งานเสวนา “ประเทศไทยที่ไร้การทรมาน: พรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานอุ้มหายและการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ”

Share

17 มีนาคม 2566 พบกับงานเสวนาเรื่อง “ประเทศไทยที่ไร้การทรมาน: พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานอุ้มหายและการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ” เวลา 13.00-16.30 น. ห้องประชุม 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Highlight:

ประเด็นเชื่อมโยง: กรณีศึกษาจากคดีซ้อมทรมานที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรมให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย และกลไกของพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ พ.ศ.2565 ในการป้องกันการทรมานและการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม

ประสบการณ์จากผู้เสียหาย: เรื่องราวการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและเพื่อสังคมที่ปราศจาการทรมาน

การวิเคราะห์เชิงสังคม การเมือง และประวัติศาสตร์: คุณลักษณะ ปัจจัย และอำนาจที่ทำให้การทรมานและการข่มขู่คุกคามคงอยู่ และวิธียุติการใช้เทคนิคนอกกฎหมายเหล่านี้

พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ พ.ศ. 2565 ความหวังและความฝันให้ประเทศไทยไร้การทรมาน

วิทยากร

ดำเนินรายการโดย: จิดาภา เอกอัคร – เจ้าหน้าที่โครงการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม / ประกายดาว พฤกษาเกษมสุข – ผู้จัดการโครงการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
– พรพิมล มุกขุนทด – ทนายความมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
– สมศักดิ์ ชื่นจิตร – ครอบครัวผู้เสียหายจากการทรมาน
– ไมตรี จำเริญสุขสกุล – นักกิจกรรมชาวลาหู่
– อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
– ปวีณา จันทร์เอียด – สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

ผู้สนใจสามารถติดตามรับชมงานเสวนาดังกล่าวได้ผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook Live : ประชาไท Prachatai.com

หลังงานเสวนา มูลนิธิฯ ยังขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปและสื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงโดยรัฐ ในงานรณรงค์เชิงสร้างสรรค์ Human Library: Memories Melody (ห้องสมุดมีชีวิต: ท่วงทำนองของความทรงจำ) ร่วมกับคณะลานยิ้มการละคร 18.00-20.00 น. ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่

ภายในงานพบกับ: ห้องสมุดมีชีวิต: ร่วมค้นหาห้องสมุดมนุษย์ กับหนังสือมีชีวิตที่ร้อยเรียงเรื่องเล่า ให้ได้รับฟังเรื่องราวชีวิต ผู้เล่าเรื่องประกอบไปด้วย ผู้เสียหาย นักกฎหมาย นักวิชาการ นักกิจกรรม ภาคประชาสังคม ผู้ต้องหาทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรสิทธิฯในต่างประเทศ และอื่นๆ การแสดงดนตรี 

Exit mobile version