หนังสือ “เปิดคำพิพากษา ในสถานการณ์ฉุกเฉิน” โดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
คดียุทธศาสตร์ (strategic litigation) เป็นยุทธวิธีของงานด้านกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยกลุ่มทนายความสิทธิมนุษยชน มีความคาดว่าจะนำคดีตัวอย่างบางคดีมาฟ้องร้องต่อศาล เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบยุติธรรม และสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างต่อสังคม โดยในที่นี้หมายความว่าเรายังอยู่ในบริบทของสังคม ที่กระบวนการยุติธรรม หรือระบบตุลาการยังเป็นที่พึ่งสุดท้าย การรณรงค์ที่ทำไปพร้อมๆ กับการทำคดีในชั้นศาล
[:th]สรุปข้อสังเกตของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานองค์การสหประชาชาติต่อประเทศไทย โดย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน[:]
[:th]ตามที่ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี เมื่อปี 2550 (CAT) เมื่อไทยเป็นรัฐภาคีแล้ว มีหน้าที่ต้องดำเนินมาตรการต่างๆ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร ทางตุลาการ หรือมาตรการอื่นๆ ที่มีประสิทธิผลเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำการทรมานในอาณาเขตใดซึ่งอยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐของตน และยังกำหนดให้ประเทศไทยมีหน้าที่ส่งรายงานต่อคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน[:]
คู่มือภาคปฏิบัติสำหรับประชาสังคม พื้นที่ประชาสังคม และระบบสิทธิมนุษยชนของสหประชาติ
เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการสมาคม การชุมนุมโดยสงบ และสิทธิ ในการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ เป็นสิทธิมนุษยชนที่เปิดโอกาสให้ผู้คนแลก เปลี่ยนความคิด ริเริ่มแนวคิดใหม่ และร่วมกันเรียกร้องสิทธิต่างๆ เราสามารถ ตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมของเราบนพื้นฐานของ กิจกรรมของพลเมือง และสร้างสังคมประชาธิปไตยขึ้นมาได้ผ่านการมีสิทธิเหล่านี้
คู่มืออาสาสมัคร นักสิทธิมนุษยชนหญิงรุ่นใหม่ ใน จังหวัดชายแดนใต้
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรภาคีทํางานในการส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้มาตั้งแต่ปี 2550 พบว่านับจาก เหตุการณ์การปล้นปืนที่ค่ายปีเหล็ง จังหวัดนราธิวาสในปี 2547 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งชาวพุทธ และมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้จํานวนมากได้ตกเป็น เหยื่อของความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดมา ทั้งจากการกระทําของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน และกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เราคือนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่แสวงหาความเป็นธรรม และศักดิ์ศรีให้กับทุกคนภายใต้กฎหมาย
หนังสือ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ การเรียกร้องสิทธิชุมชน และความเป็นธรรมของชุมชนบางกลอย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
นายคออี้ หรือโคอี้ มีมิ หรือที่คุ้นเคยในชื่อเรียก “ปู่คออี้” ผู้ที่ถือเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน และวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ปู่คออี้เกิดเมื่อ พ.ศ. 2454 บริเวณต้นน้ำภาชี ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี (เรียกบริเวณนั้นว่าบ้านใจแผ่นดิน) ปัจจุบันอายุ 107 ปี เป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดั้งเดิม เป็นบุตรของนายมิมิ และนางพินอดี ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง มีพี่น้องอีกจำนวน 5 คน (รวมปู่คออี้ เป็น 6 คน) ครอบครัวของปู่คออี้ เดินเท้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านบางกลอยบน บริเวณใจแผ่นดิน ปู่คออี้ดำรงชีวิตโดยการทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าว ต้นหมาก พริก ฟักแฟง แตงเปรี้ยว ฟักทอง พืชสวนครัว ฯลฯ