Open Letter to AICHR The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) 299 Khuen Thani Road Nai Muang, Muang District Ubon Ratchathani THAILAND 4 Oct 2020 Subj: Requesting to protect human rights of the peoples of ASEAN particularly under Articles 11 of the ASEAN Human Rights Declaration, with regards to Mr. WanchalearmContinue reading “Open Letter to AICHR: Requesting to protect human rights of the peoples of ASEAN with regards to Mr. Wanchalearm Satsaksit’s abduction and enforced disappearance in Cambodia on June 4, 2020”
Category Archives: Blog
จดหมายเปิดผนึก:องค์กรภาคประชาสังคมด้านเด็กและสตรี จังหวัดชายแดนใต้ ขอให้ศอบต.ยุตินิคมอุตสาหกรรมและการดำเนินการใดใดในพื้นที่อำเภอจะนะและพื้นที่ใกล้เคียงที่จะส่งผลกระทบต่อผู้หญิงเด็กและชุมชน
จดหมายเปิดผนึก วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เรื่อง ขอให้คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์และสร้างการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองปกป้องสตรีและเด็กที่จะได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมจะนะอย่างเร่งด่วน เรียน เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร สำเนาส่งถึง 1. ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 ที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาเปลี่ยนแปลงผังเมืองอำเภอจะนะ จากสีเขียวให้เป็นสีม่วงเพื่อเปิดพื้นที่ให้ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงผังเมือง 3 ตำบล คือ ต.นาทับ ต.สะกอม ต.ตลิ่งชัน เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นในจำนวนหนึ่งมีนักกิจกรรมสตรีจำนวนหลายคนร่วมด้วยได้เดินทางมายื่นหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แจ้งแก่เครือข่ายฯ ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อยู่ ทางเครือข่ายฯ จึงได้ยื่นข้อเสนอให้เจ้าหน้าที่ว่า ขอให้ส่งประธานการจัดประชุมกรรมการที่ปรึกษาเปลี่ยนแปลงผังเมือง ลงมารับหนังสือแทนก็ได้ แต่ปรากฏว่า ไม่มีใครมารับหนังสือ และต่อมาได้มีข่าวยืนยันวันที่ประชุมดังกล่าวได้อนุมัติข้อเสนอให้เปลี่ยนผังเมืองอำเภอจะนะจากพื้นที่เกษตรกรรม (สีเขียว) เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม (สีม่วง) โดยขาดการตระหนักถึงผลกระทบและการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะจากผู้หญิง ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นเชื่อได้ว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายดังกล่าว รายนามบุคคลและองค์กรที่แนบท้ายมานี้ มีความเห็นว่า การดำเนินการศอบต.ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะยังขาดการการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองปกป้องสตรีและเด็กที่จะได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมจะนะ และจะส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสตรีและเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นแนวทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้หญิงและเด็กมักตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาและความไม่เป็นธรรมจากนโยบายและการดำเนินการทางธุรกิจพลังงานที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาสังคมและบุคคลตามหลายนามนี้มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อปกป้อง คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ การฟื้นฟูเยียวและแก้ไขContinue reading “จดหมายเปิดผนึก:องค์กรภาคประชาสังคมด้านเด็กและสตรี จังหวัดชายแดนใต้ ขอให้ศอบต.ยุตินิคมอุตสาหกรรมและการดำเนินการใดใดในพื้นที่อำเภอจะนะและพื้นที่ใกล้เคียงที่จะส่งผลกระทบต่อผู้หญิงเด็กและชุมชน”
การปกป้องสิทธิผู้ถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในจังหวัดชายแดนใต้
ตามที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน ในพื้นที่สามจังหวัด สี่อำเภอ ชายแดนภาคใต้ จำนวนมาก ได้ร้องเรียนมูลนิธิผสานวัฒนธรรมว่า ถูกตัดสัญญานโทรศัพท์มือถือตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจาก กอ.รมน.ภาค 4 และกสทช. ได้ให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กำหนดให้ผู้ใช้โทรศัพท์โดยเฉพาะระบบเติมเงินต้องลงทะเบียนซิมใหม่ด้วยระบบสแกนใบหน้า (ระบบ 2 แชะ) โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนใหม่จะถูกบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์มือถือตัดสัญญาณไม่สามารถใช้โทรศัพท์ต่อไปได้ เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ติดตามปัญหา ท้วงติงและคัดค้านมาตรการดังกล่าวตลอดมา ดังปรากฎรายละเอียดตามแถลงการณ์ของมูลนิธิและองค์กรเครือข่าย ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 มูลนิธิฯเห็นว่า ในช่วงที่ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้กำลังเผชิญกับภัยโรคระบาดร้ายแรงโควิด-19 การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาด การเรียนรู้มาตรการเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแจ้งเหตุ ขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณะสุขในกรณีที่สงสัยว่าตนหรือบุคคลในครอบครัวอาจแป็นโรค เจ็บป่วย หรือมีความจำเป็นอื่นๆ ในการประกอบอาชีพและชีวิตประจำวัน ซึ่งในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือนั้นถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขของประชาชน จากการตรวจสอบของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์การและหน่วยงานต่างๆเช่น คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม สิทธิมนุษยชนเป็นต้น พบว่าการขอให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะผู้ที่ได้เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ต้องไปลงทะเบียนใหม่โดยระบบ 2 แซ๊ะ มิเช่นนั้นจะถูกตัดสัญญาณนั้นContinue reading “การปกป้องสิทธิผู้ถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในจังหวัดชายแดนใต้”
เอกสารแปล แถลงการณ์ยูเอ็น การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด – 19) กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เผยแพร่วันที่ 6 เมษายน 2563
คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้เผยแพร่ แถลงการณ์ ต้นฉบับ ภาษาอังกฤษ ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2020 เรื่อง การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด – 19) กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การระบาดใหญ่ของโรคโควิด – 19 กำลังคุกคามทำให้ระบบบริการสุขภาพมีงานท่วมท้นและสร้างผลกระทบเลวร้ายทั่วโลกในทุกด้านของชีวิต – ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสังคม การศึกษา และการผลิตอาหาร คนหลายหมื่นคนเสียชีวิต โดยในจำนวนนี้รวมถึงแพทย์และพยาบาล ที่ทำหน้าที่รักษาพยาบาลในแนวหน้า คนหลายคนต้องตกงาน และการดำรงชีวิตตกอยู่ในอันตราย เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุม การแพร่ระบาดของไวรัส ดังเช่น “มาตรการปิดเมือง” (lockdowns) โรงเรียนถูกปิดในหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบ ผู้คนไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมสำคัญทางวัฒนธรรมและชุมชนได้ เช่น พิธีกรรมทางศาสนา งานแต่งงาน และงานศพ ในตอนต้นของแถลงการณ์นี้ คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงขอแสดงความเห็นใจไปยังเหยื่อของการแพร่ระบาด รวมถึงครอบครัว ตลอดจนชุมชนในวงกว้างที่บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิก อ่านรายงานฉบับแปลภาษาไทยได้ที่ THContinue reading “เอกสารแปล แถลงการณ์ยูเอ็น การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด – 19) กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เผยแพร่วันที่ 6 เมษายน 2563”
Bring Thais back Home: Constitutional Rights Vs. Emergency Decree By Pornpen Khongkachonkiet and Nur-Sikeen Yosoh, Cross Cultural Foundation- CrCF
Bring Thais back Home: Constitutional Rights Vs. Emergency Decree By Pornpen Khongkachonkiet and Nur-Sikeen Yosoh, Cross Cultural Foundation- CrCF Translation by Nathakrit and Katie Released in Thai at https://www.the101.world/bring-thais-home/ On 18 March 2020, Malaysia decided to go into lockdown due to the Covid-19 outbreak. The country then delayed its border checkpoint re-opening. The checkpointsContinue reading “Bring Thais back Home: Constitutional Rights Vs. Emergency Decree By Pornpen Khongkachonkiet and Nur-Sikeen Yosoh, Cross Cultural Foundation- CrCF”