หนังสือ “เปิดคำพิพากษา ในสถานการณ์ฉุกเฉิน” โดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
คดียุทธศาสตร์ (strategic litigation) เป็นยุทธวิธีของงานด้านกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยกลุ่มทนายความสิทธิมนุษยชน มีความคาดว่าจะนำคดีตัวอย่างบางคดีมาฟ้องร้องต่อศาล เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบยุติธรรม และสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างต่อสังคม โดยในที่นี้หมายความว่าเรายังอยู่ในบริบทของสังคม ที่กระบวนการยุติธรรม หรือระบบตุลาการยังเป็นที่พึ่งสุดท้าย การรณรงค์ที่ทำไปพร้อมๆ กับการทำคดีในชั้นศาล
คู่มือนักปฏิบัติ สิทธิที่จะได้รับการเยียวยา และการชดใช้ความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุายชนอย่างรุนแรง และกว้างขวาง
คู่มือนี้สรุปหลักการทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ควบคุมสิทธิในการเยียวยาและการชดใช้ค่าเสียหายสำหรับเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยรวบรวมหลักนิติศาสตร์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับประเด็นการชดใช้ค่าเสียหาย คู่มือนี้มุ่งเป้าไปที่ผู้ปฏิบัติงานที่อาจพบว่ามีประโยชน์ที่จะมีแหล่งข้อมูลระหว่างประเทศสำหรับการทำงานด้านกฎหมาย การสนับสนุน งานด้านสังคมหรืองานอื่นๆ
กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ระเบียบคำสั่งและแนวปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่
เนื่องจากมี “กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ระเบียบคำสั่งและแนวปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่” มาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เรื่อยมา โดยปัจจุบัน มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน และมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ในพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอจะนะ ของจังหวัดสงขลา
คู่มือการสังเกตการณ์ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดย คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล ICJ
คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่อุทิศตนในการส่งเสริมความเข้าใจและการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายทั่วโลก ICJ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีสำนักงานที่กรุงเทพได้เผยแพร่คู่มือการสังเกตการณ์ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาฉบับแปลเป็นไทย ดาวน์โหลดฉบับภาษาไทยได้ตามลิงก์ได้ที่ "คู่มือสังเกตการณ์"
คู่มือการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดย สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
คู่มือเล่มนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดอบรมการแสวงหา/รวบรวมข้อเท็จจริง และการสังเกตการณ์คดีด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภายใต้โครงการเรียนรู้ และสังเกตการณ์กระบวนการทางศาลในมุมมองสิทธิมนุษยชน (Court Watch 2009) ที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 15-18 สิงหาคม 2552 โดยมีผู้เข้าฝึกคือกลุ่มผู้ทํางานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
3 ปีเหตุการณ์ไอปาแย…ไม่มีใครเหลียวแล
ความสงบเงียบในหมู่บ้านไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งชาวบ้านต่างดำเนินชีวิตกันอย่างปกติสุข ทำให้เกือบลืมไปว่า หมู่บ้านแห่งนี้เพิ่งเคยเกิดโศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญ มีคนร้ายเข้าไปกราดยิงชาวบ้านขณะทำละหมาดถึงในมัสยิดจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เมื่อค่ำคืนของวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมานี้เอง