเดียวกัน

หมวด ๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
๑. กําหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย คณะหนึ่ง ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบ

๒. กําหนดให้คณะกรรมการสรรหากรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธาน โดยตําแหน่ง อัยการสูงสุด ผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยและมีการดําเนินกิจการเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ในทาง การเมืองหรือมุ่งค้าหากําไรจากการดําเนินกิจการดังกล่าวแห่งละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน ผู้แทน พรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือเก้าคน โดยมาจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจํานวนสี่คน และพรรคการเมืองฝ่ายค้านจํานวนห้าคน ผู้แทนสื่อมวลชน ในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเลือกกันเองกิจการละหนึ่งคนรวมเป็นสามคน และให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นเลขานุการ และให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาบุคคลที่ เหมาะสมจะเป็นกรรมการ จํานวนสิบคน โดยต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกเพศเสนอต่อประธานสภา ผู้แทนราษฎร โดยเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงให้ เห็นว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ที่เหมาะสมกับการเป็นกรรมการ และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา ๗ ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทําให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว เพื่อเสนอ ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งมติในการเสนอชื่อต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการสรร หาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ซึ่งถือเป็นกลไกสนับสนุนช่วยเหลือให้ผู้ได้รับความเสียหายได้รับความเป็นธรรม ผ่านการ ช่วยเหลือทางกฎหมายเพื่อติดตามตรวจสอบและนําตัวผู้ที่เกี่ยวข้องมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และมาตรการชดเชยฟื้นฟูและเยียวยาความเสียหายทางร่างกาย จิตใจและสังคม และการป้องกันไม่ให้การ ละเมิดเกิดขึ้นซ้ําอีก เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศ

หมวด ๒ การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย

ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
๑. กําหนดกรอบแนวคิดของการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายในหมวด ๑ บททั่วไป เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งฝ่ายบริหาร ตุลาการและนิติบัญญัติ (มาตรา ๓๖) และยืนยันหลักการที่รัฐจะต้องคุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคลโดยไม่เลือกปฏิบัติ การทรมาน การ กระทําหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี และการกระทําให้บุคคลสูญหายจะ กระทํามิได้ ซึ่งหมายรวมถึงรัฐต้องดําเนินมาตรการป้องกันและปราบปรามอย่างมีประสิทธิผล ชดเชย เยียวยา เพื่อคืนความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียหาย และสุดท้ายรัฐต้องดําเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดขึ้นซ้ําอีก (มาตรา ๑๗)

๒. กําหนดบทบาทองค์กรฝ่ายตุลาการในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อํานาจโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีคําสั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทําซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเช่นว่านั้นทันที และศาลยังมีอํานาจหน้าที่กําหนดวิธีการตามสมควรเพื่อคุ้มครอง ชดเชยและเยียวยาความเสียหายที่ เกิดขึ้นผ่านการสนับสนุนช่วยเหลือจากคณะกรรมการ

ส่วนที่ ๒ การปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
๑. กําหนดความผิดฐานกระทําทรมาน (มาตรา ๑๘) ฐานกระทําให้บุคคลสูญหาย (มาตรา ๒๙) ฐานกระทําในลักษณะที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี (มาตรา ๒๐) รวมทั้งเหตุเพิ่มโทษ (มาตรา ๒๑) ความรับผิดของผู้สมคบ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน (มาตรา ๒๒) ความรับผิดของผู้บังคับบัญชา (มาตรา ๒๓) เหตุลดโทษจากการให้ความช่วยเหลือร่วมมือ (มาตรา ๒๔) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสากลของอนุสัญญาฯ

๒. กําหนดและยืนยันหลักการในเรื่องหลักความรับผิดสากล (Universal jurisdiction) (มาตรา ๒๕)
หลักกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา (มาตรา ๒๖) หลักสิทธิเด็ดขาด (Non-derogation) (มาตรา ๒๗) หลักการไม่ส่งตัวกลับไปเผชิญอันตราย (Non-refoulement) (มาตรา ๒๘) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสากล (ของอนุสัญญาฯ) และเป็น หลักประกันในการป้องปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายที่มีประสิทธิผล

ส่วนที่ ๓ การป้องกันการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
๑. กําหนดให้ผู้มีหน้าที่ควบคุมตัวบุคคลต้องให้สิทธิของผู้ถูกควบคุมตัวและได้รับแจ้งสิทธิ โดยให้รับทราบถึงข้อมูลที่จําเป็น สามารถติดต่อกับญาติหรือบุคคลที่ผู้ถูกควบคุมตัวไว้วางใจ สามารถพบและปรึกษา ทนายความ ได้รับการตรวจร่างกายและรักษาพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องมีการจัดทําบันทึกเกี่ยวกับ การควบคุมตัวโดยมีรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการที่กฎหมายกําหนดเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถ ตรวจสอบได้ (มาตรา ๒๙) กําหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องแจ้งการควบคุมต่อนายอําเภอ และพนักงานอัยการแห่งท้องที่ที่ (มาตรา ๓๐) กําหนดให้ญาติหรือบุคคลเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกควบคุมตัว คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีสิทธิร้องขอให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมตัวได้ หากถูกปฏิเสธ ในการให้ข้อมูล ให้ศาลอาญาในท้องที่ที่มีเขตอํานาจสั่งให้เปิดเผยข้อมูลได้ (มาตรา ๒๕ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑)

๒. กําหนดให้ศาลยุติธรรมเป็นกลไกสําคัญในการตรวจสอบการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐอัน กระทบกระเทือนต่อเสรีภาพในร่างกายของบุคคล เพื่อสร้างระบบความพร้อมรับผิด (accountability) และลบ ล้างวัฒนธรรมปล่อยให้คนผิดลอยนวล (impunity) กําหนดให้ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน คดีพิเศษ พนักงานฝ่ายปกครอง คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูก ควบคุมตัว มีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลอาญาหรือศาลยุติธรรมให้ยุติการกระทําผิดตามกฎหมายนี้ได้ (มาตรา ๓๓)

๓. คําสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลต้องเป็นกรณีที่ศาลได้เรียกผู้ถูกควบคุมตัวมาสอบถามต่อหน้าศาลแล้วและมี เหตุยกเว้นให้ไม่เปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกําหนด (มาตรา ๓๒) กําหนดให้ศาลอาญาแห่งท้องที่มีอํานาจ ตรวจสอบการใช้อํานาจควบคุมตัวว่าชอบหรือปรากฏข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมาน (มาตรา ๓๔) โดย ดําเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวและมีคําสั่งเพื่อให้ยุติการกระทําที่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้และกําหนดมาตรการที่ เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน และฟื้นฟูเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการสนับสนุน ช่วยเหลือจากคณะกรรมการ (มาตรา ๓๕)

๔. กําหนดบทต้องห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาเนื่องจากการ กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญารับรองหลักต้องห้าม รับฟังพยานหลักฐาน แต่ก็ยังคงเปิดช่องให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้ ซึ่งขัดต่อหลักการของอนุสัญญาที่ไม่ ประสงค์ให้รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาเนื่องจากการทรมาน (มาตรา ๓๗) กําหนดให้ผู้ใดพบเห็นหรือทราบการทรมานต้องแจ้งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือพนักงานสอบสวน คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการฯ โดยไม่ ชักช้า โดยคุ้มครองผู้แจ้งและผู้ใช้สิทธิร้องเรียนโดยสุจริตเพื่อป้องกันไม่ให้ต้องแบกรับภาระจากการถูกกลั่น แกล้งดําเนินคดี (มาตรา ๓๘)

หมวด ๓ การดําเนินคดี
๑. รับรองความเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพื่อให้สามี ภริยา คู่ชีวิต ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน และผู้อยู่ในอุปการะ ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้รับทราบความเป็นจริง และ เข้าถึงความเป็นธรรมได้ (มาตรา ๔๐) ประกอบมาตรา ๔ นิยามผู้เสียหาย

๒. กําหนดเรื่องการนับอายุความ โดยให้การกระทําความผิดฐานกระทําให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดต่อเนื่อง ตลอดเวลาจนกว่าจะเปิดเผยชะตากรรมหรือปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัว และการสืบสวนสอบสวนต้อง ดําเนินการอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะพบบุคคลที่ถูกกระทําให้สูญหายหรือปรากฏหลักฐานน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นถึง แก่ความตาย

๓. กําหนดให้ความผิดฐานกระทําให้บุคคลสูญหายและฐานกระทําทรมานให้ไม่มีอายุความ (มาตรา ๔๓, มาตรา ๔๒)

๔. กําหนดให้พนักงานอัยการมีอํานาจสอบสวนดําเนินคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และการดําเนินคดี ตามพรบ.นี้ไม่ให้การดําเนินคดีต้องอยู่ในอํานาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (มาตรา ๔๓)

๕. กําหนดเรื่องการสั่งคดี และชี้ขาดกรณีมีคําสั่งไม่ฟ้องคดีโดยให้เป็นอํานาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด (มาตรา ๔๔)

๖. กําหนดรับรองสิทธิของผู้ได้รับความเสียหายให้ได้รับทราบถึงผลความคืบหน้าของคดีอย่างต่อเนื่อง โดย คณะกรรมการมีหน้าที่ร่วมติดตามความคืบหน้าของคดี และดําเนินมาตรการเพื่อคุ้มครองเสรีภาพและความ ปลอดภัย ชดเชยและฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายทางร่างกายและจิตใจ ให้คําปรึกษาด้านกฎหมายและ ช่วยเหลือด้านการดําเนินคดี เพื่อให้เป็นกลไกสําคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือและชดเชยฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับ ความเสียหายให้ได้รับความเป็นธรรม (มาตรา ๔๕) เมื่อศาลมีคําพิพากษาถึงที่กําหนดให้พนักงานอัยการ ร่วมกับคณะกรรมการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทําความผิดให้แก่ผู้ได้รับความเสียหาย (มาตรา ๔๖)

๗. กําหนดอย่างชัดแจ้งให้ศาลที่มีเขตอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดตามพระราชบัญญัติอยู่ในเขต อํานาจการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (มาตรา ๔๓) 

หมวด ๔ บทกําหนดโทษ
๑. ยืนยันหลักการกําหนดอัตราโทษที่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิดกําหนดอัตราโทษที่ได้สัดส่วนกับ ความร้ายแรงของความผิด (มาตรา ๔๕, มาตรา ๕๐) และกําหนดความผิดและโทษเพื่อประสิทธิผลในการป้อง ปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายกรณีเจ้าหน้าที่รัฐไม่ดําเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูก ควบคุมตัวโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (มาตรา ๕๓)

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download Thai/English version [11.97 MB]

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [130.90 KB]

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading