6 สาระสำคัญ ข้อคิดเห็นทางกฎหมายโดยศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ต่อประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาว่า พ.ร.ก. เลื่อนการบังคับใช้4มาตรา พ.ร.บ. ซ้อมทรมาน ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
(1) มาตรา 22, 23, 24 และ 25 เป็นมาตราในการ ‘ป้องกัน’ ไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถที่จะควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้สูญหาย หรือซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวได้อีกต่อไป จึงถือเป็นสาระสำคัญที่สุดของ พ.ร.บ. ฉบับนี้
(2) เหตุผลของคณะรัฐมนตรีในการเลื่อน 4 มาตรา เนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งว่าไม่พร้อมในเรื่องของอุปกรณ์คือกล้องและการฝึกอบรมนั้น ไม่มีน้ำหนัก เพราะสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีเวลาในการเตรียมความพร้อมกว่า 120 วันตามการตกลงระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(3) ประเด็นสังเกต ว่าทำไมผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติคนปัจจุบันต้องขอคณะรัฐมนตรีให้เลื่อน พ.ร.ก. มาวันที่ 1 ตุลาคม 2566? แม้ตนจะเกษียณราชการในวันที่ 30 กันยายน 2566 เท่ากับเป็นการโยนภาระไปให้ผู้บังคับบัญชาคนถัดไปหรือไม่







(4) นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงานตำรวจแห่งชาติกลับไม่เร่งสั่งการเรื่องนี้ให้ทันเวลา จนผ่านไปครบ 120 วัน จึงค่อยมีการแก้ไข
(5) มาตราทั้ง 4 เป็นเพียงการให้สิทธิเรียกร้อง และป้องกันตนเองของประชาชน ไม่ให้ถูกอุ้มหายหรือซ้อมทรมาน การเลื่อนการบังคับใช้ออกไปจึงเป็นการทำให้ประชาชนไม่ปลอดภัย
(6) การบังคับใช้ทั้ง 4 มาตราเป็นการรักษาความปลอดภัยของสาธารณะ การเลื่อนออกไปจึงไม่ใช่เพื่อการรักษา “ความปลอดภัยสาธารณะ” ในทางตรงกันข้ามเป็นการทำให้สาธารณะไม่ปลอดภัยต่อไป
ศูนย์นิติ มธ. ชี้ พ.ร.ก. ขยายการบังคับใช้พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายฯ ขัดรัฐธรรมนูญศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัย 18 พ.ค. นี้ ให้จนท.เลื่อนการติดกล้องหรือไม่
เพิ่มเติม : https://crcfthailand.org/…/thammasat-law-center…/…
#StopTorture#StopEnforcedDisappearance#พรบอุ้มต้องไม่หาย#พรบต้องไม่หายกฎหมายต้องมี