จดหมายเปิดผนึกเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย จากกลุ่มสิทธิมนุษยชน และภาคประชาสังคม

Share

จดหมายเปิดผนึกเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย จากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคม (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

เรียน คุณ โจเซฟ บอเรลล์ ฟอนเทลส์ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรป / อุปนายกผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศสหภาพยุโรป

6 มีนาคม พ.ศ. 2566

เรื่อง การเลือกตั้งของประเทศไทย

เรียน คุณฟอนเทลส์

เนื่องด้วย การเลือกตั้งของประเทศไทยที่จะถึงเป็นการเลือกรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ผู้ทําหน้าที่ประมุขของฝ่ายบริหาร ทว่า กระบวนการเลือกตั้งดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลทางการเมือง รัฐธรรมนูญ และกฎหมายซึ่งไม่เอื้อแก่การเลือกตั้ง ที่เป็นอิสระและเป็นธรรม กลุ่มสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคมจึงมีความกังวลอย่างยิ่งต่อการเลือกตั้งดังกล่าวจะทําไปสู่ความขัดแย้งและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ด้วยเหตุที่ฝ่ายความมั่งคงของไทยที่ผ่านมามีพฤติการณ์ใช้ความ รุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงอย่างไม่ได้สัดส่วนเสมอมา

กลุ่มสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคมจึงร่างจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ขึ้น เพื่อร้องขอต่อสหภาพยุโรปและรัฐบาลที่มี จุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน ในการแสดงความกังวลเกี่ยวดังกล่าวต่อรัฐบาลไทย รวมทั้งพล เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และข้าราชการทหารและพลเรือนระดับสูง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล นายกรัฐมนตรี และ ข้าราชการดําเนินการป้องกันเหตุการณ์ข้างต้น การแสดงจุดยืนต่อการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพยุโรปในฐานะคู่ค้าสําคัญของประเทศไทย เป็นสิ่งที่มีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อประชาชนชาวไทย

ภายหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยถูกยกร่างขึ้นโดยคณะรัฐประหารหรือคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้อิทธิพลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลานั้น อีก ทั้งการจัดทําประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ล้วนตกอยู่ภายใต้คําสั่งของ คณะรัฐประหารซึ่งเต็มไปด้วยการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก การรวมกลุ่มและการชุมนุมอย่างสันติ อีก ทั้งช่วงเวลาก่อนการจัดทําประชามมติข้างต้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ละเมิดเสรีภาพทางการเมืองของ พลเมืองไทย ปิดกั้นการเข้าถึงข่าวสาร ห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป การฟ้องร้องดําเนินคดีผู้ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว รวมถึงมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพอื่นๆ อีกมากมาย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจึงเป็นผลลัพธ์ของการหยั่งรากอํานาจของคณะรัฐประหารเพื่อควบคุมการเมืองของประเทศ ไทย จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้อํานาจตนเองในการเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สององคาพยพที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความชอบธรรมแก่การเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยมีการตี กรอบการทํางานของรัฐบาลและสมาชิกผู้แทนราษฎรภายใต้ “แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี” และทําให้การแก้ไข รัฐธรรมนูญไม่สามารถกระทําได้หากปราศจากซึ่งการเห็นชอบจากฝ่ายทหาร ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ สร้างกลไกรัฐสภาที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย แม้ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวจะกําหนดให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งจํานวนห้าร้อยคน แต่กลับสงวนไว้ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จํานวนสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการทหารและตํารวจระดับสูงหลายนาย

กลไกทางการเมืองและกฎหมายทั้งหมดข้างต้น ทําให้กองทัพยังคงรักษาอํานาจในการจัดตั้งรัฐบาลและแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีที่ฝั่งตนเองเห็นชอบได้ ดังที่ปรากฎจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งเดือน พฤษภาคมที่จะถึงนี้กองทัพไทยและพรรคการเมืองที่คุมโดยฝ่ายทหารต้องการความเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเพียงแค่ 126 เสียงจาก 500 เสียง เพื่อรวมกับเสียงของสมาชิกวุฒิสภาที่ตนแต่งตั้งจํา ตั้งจํานวน 250 คน ในการจัดตั้ง รัฐบาลและเลือกนายกรัฐมนตรี ในทางตรงข้าม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับกองทัพต้องการความเห็นชอบที่มากกว่าถึงสามเท่า หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 375 คนจาก 500 คน เพื่อจัดตั้งรัฐบาล

นอกเหนือจากโครงสร้างที่บิดเบี้ยวดังกล่าว บรรยากาศทางการเมืองของไทยยังถูกปกคลุมด้วยการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร ดังที่เป็นมาตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2557 โดยนับแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ทางการไทยมีการดําเนินคดีกับผู้ชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตย, นักกิจกรรมทางการเมือง, ผู้วิจารณ์และเห็นต่างทางการเมือง และผู้สนับสนุนการชุมนุมแล้วถึง 1,800 คน ด้วยเหตุที่บุคคลเหล่านี้แสดงออกหรือเข้าร่วมในการชุมนุมอย่างสันติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย (ในจํานวน นี้ มีการดําเนินคดีกับเด็กจํานวนกว่า 280 คน โดยมีเด็กอายุต่ํากว่า 15 ปีถูกดําเนินคดีถึง 41 คน)

ในปี พ.ศ. 2563 รัฐบาลไทยได้ดําเนินการยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคอนาคตใหม่ ตามด้วยการดําเนินคดีดีที่ไม่มีมูล อันนําไปสู่การชุมนุมทั่วประเทศ ทางการไทยได้ดําเนินการตอบโต้ ต่อกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ว่าการชุมนุมเหล่านั้นจะเป็นการชุมนุมด้วยความสงบ โดยการข่มขู่ผู้นําหรือผู้เข้าร่วมการประท้วง ด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การสอดแนม การก่อกวน การใช้กําลังที่ไม่ได้สัดส่วน และการคุมขังตามอําเภอใจ ซึ่งเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยถึงการใช้ “เปกาซัส สปายแวร์” ของทางการไทยต่อนักเคลื่อนไหวทาง การเมืองและผู้วิจารณ์รัฐบาลจํานวนอย่างน้อย 35 คน

ช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ใช้พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการบริหาร ราชการ โดยอ้างเหตุการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ข้อกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังกล่าวถูกขยายระยะเวลาบังคับใช้ถึง 19 ครั้ง และให้อํานาจที่ปราศจากซึ่งการตรวจสอบแก่เจ้าหน้าที่ ประกาศ และข้อกําหนดที่ออกภายใต้พระราชกําหนดดังกล่าวยังถูกใช้เพื่อดําเนินคดีกับผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองและปิดกั้นการแสดงความเห็นบนอินเตอร์เน็ต แม้ว่าทางการไทยจะยุติสถานการณ์ฉุกเฉินในปีที่ผ่านมาและยกเลิกข้อกําหนดต่างๆ แต่ประชาชนจํานวนมากกลับต้องตกอยู่ภายใต้การดําเนินคดีและบรรยากาศแห่งความกลัว

ความบิดเบี้ยวทางโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้ง การดําเนินการคุกคามฝ่ายตรงข้ามของรัฐ ได้สร้างความเสียเปรียบอย่างมากต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทยยังคงยืนยันที่จะต่อสู้ท่ามกลางระบอบข้างต้น แม้ว่าจะทราบถึงความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้น การที่ฝ่ายเห็นต่างจากรัฐบาลเลือกที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้ระบอบที่คณะรัฐประหารเป็นผู้กําหนด และภายใต้ความอยุติธรรมต่างๆ จึงมิควรถูกตีความว่าเป็นการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและอิสระ และไม่ควรที่รัฐบาลที่
สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะนิ่งเฉยต่อความอยุติธรรมดังกล่าว

สหภาพยุโรปและรัฐบาลที่มีจุดยืนเช่นเดียวกันควรจะ

• เรียกร้องให้รัฐไทยแก้ไขโครงสร้างและกระบวนการต่างๆ ในการเลือกตั้งที่จะ

– ยกเลิกการคุมขังและการดําเนินคดีแก่ผู้เห็นต่าง ผู้สนับสนุน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สื่อ และนัก กิจกรรมทางการเมืองที่ถูกจับกุมแม้จะได้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก โดยต้องดําเนินการดังกล่าวทันทีและไม่มีเงื่อนไข

– ยุติการข่มขู่ คุกคาม การดําเนินคดีแก่ผู้ที่เข้าร่วมในการชุมนุมโดยสงบและผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการ การเมืองอื่นๆ

– ยุติการปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือกระบวนการทางการเมือง ยินยอมให้พรรคการเมืองที่ไม่ เห็นด้วยกับรัฐบาลและผู้นําพรรคการเมืองดังกล่าว ดําเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยปราศจากการคุกคาม

– ยกเลิกหรือยุติการใช้บังคับกฎหมายหรือกฎที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความเห็นหรือเนื้อหาที่ เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง รวมถึงกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือความผิดเกี่ยวกับการยุยง ปลุกปั่น ที่กว้างขวางและคลุมเครือ และ

– ดําเนินการรับประกันให้การนับคะแนนเลือกตั้งในวันเลือกตั้งหรือหลังจากนั้นเป็นไปด้วยความ ยุติธรรมและโปร่งใส รวมถึงเปิดเผยผลการนับคะแนนการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว และอนุญาตให้มีการ สังเกตการการนับคะแนนการเลือกตั้ง

• เรียกร้องให้ทางการไทย ซึ่งรวมถึงผู้นําเหล่าทัพ ให้คํามั่นว่าฝ่ายทหารและความมั่งคงจะไม่ขัดขวาง กระบวนการประชาธิปไตย และจะรับมือต่อการชุมนุมอย่างเหมาะสม ไม่ใช้กําลังรุนแรงเกินสัดส่วน

• สื่อสารต่อทางการไทยถึงผลลัพธ์ของการเพิกเฉยต่อโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้งที่อยุติธรรม การเพิกเฉยต่อการละเมิดสิทธิพลเมืองและการเมืองของประชาชนชาวไทย หรือการสนับสนุนกระบวนการที่ไม่สะท้อนถึงระบอบประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง เหล่านี้ การเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงจะไม่ได้รับการ ยอมรับเป็นการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและเสรีจากประชาคมโลก

• สื่อสารต่อทางการไทยถึงการแทรกแซงโดยกองทัพ ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าก่อน ในขณะ หรือ หลังจากการเลือกตั้งจะบ่อนทําลายความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย อันนําไปสู่การจํากัดการให้ความร่วมมือทางความมั่นคง และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย

ประชาชนชาวไทยและสหภาพยุโรปจะร่วมกันยืนหยัด เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน และเราขอเรียกร้องให้สหภาพยุโรป ดําเนินการแสดงออกและสื่อสารด้วยจิตวิญาณในการรักษาคํามั่นที่จะปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

1. 112Watch
2. กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย
3. ActLab Thailand
4. Association for Thai Democracy
5. Association of Labor for People’s Rights
6. Cafe Democracy
7. Campaign Committee for People’s Constitution (CCPC)
8. Constitution Advocacy Alliance (CALL)
9. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
10. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย
11. พรรคโดมปฏิวัติ
12. เสรีเทยฺย์พลัส
13. Friends Of the Homeless Group
14. Human Rights Watch
15. Internet Law Reform Dialogue (iLaw)
16. องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
17. Labor Network for People’s Rights
18. Manushya Foundation
19. โมกหลวงริมน้ำ
20. นฤมิตไพรด์
21. ขบวนการอีสานใหม่
22. NGO Coordinating Committee
23. องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)
24. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
25. ทะลุฟ้า
26. The Advocates for Sustainable Democracy in Asia and Beyond (ASDA)
27. The Worker Union of Spinning and Weaving Industries of Thailand
28. แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
29. We Volunteer
30. We Watch
31. เครือข่ายประชาชน จชต. ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ
32. กลุ่มด้วยใจ
33. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ
34. เครือข่ายสิทธมนุษยชนปาตานี
35. องค์กรสตรีปาตานี
36. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
37. องค์กรยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
38. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
39. Project Sama2, Election monitoring team in Patani

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading