ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามชั้นต้น ไม่รับคําร้องให้เพิกถอนคําสั่งไต่สวนการตายกรณีตากใบ

Share

วันนี้ 8 มิ.ย. 55 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดอ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ใน กรณีญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ตากใบจํานวน 34 คน ยื่นคําร้องต่อศาลอาญาให้เพิกถอนคําสั่งไต่สวนการตายของศาลจังหวัดสงขลา เนื่องจากเห็นว่าเป็นคําสั่งที่ ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

และศาลอาญามีคําสั่งไม่รับคําร้อง ผู้ร้องจึงได้อุทธรณ์คําสั่ง ของศาลอาญา โดยศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่า “ศาลอุทธรณ์ตรวจสํานวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัย ตามอุทธรณ์ว่า ศาลอาญามีอํานาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ เห็นว่าศาลจังหวัดสงขลารับคดีไว้ และทําการพิจารณา พิพากษาไปแล้ว นางสาวมัสตะกับพวกจึงมาคําร้องต่อศาลอาญา

ซึ่งกรณีเช่นนี้ศาลอาญาจึงไม่อาจรับคดีไว้ พิจารณาได้อีก เป็นการต้องห้ามตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่ศาลอาญามีคําสั่งไม่รับคํา ร้อง ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของนางสาวมัสตะ กับพวกรวม 34 คน ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน “

คดีนี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ศาลจังหวัดสงขลาได้มีคําสั่งในคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพหรือคดีได้ สวนการตายกรณีผู้เสียชีวิตในระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสถานีตํารวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงค ยุทธบริหาร อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจํานวน 78 คน

โดยศาลจังหวัดสงขลาได้มีคําสั่งว่า ผู้ตาย ทั้ง 78 คน เสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจ ในระหว่างอยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ญาติผู้เสียชีวิตเห็นว่าคําสั่งดังกล่าวเป็นคําสั่งที่ไม่เป็นไปโดยถูกต้อง และไม่เป็นธรรม ตามรัฐนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย ม. 3, 27, 28, 32, 197 กติการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 2, 6, 7, 14 และไม่

ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา ม.150 เนื่องจากหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติ ธรรม และคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

แต่กรณี ผู้เสียชีวิตในระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ตากใบนี้ เมื่อรับฟังจากคําให้การพยานในคดีแล้ว เห็นว่า การปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าพนักงานเป็นไปโดยไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ญาติผู้เสียชีวิตจํานวน 34 คน จึง ได้ยื่นคําร้องขอเพิกถอนคําสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาลจังหวัดสงขลา ต่อศาลอาญา โดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

ซึ่งศาลอาญามีเขตอํานาจทั่วอาณาจักร เนื่องจาก กฎหมายกําหนดให้คําสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพถึงที่สุด จึงไม่อาจอุทธรณ์ คําสั่งของศาลจังหวัดสงขลาต่อศาลอุทธรณ์ได้

ต่อมา ศาลอาญามีคําสั่งไม่รับคําร้องขอเพิกถอนคําสั่งไต่สวนชันสูตร เนื่องจากเห็นว่าศาลอาญาและศาลจังหวัด สงขลาเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นด้วยกัน เมื่อคดีศาลสงขลารับคดีไว้พิจารณาแล้ว ศาลอาญาจึงไม่อาจพิจารณาได้อีก ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ญาติผู้เสียชีวิตดังกล่าวจึงได้อุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องของศาลอาญาต่อศาลอุทธรณ์ จึงได้มีการค้า พิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
– รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ 081-4394938
– ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ 083-1896598

Appeal Court order:

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [373.75 KB]

ใบแจ้งข่าว 

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [113.24 KB]

Press Release

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [160.21 KB]

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading