[:th]CrCF Logo[:]

Infographic: มาตรฐานสากลในการดำเนินคดีทางอาญา

Share

การดำเนินคดีอาญา คือ ค้นหาความจริงให้กับผู้เสียหาย และสาธารณะและเป็นวิธีการนำคนผิดมาลงโทษ ที่ต้องเคารพสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อให้เกิดการเยียวยาทั้งด้านความยุติธรรมและด้านอื่นๆ ที่เหมาะสม มีกำหนดไว้เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้รับการคุ้มครอง ทุกขั้นตอนของการดำเนินคดี

– ก่อนการพิจารณาคดี
– ระหว่างการพิจารณาคดี
– หลังการพิจารณาคดี
– ก่อนการพิจารณาคดี

1) การจับกุมต้องแจ้งเหตุผลในการจับกุม ขณะจับ และแจ้งข้อหาโดยพลัน จับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่? มีหมายจับ หมายค้น มีการข่มขู่คุกคามหรือไม่?

2) จะโดนทรมานและถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมไม่ได้

3) ครอบครัวของผู้ถูกจับต้องได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เรื่องการเข้าเยี่ยม ได้พบครั้งแรกเมื่อไร? ได้รับการแจ้งสิทธิในการได้พบทนาย และการรักษาพยาบาลตามสมควร

4) ต้องถูกนำตัวไปพบผู้พิพากษาที่ศาลโดยเร็ว กำหนดตามกฎหมายภายใน 48 ชั่วโมง ทางวีดีโอได้ไหม? ถูกปฏิบัติอย่างไร? มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานหรือไม่? ก่อนหรือขณะถูกปรากฎตัวต่อหน้าศาล ถูกข่มขู่หรือไม่ ? เข้าใจข้อหาและได้ข้อมูลเพียงพอหรือไม่? ว่าการพิจารณาคดีจะเริ่มเมื่อใด?

5) มีสิทธิที่จะคัดค้านการควบคุมตัว ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยการร้องขอต่อศาลให้ไต่สวน หากมีการละเมิด สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

6) การปล่อยตัวชั่วคราวหรือให้ประกันตัวเป็นหลักการคุมขัง ระหว่างการควบคุมตัวเป็นข้อยกเว้น

7) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย
– ก่อนการพิจารณาคดี
– ระหว่างการพิจารณาคดี

8) ทุกคนมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ หลักการกฎหมายไทยเป็นระบบกล่าวหา คู่ความในคดี ฝ่ายโจทก์ จึงต้องกล่าวหาว่าจำเลยมีความผิด และในขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมจึงมีข้อกำหนดหลายประการในการพิสูจน์การกระทำความผิด และพนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่ทั้งพิสูจน์การกระทำความผิดและความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา ตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณา

9) บุคคลมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และการพิจารณาคดีที่เปิดเผย โดยผู้พิพากษาที่เป็นอิสระ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

– หลังการพิจารณาคดี

10) สิทธิในการอุทธรณ์ ในศาลที่มีลำดับสูงขึ้นไป

11) สิทธิที่จะได้รับการชดเชยเยียวยาหากมีการเสื่อมเสียความยุติธรรม (Miscarriage of Justice) ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายว่าด้วยการชดเชยผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา

12) บุคคลย่อมไม่ถูกพิจารณาคดีซ้ำในความผิดเดียวกันอีกในคดีที่ได้รับคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษหรือยกฟ้องปล่อยตัวไปแล้ว