[:th]แนะนำน้องฝึกงาน “น้องแฟท” จาก ม. ราชภัฏเชียงราย คณะนิเทศฯ ที่มีความสนใจด้านสิทธิมนุษยชน[:]
[:th]สวัสดี ชื่อแฟท นลิกาล แซ่เติ้น เรียนนิเทศศาสตร์ การสื่อสารสื่อใหม่ที่ราชภัฏเชียงราย เลือกมาฝึกงานกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน การซ้อมทรมาน หรือประเด็นด้านชาติพันธุ์ เราผ่าเหล่าออกมา ในขณะที่เพื่อนหลายคนฝึกงานด้านประชาสัมพันธ์บ้าง อีเว้นท์บ้าง เราเริ่มสนใจประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน[:]
[:th]แนะนำอาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 13 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม – จอมธนพล ชื่นวัฒนา (เดีย)[:]
[:th]เดียครับ ไอเดีย นายจอมธนพล ชื่นวัฒนา จบจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นคนจังหวัดกาฬสินธุ์ ตอนแรกเลยแทบไม่มีเรื่องสิทธิมนุษยชนในหัวเลยแบบแทบจะเห็นด้วยกับวิธีที่รุนแรงด้วยซ้ำ แต่พอเราโตขึ้นได้รู้อะไรเยอะมากขึ้นเจอเหตุการณ์ทั้งกับตัวเองแล้วก็คนรอบข้าง ทำให้เราเริ่มสนใจ[:]
ขอต้อนรับอาสาสมัครนักสิทธิฯรุ่นที่ 12: บี
นางสาว พรพิมล มุกขุนทด ชื่อเล่น บี เป็นคนจังหวัดชัยภูมิ จบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขานิติศาสตร์และสิทธิมนุษยชนศึกษา เป็นหลักสูตรคู่ขนาน 2 ใบปริญญา ซึ่งตอนเลือกลงเรียนสาขานี้เราไม่รู้เลยว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร เราสนใจเพียงสาขานิติศาสตร์เท่านั้น แต่เห็นสาขานี้ได้ 2 ใบปริญญาก็เลือกลงเป็นอันดับแรก และก็ติดในที่สุด โดยช่วงแรกในมหาวิทยาลัย เราใช้ชีวิตอย่างคนที่ไม่เข้าใจคำว่าสิทธิมนุษยชนหมายถึงอะไร ดำเนินชีวิตตามกรอบ ระเบียบ ที่เขาว่าดี และกล่าวอ้างว่าปฏิบัติสืบต่อกันมานานแล้ว เราจึงกลายเป็นบุคคลที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบุคคลอื่นเองในเวลาต่อมา...
ขอต้อนรับอาสาสมัครนักสิทธิฯรุ่นที่ 12: ซีกีน
ซีกีน นุรอาซีกีน ยูโซ๊ะ มาจากปัตตานี หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาความขัดแย้งที่เรื้อรัง ส่วนตัวคิดว่าเรื่องกฎหมาย สิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัว เนื่องจากไม่ได้เรียนทางด้านสายสังคมศาสตร์โดยจริงและคิดว่าตนเองคงมีส่วนช่วยในปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ได้น้อย แต่เอาเข้าจริงแล้วเป็นเรื่องของทุกคนที่ควรรู้ คือมันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามองข้ามไปรวมถึงตัวเองด้วย เพิ่งเคยได้ยินบ่อยๆ และเพิ่งจะมาสนใจประเด็นนี้เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว
ผ่านการลองผิดลองถูกหลายครั้ง ทั้งๆที่ปัญหาในพื้นที่บ้านเกิดมีมายาวนานและเรื้อรังและปัญหาเรื่องสิทธิต่างๆอีกมากมายที่ตนเองไม่เคยรู้มาก่อนว่า นอกจากพื้นที่บ้านเกิดแล้ว ปัญหาความขัดแย้งเหล่านั้นยังมีทั่วพื้นที่ ทั่วโลก เพียงแต่คนละความขัดแย้ง และในทุกพื้นที่ก็มีรูปแบบการจัดการความขัดแย้งที่แตกต่างกัน
ต้องขอบคุณทาง มอส.และทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่เปิดโอกาศให้เด็กทุกคณะ โดยไม่จำเป็นต้องจบสายสังคมศาสตร์เสมอไปมาเข้าร่วมแลกเปลี่ยน และเติมเต็มประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อตัวผู้เข้าร่วมเองสามารถนำไปต่อยอดในประเดนที่สนใจต่อไปในอนาคต
จริงๆคาดหวังหลายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิงการได้แลกเปลี่ยนมุมมอง...