Chulalongkorn University’s Center for Peace and Conflict Studies, Mahidol University’s Institute of Human Rights and Peace Studies, Deep South Watch/CSCD, and the Cross-Cultural Foundation will co-host a roundtable discussion and consultation to produce a new body of knowledge that responds to the current need for solution to the increasing expansion of violence from the SBPs. ThisContinue reading “Discussion “Peace in Thailand’s Deep South Border: The Potential Expansion of Violence and Outsiders’ Role in the Peace Process””
Category Archives: Events
เสวนาโต๊ะกลม เรื่อง สันติภาพจชต.: โอกาสการขยายตัวของความรุนแรงและบทบาท
ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล Deep South Watch และมูลนิธิผสานวัฒนรรม จึงเห็นว่าการจัดระดมความคิดและสร้างองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองต่อปรากฎการณ์ความรุนแรง เพื่อเน้นย้ำแนวทางสันติวิธีและการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจึงจะจัดให้มีเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง สันติภาพจชต.: โอกาสการขยายตัวของความรุนแรงและบทบาทคนนอก ในวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2562 ในเวลา 9.00- 13.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.)ทบทวนแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบและความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ ในระดับนโยบาย แนวคิด และการปฏิบัติในพื้นที่ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ของการพูดคุยสันคิภาพและบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ จากหลายมุมมอง ทั้งทางด้านสันติภาพ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการเมือง รวมทั้งจากผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม 2) ระดมข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล พรรคการเมือง ภาคประชาสังคม งานวิจัยและวิชาการ รวมทั้งฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานราชการทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ และ 3)เผยแพร่ความคิดความเห็นที่รอบด้านในเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อสื่อมวลชนและสาธารณะชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มบทบาทของประชากรในประเทศไทยทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันการแก้ไขความขัดแย้ง แนวทางสันติวิธี ผู้จัดฯ ขอเรียนเชิญท่านหรือตัวแทนเข้าร่วมในงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง สันติภาพจชต.: โอกาสการขยายตัวของความรุนแรงและบทบาทคนนอก ในวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2562 ในเวลา 9.00- 13.00 น.ห้องจุมภฏ-พันธ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่ากับผลกระทบต่อคนจน : กรณีอุทยานแห่งชาติไทรทอง
บันทึกสรุป : งานเปิดตัวหนังสือ “ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน” และ งานเสวนา: ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมกะเหรี่ยงใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียนแก่งกระจานเป็นมรดกโลก วันที่ 3 กรกฎาคม 2562 ณ สถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 อาคารวิศิษฐ์-ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับ “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร” และ “สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย” ได้ร่วมมือกันดำเนินการจัดกิจกรรม”งานเปิดตัวหนังสือ : ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน และงานเสวนาวิชาการ : ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมกะเหรี่ยงใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียนแก่งกระจานเป็นมรดกโลก” เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจในเรื่องนี้ และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงพันธกรณีและหน้าที่ของรัฐไทยในการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง โดยใช้กรณีของชาวกะเหรียงซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในกลุ่มผืนป่าแก่งกระจานเป็นสาระในการนำเสนอและพูดคุย การเปิดตัวหนังสือ “ใจแผ่นดิน” ดำเนินรายการโดยคุณสมศรี หาญอนันทสุข กรรมการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม หนังสือที่บันทึกเรื่องราวของชาวกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องประสบกับการถูกบังคับโยกย้าย จากบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ในผืนป่าแก่งกระจาน สูญเสียที่ดิน บ้าน ยุ้งฉาง ไร่นา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ เพื่อให้ทางการไทยเสนอต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ขอขึ้นทะเบียนผืยป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวเปิดงานว่า “ใจแผ่นดิน” เป็นพื้นที่ที่ไกลที่สุดของประเทศไทย เดินเท้าใช้เวลา 4-5 วันจากพื้นที่ที่รถเข้าถึง อยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานป่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คนที่อาศัยอยู่ที่ใจแผ่นดินนี้ไม่ได้ติดต่อกับภายนอกเท่าไหร่นัก แม้จะมีสัญชาติไทยแต่คนที่อยู่บริเวณดังกล่าวติดต่อคนภายนอกน้อยมาก คนเหล่านี้กลับถูกกระทำรุนแรง บ้านเรือนเป็นร้อยหลังคาเรือนจะถูกเจ้าหน้าที่เผาบ้าน เผาทรัพย์สิน แผนที่ของกรมแผนที่ทหารที่ทำการสำรวจไว้เมื่อปี 2455 ระบุชื่อหมู่บ้านใจแผ่นดินไว้อย่างชัดเจน และปรากฏบนแผนที่ฉบับอื่นๆ มาโดยตลอดContinue reading “บันทึกสรุป : งานเปิดตัวหนังสือ “ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน” และ งานเสวนา: ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมกะเหรี่ยงใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียนแก่งกระจานเป็นมรดกโลก วันที่ 3 กรกฎาคม 2562 ณ สถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 อาคารวิศิษฐ์-ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
Cross Cultural Foundation BLOG : #Thedisappered2019_Mr.Den Kamlae
Mr. Den Kamlae Mr. Den Kamlae Mr. Den Kamlae was born on 7 August 1951 at Baan Tasee in Nong Saeng Sub-District, Kumpawapee District, Udorn Thani Province. Between 16 April 2016 to 24 March 2017, Mr. Den had disappeared from a forest close to his home in Khok Yao community, Tung Lui Lai Sub-District,Continue reading “Cross Cultural Foundation BLOG : #Thedisappered2019_Mr.Den Kamlae”