อีกไม่ถึง 5 วัน พรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ก.พ. 66 เวลา 00.01
อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 66 ที่ผ่านมา ครม. มีมติเห็นชอบให้ออก พรก. เลื่อนการบังคับใช้มาตรา 22-25 ของ พรบ. มีผลจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 66 มาตราดังกล่าว เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันการทรมานโดยเฉพาะในขั้นตอนของการจับกุม ได้แก่ การบันทึกภาพ และเสียง การแจ้งการจับ การทำบันทึกจับกุม การเข้าถึงข้อมูล และการไม่เปิดเผยข้อมูล แม้ว่าเนื้อหาของ พรบ. เหล่านี้อาจจะยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่เนื้อหาส่วนอื่นๆ จะยังมีผลอยู่
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ชวนอ่าน 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พรบ. ทรมานอุ้มหายฯ
กฎหมายฉบับนี้มีพื้นฐานมาจากหลักสิทธิมนุษยชนสากลหลายประการ เช่น หลักการห้ามมิให้ริดลอนสิทธิโดยเด็ดขาด (non-derogation) กรณีนี้คือการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการอุ้มหาย ไม่สามารถกระทำได้ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม รวมถึงในภาวะสงคราม
หลักการห้ามผลักดันกลับ (non-refoulement) บุคคล เช่น ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย กลับสู่ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่มาที่เสี่ยงในการทำให้พวกเขาจะต้องเผชิญอันตราย เช่น การควบคุมตัวโดยมิให้ติดต่อโลกภายนอก การทรมาน การประหัตประหาร
เขตอำนาจสากล (universal jurisdiction) ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ฐานทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการอุ้มหาย แม้ว่าการกระทำจะเกิดนอกประเทศไทย สามารถถูกดำเนินคดีเอาผิดภายใต้กระบวนการยุติธรรมไทยได้
4 วันจากนี้ ครม. พรก. และ พรบ. จะเป็นอย่างไรต่อ ร่วมจับตา ถ่างตา ติดตามกันค่ะ