ระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยที่พนักงานอัยการมีอํานาจและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการเป็นไป โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงสมควรมีระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดําเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและ พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบข้อ ๕ ของระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยตําแหน่งและอํานาจ ของพนักงานอัยการในการดําเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง (๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อัยการสูงสุดจึงวางระเบียบ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดําเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๖”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผลใช้บังคับ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“อธิบดีอัยการภาค” หมายความว่า อธิบดีอัยการภาคที่รับผิดชอบในการดําเนินคดี “รองอธิบดีอัยการภาค” หมายความว่า รองอธิบดีอัยการภาคที่รับผิดชอบในการดําเนินคดี “อัยการศาลสูง” หมายความว่า พนักงานอัยการที่รับผิดชอบในการดําเนินคดีชั้นอุทธรณ์ และฎีกาภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ
“พนักงานอัยการ” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ
“ผู้อํานวยการศูนย์” หมายความว่า อธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน หรืออัยการจังหวัด ที่รับผิดชอบในการดําเนินคดีประจําศาลจังหวัด
“รองผู้อํานวยการศูนย์” หมายความว่า รองอธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน สําหรับ ในกรุงเทพมหานคร หรือพนักงานอัยการที่ผู้อํานวยการศูนย์มอบหมายสําหรับในจังหวัดอื่นนอกจาก กรุงเทพมหานคร
“เลขานุการศูนย์” หมายความว่า อัยการพิเศษฝ่าย สํานักงานการสอบสวน ที่ผู้อํานวยการศูนย์ หรือพนักงานอัยการที่ผู้อํานวยการศูนย์มอบหมายสําหรับในจังหวัดอื่น มอบหมายสําหรับในกรุงเทพมหานคร นอกจากกรุงเทพมหานคร
“พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น” หมายความว่า พนักงานสอบสวนที่มิใช่พนักงานอัยการ “พนักงานสอบสวนฝ่ายอัยการ” หมายความว่า พนักงานอัยการในสังกัดสํานักงานการสอบสวน สํานักงานอัยการภาค หรือสํานักงานอัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี
“พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบฝ่ายอัยการ” หมายความว่า อธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน อธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาภาค หรืออัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี
“พนักงานอัยการผู้ว่าคดี” หมายความว่า พนักงานอัยการที่มีอํานาจหน้าที่ดําเนินคดีตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายในศาลชั้นต้น “ผู้เสียหาย” หมายความว่า ผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย ประจําศาลจังหวัด
“สํานักงานอัยการจังหวัด” หมายความว่า สํานักงานอัยการจังหวัดที่รับผิดชอบในการดําเนินคดี
“ศูนย์” หมายความว่า ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย
“คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้ บุคคลสูญหาย” หมายความว่า คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและ การกระทําให้บุคคลสูญหาย และให้หมายความรวมถึงความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกันด้วย
“คดีสําคัญ” หมายความว่า คดีสําคัญตามระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดําเนิน คดีอาญาของพนักงานอัยการ
ข้อ ๔ อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ อัยการสูงสุดเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอํานาจออกประกาศ คําสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคําสั่ง ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๖ ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ อธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน อาจมอบอํานาจให้ รองอธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน ปฏิบัติราชการแทนได้ และอธิบดีอัยการภาคอาจมอบอํานาจให้รองอธิบดีอัยการภาคปฏิบัติราชการแทนได้
ข้อ ๗ พนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานของศูนย์ มีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทน ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พัก ตามระเบียบที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด
ข้อ ๘ การปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้หน่วยงานภายในของสํานักงานอัยการสูงสุดทุกหน่วยงาน ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ สํานักงานการสอบสวน สํานักงานอัยการภาค สํานักงานอัยการจังหวัด พนักงานอัยการผู้ว่าคดี และอัยการศาลสูงด้วย
ข้อ ๙ การปฏิบัติตามระเบียบนี้ที่มิได้กล่าวไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติในกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ ระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาขั้นศาลสูงของพนักงานอัยการ และระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้คํานึงถึงข้อบังคับและระเบียบ ของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ ๑๐ ประเภทสํานวนและประเภทเรื่อง สารบบ แบบพิมพ์ และงานธุรการที่เกี่ยวกับ การดําเนินการตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนดในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กล่าวไว้ เมื่อได้รับสํานวนหรือได้รับเรื่องแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงรับในสารบบและบัญชีจ่ายสํานวนหรือบัญชีจ่ายเรื่องในวันที่ได้รับสํานวนหรือได้รับเรื่องก่อนดําเนินการ ในขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด
หมวด ๒ การป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย
ข้อ ๑๑ ให้มีศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย ในกรุงเทพมหานครที่สํานักงานการสอบสวน และในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครที่สํานักงานอัยการ จังหวัดทุกแห่ง แล้วแต่กรณี มีหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อและประสานงาน รวมทั้งปฏิบัติการเกี่ยวกับ การรับแจ้งการควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ การรับแจ้งเหตุการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหาย จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุ การยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งยุติการกระทําทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้สูญหาย และการรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษคดีความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย รวมทั้งการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ศูนย์ในกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางพัฒนาการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทําให้บุคคลสูญหาย และจัดระบบการตรวจสอบ การเก็บ การใช้ประโยชน์ข้อมูลการป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายทั่วราชอาณาจักร การศึกษาวิจัยเชิงประเมินผล โดยพัฒนารูปแบบ วิธีการและแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายของสํานักงานอัยการสูงสุด
ให้ศูนย์ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครรายงานสถิติในแต่ละภารกิจตามข้อ ๑๒ (๔) (ก) (ข) (ค) และ (ง) ให้ศูนย์ในกรุงเทพมหานครทราบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด
ให้ผู้อํานวยการศูนย์เป็นผู้รับผิดชอบอํานวยการให้การป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทําให้บุคคลสูญหายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยให้รองผู้อํานวยการศูนย์ทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้อํานวยการศูนย์ และเลขานุการศูนย์ทําหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
ข้อ ๑๒ นอกจากหน้าที่ตามข้อ ๑๑ ให้ศูนย์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําบัญชีรายชื่อพนักงานอัยการผู้มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทรมานและ การกระทําให้บุคคลสูญหาย โดยในกรุงเทพมหานครให้เสนออัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายออกคําสั่งแต่งตั้งจากรายชื่อพนักงานอัยการที่ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ผู้อํานวยการศูนย์เป็นผู้ออกคําสั่งแต่งตั้งจากรายชื่อพนักงานอัยการที่ปฏิบัติงานในท้องที่ ของสํานักงานอัยการจังหวัดนั้น ๆ ทุกสํานักงานรวมถึงสํานักงานสาขา แล้วแจ้งให้พนักงานอัยการทราบล่วงหน้า
(๒) จัดให้มีพนักงานอัยการปฏิบัติหน้าที่แทน กรณีพนักงานอัยการผู้มีรายชื่อตาม (๑) ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
(๓) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไว้คอยช่วยเหลือพนักงานอัยการด้านธุรการ
(๔) จัดทําสารบบรับเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคล สูญหายในแต่ละภารกิจตามแบบที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ภารกิจหลัก ดังนี้
(ก) ภารกิจรับแจ้งการควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ
(ข) ภารกิจรับแจ้งเหตุการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหาย จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุ
(ค) ภารกิจยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งยุติการกระทําทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้สูญหาย
(ง) ภารกิจรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย เพื่อให้พนักงานสอบสวนฝ่ายอัยการสอบสวน คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย
(๕) จัดสถานที่และอุปกรณ์สําหรับให้พนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ปฏิบัติหน้าที่
(๖) จัดระบบการสํารวจ การเก็บ การใช้ประโยชน์ข้อมูล ในแต่ละภารกิจตาม (๔)
(๗) ดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
(๘) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๓ ในการรับแจ้งการควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ หรือรับแจ้งเหตุการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหาย จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุ หรือรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษ ศูนย์อาจรับแจ้งจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรง หรือรับแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับแจ้งการควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายบันทึกลงรับเข้าไว้ในสารบบเรื่องตามที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด และให้เสนอพนักงานอัยการที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พิจารณาโดยเร็วให้พนักงานอัยการพิจารณาและตรวจสอบว่าการควบคุมตัวตามวรรคหนึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้ บุคคลสูญหายหรือไม่ ตามแบบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับแจ้งเหตุการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหาย จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายบันทึกลงรับเข้าไว้ในสารบบเรื่องตามที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด และให้เสนอพนักงานอัยการที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พิจารณา ให้พนักงานอัยการพิจารณาและตรวจสอบว่าเหตุที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้ บุคคลสูญหายหรือไม่ ตามแบบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษ ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายบันทึกลงรับ เข้าไว้ในสารบบเรื่องตามที่สํานักงานอัยการสูงสุดกําหนด และให้เสนอพนักงานอัยการที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พิจารณา
ให้พนักงานอัยการพิจารณาเบื้องต้นว่าเป็นคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษตามกฎหมายหรือไม่ และในการกระทําเดียวกันนั้นได้มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นหรือไม่ รวมทั้ง ให้พิจารณาและตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงที่ได้รับแจ้งมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหายหรือไม่ ตามแบบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๗ ในการพิจารณาและตรวจสอบตามข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ ให้พนักงานอัยการ ปฏิบัติดังนี้
ในกรณีพนักงานอัยการเห็นว่าควรยุติเรื่อง หรือควรแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม หรือควร ยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งยุติการกระทําทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้สูญหาย ให้พนักงานอัยการเสนอความเห็นต่อผู้อํานวยการศูนย์เป็นรายกรณี และให้ผู้อํานวยการศูนย์มีคําสั่งตามที่พิจารณาได้ความตามข้อเท็จจริง
ในกรณีที่ผู้อํานวยการศูนย์เห็นว่าควรยุติเรื่อง ให้มีคําสั่งยุติเรื่อง
ในกรณีที่ผู้อํานวยการศูนย์เห็นว่าควรแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม ให้มีคําสั่งให้แสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แล้วมอบหมายพนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดดําเนินการต่อไป เมื่อการแสวงหาพยานหลักฐานสิ้นสุดแล้ว ให้พนักงานอัยการเสนอความเห็นต่อผู้อ้านวยการศูนย์เพื่อมีคําสั่งจนกว่าผู้อำนวยการศูนย์จะมีค่าสั่งยุติเรื่องหรือให้ยื่นคําร้องต่อศาล
ในกรณีที่ผู้อํานวยการศูนย์เห็นว่าควรยื่นคําร้องต่อศาล ให้มีคําสั่งให้ยื่นคําร้องต่อศาล แล้วมอบหมายพนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ หรือในสํานักงานการสอบสวนหรือสํานักงาน อัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี ยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งยุติการกระทําทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้สูญหาย หรือมีค่าสั่งอื่นใดตามกฎหมาย โดยพนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่นําพยานเข้าไต่สวนเพื่อให้ได้ความตามคําร้อง
ผู้อํานวยการศูนย์จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการสํานักงานที่มีอํานาจดําเนินคดีอาญาหรือ สํานักงานที่รับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิหรืองานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในเขตศาลท้องที่ที่มีอํานาจพิจารณาคดีอาญาที่จะยื่นคําร้องดําเนินการยื่นคําร้องต่อศาลตามวรรคห้าก็ได้
ข้อ ๑๘ ในกรณีการรับแจ้งเหตุตามข้อ ๑๕ หากพนักงานอัยการตรวจสอบแล้วปรากฏว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหาย ให้พนักงานอัยการเสนอความเห็นต่อผู้อํานวยการศูนย์เพื่อดําเนินการต่อไป ตามข้อ ๒๑ ด้วย
หมวด ๓ บททั่วไปที่ใช้บังคับในชั้นสอบสวน
ข้อ ๑๙ ในกรณีพนักงานอัยการพบปัญหาว่า กรณีไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ใด หรือหน่วยงานใดควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้พนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องรวบรวมพยานหลักฐาน และเอกสารต่าง ๆ เสนอเรื่องตามลําดับชั้นจนถึงอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดว่าให้พนักงานสอบสวนท้องที่ใด หรือหน่วยงานใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่พนักงานอัยการพบว่า คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายคดีใดเป็นคดีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทย ที่ได้กระทําลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้พนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องรวบรวมพยานหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ เสนอเรื่องตามลําดับชั้นจนถึงอัยการสูงสุดเพื่อดําเนินการตามมาตรา ๒๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หมวด ๔ กระบวนการในขั้นตอนการสอบสวน
ข้อ ๒๑ ในกรุงเทพมหานคร เมื่อพนักงานอัยการได้รับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย หรือพนักงานอัยการได้รับแจ้งเหตุการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหาย จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุดังกล่าวแล้วปรากฏว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทําดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานอัยการพบเหตุดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีความผิดฐานอื่นเกี่ยวพันกันหรือไม่ก็ตาม ให้รายงานตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีอัยการ สํานักงาน การสอบสวน เพื่อให้อธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน พิจารณารับทําการสอบสวนและจ่ายสํานวน ไปยังสํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน และให้อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวนจ่ายสํานวนให้กับ พนักงานอัยการในสังกัดเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของเรื่อง
สําหรับในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อพนักงานอัยการได้รับคําร้องทุกข์ หรือคํากล่าวโทษคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย หรือพนักงานอัยการได้รับแจ้งเหตุการทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ํายีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ หรือการกระทําให้บุคคลสูญหาย จากผู้พบเห็นหรือทราบเหตุดังกล่าวแล้วปรากฏว่ามีเหตุอันควร สงสัยว่าจะมีการกระทําดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานอัยการพบเหตุดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมี ความผิดฐานอื่นเกี่ยวพันกันหรือไม่ก็ตาม ให้รายงานตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีอัยการภาค เพื่อให้อธิบดีอัยการภาค พิจารณารับทําการสอบสวนและจ่ายสํานวนไปยังสํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาภาคหรือสํานักงาน อัยการจังหวัดในสังกัด และให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาภาคหรืออัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี จ่ายสํานวนให้กับพนักงานอัยการในสังกัดเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของเรื่อง
ข้อ ๒๒ เมื่อพนักงานสอบสวนฝ่ายอัยการได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของเรื่องแล้ว ให้ดําเนินการสอบสวนโดยเร็วเท่าที่จะกระทําได้ โดยให้มีการกําหนดแนวทางหรือแผนงาน เกี่ยวกับการสอบสวน กรอบระยะเวลาการสอบสวน และการบริหารจัดการสํานวนการสอบสวนให้ปรากฏ ในสํานวนการสอบสวน ทั้งนี้ ให้ทําการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน และบริหารจัดการสํานวนการสอบสวน ให้เป็นไปตามแนวทางหรือแผนงานที่กําหนดไว้ โดยให้ดําเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่กําหนดไว้ด้วย และเมื่อเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้วให้เสนอสํานวนการสอบสวนพร้อมความเห็นต่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบฝ่ายอัยการให้พิจารณาดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๐ ถึงมาตรา ๑๔๒ ต่อไป
ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายอัยการสอบข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน รายการและจํานวนค่าสินไหมทดแทน และรายละเอียดอื่นที่จําเป็นเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเรียกค่าสินไหมทดแทน แทนผู้เสียหายให้กับพนักงานอัยการผู้ว่าคดีด้วย
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่อธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน หรืออธิบดีอัยการภาคพิจารณาแล้ว ไม่รับทําการสอบสวน ให้ยุติเรื่องดังกล่าว
หากได้ความว่าการกระทําเดียวกันนั้นได้มีคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นแล้วอาจเป็นเหตุให้ไม่รับทําการสอบสวนก็ได้
หมวด ๕ กระบวนการในขั้นตอนตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวน
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่การสอบสวนคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายกระทําโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น ให้พนักงานอัยการรับแจ้งเหตุแห่งคดีจากพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น แล้วดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรุงเทพมหานครให้รายงานตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน เพื่อให้อธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน พิจารณาเห็นชอบให้เข้าตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวน และจ่ายสํานวนตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวนไปยังสํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน และให้อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวนจ่ายสํานวนให้กับพนักงานอัยการในสังกัดเป็นพนักงานอัยการเจ้าของเรื่องเพื่อเข้าตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวนทันที
(๒) สําหรับในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้รายงานตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีอัยการภาค เพื่อให้อธิบดีอัยการภาคพิจารณาเห็นชอบให้เข้าตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวนและจ่ายสํานวนตรวจสอบ หรือกํากับการสอบสวนไปยังสํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาภาคหรือสํานักงานอัยการจังหวัดในสังกัด และให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาภาคหรืออัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี จ่ายสํานวนให้กับพนักงานอัยการในสังกัด เป็นพนักงานอัยการเจ้าของเรื่องเพื่อเข้าตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวนทันที
ข้อ ๒๕ ในการตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวนที่กระทําโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น ให้พนักงานอัยการปฏิบัติ ดังนี้
(๑) เมื่อได้รับแจ้งเหตุแห่งคดีจากพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นแล้ว ให้เรียกสํานวนการสอบสวน มาตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อประกอบการวางแนวทางการสอบสวนต่อไป
(๒) ประชุมวางแผนและกําหนดแนวทางการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น (๓) ตรวจสอบหรือกํากับให้การสอบสวนเป็นไปตามแนวทางการสอบสวนที่พนักงานอัยการ กับพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นร่วมกันกําหนด
(๔) ในกรณีสอบสวนคดีสําคัญหรือประเด็นสําคัญอาจพิจารณาเข้าร่วมอยู่ด้วยในการสอบสวน กับพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น
(๕) ให้คําปรึกษาและให้ความเห็นแก่พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นเกี่ยวกับเรื่องการจับ การค้นหรือเรื่องอื่นใดที่สําคัญ
(๖) ให้คําแนะนําแก่พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นตามที่เห็นสมควร
(๗) เมื่อการสอบสวนเสร็จแล้วให้กําชับพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นส่งสํานวนการสอบสวนมาให้ตรวจสอบก่อนสรุปสํานวนการสอบสวนและทําความเห็นทางคดี
(๔) กําชับให้พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทํา ให้บุคคลสูญหาย และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยเร็ว รวมทั้งกําชับให้พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นสอบข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน รายการและจํานวนค่าสินไหมทดแทน และรายละเอียดอื่นที่จําเป็นเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายให้กับพนักงานอัยการผู้ว่าคดีด้วย
(๔) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวน ในกรณีที่พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานอัยการโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ทําความเห็นเสนอตามลําดับชั้นถึงอธิบดีอัยการ สํานักงานการสอบสวน หรืออธิบดีอัยการภาค แล้วแต่กรณี เพื่อแจ้งหน่วยงานต้นสังกัดของพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น
หมวด ๖ การแจ้งสิทธิและการแจ้งอื่นๆ
ข้อ ๒๖ ให้พนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิที่จะเรียก ค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย สําหรับกรณีที่ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นหรือพนักงานอัยการคนอื่นได้แจ้งให้ผู้เสียหายทราบแล้ว
ข้อ ๒๗ ในการสอบสวนคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายคดีใด ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายอัยการแจ้งให้ผู้เสียหาย ทราบถึงผลความคืบหน้าของคดีอย่างต่อเนื่องด้วย
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทําให้บุคคลสูญหายเป็นเจ้าพนักงานของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และอยู่ในหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พนักงานสอบสวนฝ่ายอัยการสามารถดําเนินคดีต่อไปได้ โดยแจ้งให้คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ
หมวด ๗ เขตอํานาจ
ข้อ ๒๙ ในกรุงเทพมหานคร ให้ศูนย์ในกรุงเทพมหานคร สํานักงานอัยการพิเศษฝ่าย การสอบสวน และสํานักงานการสอบสวน มีเขตอํานาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งมีเขตอํานาจ ในท้องที่อื่นที่อัยการสูงสุดมอบหมายให้ปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะด้วย
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้สํานักงานอัยการภาคและสํานักงานอัยการพิเศษฝ่าย คดีอาญาภาค มีเขตอํานาจตลอดท้องที่ของสํานักงานอัยการภาคนั้น ๆ และให้ศูนย์ในจังหวัดอื่นนอกจาก กรุงเทพมหานครและสํานักงานอัยการจังหวัด มีเขตอํานาจตลอดท้องที่ของสํานักงานอัยการจังหวัดนั้น ๆ
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่เห็นสมควร พนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องอาจเสนอต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดมอบหมายให้พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดที่ปฏิบัติงานในท้องที่หนึ่งดําเนินคดีในท้องที่อื่น นอกจากท้องที่ที่พนักงานอัยการผู้นั้นปฏิบัติงานได้ทุกขั้นตอน
หมวด ๘ การดําเนินคดีของพนักงานอัยการผู้ว่าคดีและอัยการศาลสูง
ข้อ ๓๑ การดําเนินคดีของพนักงานอัยการผู้ว่าคดีและอัยการศาลสูงในกรณีที่ระเบียบนี้ มิได้กําหนดไว้ ให้ดําเนินการตามระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดําเนินคดีของพนักงานอัยการ ในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
ข้อ ๓๒ ให้พนักงานอัยการผู้ว่าคดีมีความเห็นและคําสั่งในประเด็นเกี่ยวกับการเรียก ค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายด้วย
ในกรณีพนักงานอัยการผู้ว่าคดีเห็นว่า ผู้เสียหายมีสิทธิและประสงค์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน ให้พนักงานอัยการผู้ว่าคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหาย โดยให้นําพยานเข้าสืบให้ได้ความตามข้อเท็จจริงด้วย
ในกรณีพนักงานอัยการผู้ว่าคดีเห็นว่า ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานในประเด็นเกี่ยวกับ การเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายยังไม่เพียงพอ ให้พนักงานอัยการผู้ว่าคดีสั่งให้พนักงานสอบสวน ฝ่ายอัยการหรือพนักงานสอบสวนฝ่ายอื่น แล้วแต่กรณี สอบข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน รายการและจํานวนค่าสินไหมทดแทน และรายละเอียดอื่นที่จําเป็น หรือพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีจะสอบข้อเท็จจริงเองก็ได้
ประกาศ ณ วันที่ ២៣ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(นางสาวนารี ตัณฑเสถียร) อัยการสูงสุด