25 ตุลาคม 2565 พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ในการขอเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ดังกล่าว
6 มกราคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้ทำหนังสือถึง สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ว่ามีปัญหาขัดข้องในการเตรียมการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.
26 มกราคม 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ส่งจดหมายถึงกระทรวงยุติธรรมและนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำถึงความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายตามกำหนด ไม่ควรขยายเวลาบังคับใช้ ทั้งยังจัดทำข้อเสนอด้านการดำเนินงานต่อหน่วยงาน
31 มกราคม 2566 คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ได้ส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจัดทำข้อเสนอแนวทางการบังคับใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ไม่เห็นควรขยายระยะเวลาการบังคับใช้ และเห็นว่าหน่วยงานภาคปฏิบัติได้เตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่องได้แก่กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ปฏิบัติกาสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปกตร.สน) โดยเฉพาะหน่วยปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า)
10 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานอัยการสูงสุดยังได้จัดทำแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายอย่างละเอียด ทั้งในเรื่องการตรวจสอบการจับกุม การรับแจ้งการจับ การสืบสวนสอบสวนกรณีมีเรื่องร้องเรียนเรื่องการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
ขั้นตอนการขอเลื่อนการบังคับใช้พรบ.ทรมานอุ้มหายคือ
14 กุมภาพันธ์ 2566 นายกรัฐมนตรีโดยการเสนอของ รมต. ยุติธรรมจัดให้มีวาระในประชุม ครม. มีมติ ครม. ให้เลื่อนฯ จะผลให้เกิดการเลื่อนการบังคับใช้ทันทีไม่ต้องให้สภาผู้แทนราษฎรรับรอง กฎหมายลักษณะนี้เรียกว่าพระราชกำหนด
สภาผู้แทนราษฎรจะต้องรับรองอีกครั้ง พระราชกำหนดจะมีสถานะเป็นพระราชบัญญัติ (เปลี่ยนแค่ชื่อสถานะกฎหมายเท่ากัน เลื่อนการบังคับใช้ได้)
เห็นชัดว่าข้ออ้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มิใช่กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ที่รัฐบาลจะเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายระดับพระราชบัญญัติโดยให้ตราเป็นพระราชกำหนด เพราะมิใช่กรณีฉุกเฉิน มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และเงื่อนไขอื่นๆตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา172 [1] ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2562 แต่อย่างใด
พรบอุ้มต้องไม่หาย
19 เมษายน 2566 พ.ร.ก. เลื่อนการบังคับใช้ พรบ. ทรมาน เสนอให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีทำให้การเลื่อนหรือขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายสำคัญฉบับนี้มีผลทันที รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็วเช่นเปิดสมัยประชุมสามัญนัดหน้า หากชักช้าต้องเรียกสมัยประชุมวิสามัญ หากมีการยุบสภา การเลื่อนหรือขยายระยะเวลาการบังคับใช้ พรบ. ป้องกันการทรมานอุ้มหายก็จะมีผลไปจนกว่าจะมีสภาผู้แทนราษฎรใหม่มาพิจารณา มีผลให้การเลื่อนการบังคับใช้มีผลไประยะหนึ่งหรือตลอดไป
สส. หรือประชาชนผู้เดือดร้อนเสียหายอาจจะต้องใช้การยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ส่งผลเหมือนกันคือกฎหมายฉบับนี้จะถูกทำให้ล้าช้าไป และไม่สามารถบังคับใช้เพื่อคุ้มครองประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐน้ำดีได้
รัฐบาลไม่มีความชอบธรรม และความจำเป็นในการเลื่อนการใช้บังคับ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ออกไป ไม่ว่าโดยวิธีใดแล้ว การเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวออกไป จะแสดงให้เห็นถึงความ “ไม่เต็มใจ” (unwilling) ของรัฐบาลในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ตามอนุสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นซึ่งล่าช้ามากว่าสิบปีแล้ว
การเลื่อนการบังคับใช้เป็นการสวนทางกับเจตนารมณ์ของปวงชนชาวไทยที่เรียกร้องต้องการ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ เพื่อขจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่การทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
กฎหมายฉบับนี้เป็นเจตนารมณ์ของปวงชนชาวไทยสะท้อนให้เห็นจากการรณรงค์ร่วมด้วยกับองค์กรภาคประชาสังคมมากว่า 10 ปี จนมีการลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวของสภาผู้แทนราษฎรโดยมติเอกฉันท์ ดังนั้นรัฐบาล ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่มีความชอบธรรมใดๆ ที่จะเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายออกไป


