รายงานฉบับนี้นําเสนอสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้ที่เกิดขึ้นมากว่า 19 ปี เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนําข้อมูลไปใช้เพื่อออกแบบ และกําหนดนโยบายในการยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน สถานการณ์การละเมิดสิทธิที่น่ากังวลใจมีดังนี้
1) กระบวนการในการควบคุมตัวในปี 2565 ที่การปิดล้อมจับกุมทําให้พลเรือนเสียชีวิตจากการนําค้นโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน และนอกจากนี้ยังมีการ ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยภายใต้การบังคับใช้กฎอัยการศึก และพระราชกําหนดการบริหารราชการในสภานการณ์ฉุกเฉินจํานวน 158 คน ในจํานวนนี้มี ผู้หญิง 10 คน
2) จํานวนการวิสามัญฆาตกรรมสูงถึง 18 คน ส่วนใหญ่ไม่มีการเจรจาก่อนการปะทะ และการปะทะเกิดขึ้นในเขตชุมชน ทําให้ประชาชนมีความเสี่ยงจากลูกหลง
3) การทรมานยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะวิธีการทรมานที่เปลี่ยนรูปแบบไปสู่การทรมานทางด้านจิตใจ (Psychological Torture) ส่งผลกระทบต่อประสาทสัมผัสทั้งห้า หรือความสมบูรณ์ทางจิตใจของบุคคลมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ทิ้งร่องรอยทางจิตใจที่ลบไม่ออก กลุ่มด้วยใจสัมภาษณ์ผู้ถูกคุมขังมากกว่า 40 คนในปี 2565 พบว่าอย่างน้อย 10 คน ถูกกระทําทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
4) มีผู้หญิงชีวิตจากความรุนแรงจํานวน 3 คน และได้รับบาดเจ็บจากความรุนแรง จํานวน 19 คน นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงที่พิการ 1 คนจากระเบิดแบบเหยียบ ซึ่งเป็นการระเบิดซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต โอน และการทําลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (The 1997 treaty banning the use, stockpiling, production and transfer of anti-personal Landmines) ที่รับรองในปี 2540 มีประเทศมากกว่า 150 ประเทศ เข้าร่วมสนธิสัญญานี้รวมถึงประเทศไทยด้วย ผู้หญิงก็ได้รับผลกระทบ จากการบังคับใช้กฎหมายโดยมีการควบคุมตัวผู้หญิงจํานวน 10 คนและถูกดําเนินคดี 2 คน
5) เด็กได้รับผลกระทบจากความรุนแรงเสียชีวิตจํานวน 3 คน ได้รับบาดเจ็บ 6 คน และถูกบังคับเก็บดีเอ็นเอจํานวน 4 คน เหตุระเบิดส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บ
6) นักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวทางอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐรวมทั้งสิ้น 7 คน มีการใช้กฎหมายควบคุมการเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมมีนักกิจกรรม ทางการเมืองถูกตัดสินมีความผิดฐานละเมิดพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจํานวน 2 คดี และถูกตัดสินมีความผิดเพราะใช้เสียงดัง กรณีนักเคลื่อนไหวเพื่ออัตลักษณ์มลายูถูกเรียกไปพบ และกดดันในเรื่องการทํากิจกรรมต่างๆ และสุดท้ายยังคงมีความล่าช้าในกระบวนการ สันติภาพ ถึงแม้ว่ามีการพบปะระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยและ BRN หลายครั้ง แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากปัญหาทางการเมืองของประเทศมาเลเซีย และไม่สามารถบรรลุข้อตกลงบางประการระหว่างสองฝ่าย จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกลุ่มด้วย ใจขอนําเสนอข้อเรียกร้องต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้
การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน
1. กฎหมายและนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ยกเลิกการประกาศใช้กฎหมายพิเศษไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึก พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือตรวจสอบให้แน่ใจว่ามาตรการฉุกเฉินมีความจําเป็น ได้สัดส่วน และจํากัดเวลา จํากัดเฉพาะที่จําเป็นอย่างเคร่งครัดตามความเร่งด่วนของสถานการณ์
2. ความรับผิดของหน่วยงานที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ควรมีกลไกการตรวจสอบอย่างโปร่งใสโดยบุคคลภายนอก และผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ควรมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบ และควรมีระบบและกลไกที่ผู้เสียหายสามารถเข้าถึงการชดใช้ทั้งในรูปแบบการชดเชย ฟื้นฟูและการเยียวยาสภาพร่างกายและจิตใจโดยไม่เลือกปฏิบัติ
3. พื้นที่สาธารณะ ควรใช้มาตรการสร้างความเชื่อมั่นเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจกับ องค์กรภาคประชาสังคมและอํานวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมกับสถาบัน ของรัฐโดยไม่ต้องตอบโต้ด้วยการใช้กฎหมายและประกันว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบได้รับการเคารพและคุ้มครอง
การสนับสนุนและผลักดันกระบวนการสันติภาพ
- การบรรลุการมีส่วนร่วมจําเป็นต้องระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในพื้นที่เหล่านี้ สร้างโอกาสสําหรับการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย และการเชื่อมโยงประเด็นที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มที่ต่อต้าน
- การรับรองความโปร่งใส และการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถช่วยให้กระบวนการนี้มีความชอบธรรมได้มากขึ้น ควรมีการอํานวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมโดยสร้างช่องทางต่างๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์หรือรายการวิทยุ ซึ่งประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมของตน
- กําหนดให้สตรีมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการสร้างสันติภาพ และการรักษาสันติภาพในทุกระดับ