[:en]แถลงการณ์: เรื่อง ขอให้ทบทวนโครงการ “จะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้า”[:th]แถลงการณ์: เรื่อง ขอให้ทบทวนโครงการ “จะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้า”[:]

Share

[:en]

ตามที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 อนุมัติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ หรือโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต โดยใช้พื้นที่ชายทะเล อำเภอจะนะ จ.สงขลา เป็นสถานที่ตั้งนิคมกว่าหมื่นไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อาศัยของประชาชนและเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งทำมาหากิจของประมงพื้นบ้าน โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการให้เกิดโครงการนี้

แต่การดำเนินการผลักดันโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ของ ศอ.บต.ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน กระทบต่ออาชีพ อย่างรุนแรง ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่คัดค้านโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ได้ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อให้ยกเลิกโครงการนี้ และขอให้เลื่อนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น      ที่ ศอ.บต.จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ที่โรงเรียนจะนะวิทยา อ.จะนะ จ.สงขลา ออกไปก่อน

จากเหตุดังกล่าวข้างต้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) และองค์กรข้างท้ายแถลงการณ์นี้   มีข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้

  1. ให้มีการทบทวนโครงการนี้ โดยการยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 เนื่องจากเป็นมติที่อนุมัติโดยรัฐบาล คสช.โดยขาดข้อมูลทางวิชาการ และไม่ได้ฟังเสียงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการมาก่อน
  2. ศอ.บต.ควรแสดงบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุข ลดปัญหาความขัดแย้ง มิใช่เป็นผู้ดำเนินโครงการที่สร้างความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ โดยบทบาทของ ศอ.บต. ต้องเป็นกลาง ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่มาทำหน้าที่แทนกลุ่มธุรกิจ และต้องไม่เป็นผู้สร้างความขัดแย้งเสียเอง
  3. สร้างกลไกกระบวนการมีส่วนร่วมให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันก่อนที่จะมีการอนุมัติโครงการ โดยมีสัดส่วนของนักวิชาการ ภาคประชาสังคมที่หลากหลาย โดย ศอ.บต.ต้องเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนกระบวนการดังกล่าวเท่านั้น
  4. รัฐบาลต้องเคารพสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน วิถีชีวิตรวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง
  5. รัฐบาลต้องให้ความคุ้มครองผู้ชุมนุมโดยสงบ และต้องให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐยุติการสนับสนุนกลุ่มผู้สนับสนุนโครงการที่ใช้พฤติกรรม ข่มขู่ คุกคามนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และประชาชนหรือบุคคลอื่นใดที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้

                                                  สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

                                                  มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.)

                                                  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม(CrCF)

                                                  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(สนส.)

10 กรกฎาคม 2563

[:th]

ตามที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 อนุมัติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ หรือโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต โดยใช้พื้นที่ชายทะเล อำเภอจะนะ จ.สงขลา เป็นสถานที่ตั้งนิคมกว่าหมื่นไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อาศัยของประชาชนและเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งทำมาหากิจของประมงพื้นบ้าน โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการให้เกิดโครงการนี้

แต่การดำเนินการผลักดันโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ของ ศอ.บต.ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน กระทบต่ออาชีพ อย่างรุนแรง ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่คัดค้านโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ได้ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อให้ยกเลิกโครงการนี้ และขอให้เลื่อนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น      ที่ ศอ.บต.จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ที่โรงเรียนจะนะวิทยา อ.จะนะ จ.สงขลา ออกไปก่อน

จากเหตุดังกล่าวข้างต้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) และองค์กรข้างท้ายแถลงการณ์นี้   มีข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้

  1. ให้มีการทบทวนโครงการนี้ โดยการยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 เนื่องจากเป็นมติที่อนุมัติโดยรัฐบาล คสช.โดยขาดข้อมูลทางวิชาการ และไม่ได้ฟังเสียงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการมาก่อน
  2. ศอ.บต.ควรแสดงบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุข ลดปัญหาความขัดแย้ง มิใช่เป็นผู้ดำเนินโครงการที่สร้างความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ โดยบทบาทของ ศอ.บต. ต้องเป็นกลาง ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่มาทำหน้าที่แทนกลุ่มธุรกิจ และต้องไม่เป็นผู้สร้างความขัดแย้งเสียเอง
  3. สร้างกลไกกระบวนการมีส่วนร่วมให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันก่อนที่จะมีการอนุมัติโครงการ โดยมีสัดส่วนของนักวิชาการ ภาคประชาสังคมที่หลากหลาย โดย ศอ.บต.ต้องเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนกระบวนการดังกล่าวเท่านั้น
  4. รัฐบาลต้องเคารพสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน วิถีชีวิตรวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง
  5. รัฐบาลต้องให้ความคุ้มครองผู้ชุมนุมโดยสงบ และต้องให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐยุติการสนับสนุนกลุ่มผู้สนับสนุนโครงการที่ใช้พฤติกรรม ข่มขู่ คุกคามนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และประชาชนหรือบุคคลอื่นใดที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้

                                                  สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

                                                  มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.)

                                                  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม(CrCF)

                                                  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(สนส.)

10 กรกฎาคม 2563

[:]

TAG

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading