[:th]CrCF Logo[:]
[:th]ลำดับเหตุการณ์ พรบ. อุ้มหาย[:]

Infographic: เปิดลำดับเหตุการณ์ ความพยายามเลื่อนการบังคับใช้ พรบ. อุ้มต้องไม่หาย

Share

การเลื่อนการบังคับใช้เป็นการสวนทางกับเจตนารมณ์ของปวงชนชาวไทยที่เรียกร้องต้องการ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ เพื่อขจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่การทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

กฎหมายฉบับนี้เป็นเจตนารมณ์ของปวงชนชาวไทยสะท้อนให้เห็นจากการรณรงค์ร่วมด้วยกับองค์กรภาคประชาสังคมมากว่า 10 ปี และมีการลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวของสภาผู้แทนราษฎรโดยมติเอกฉันท์ ดังนั้นรัฐบาล ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่มีความชอบธรรมใดๆ ที่จะเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายออกไป

สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม Ministry Of Justice, Thailand สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ขั้นตอนการขอเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ. ทรมานอุ้มหายฯ.

ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 วรรคสามกำหนดให้ เมื่อประกาศใช้ พ.ร.ก. แล้ว ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้ ครม. เสนอ พ.ร.ก. นั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุม และการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พ.ร.ก. โดยเร็ว

ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 กำหนดให้ ก่อนที่สภา ส.ส. หรือ สภา ส.ว. จะอนุมัติ พ.ร.ก. หากเห็นว่า พ.ร.ก. ขัดกับมาตรา 172 วรรคแรก คือ ไม่เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ส.ส. หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอต่อประธานสภาของตน เพื่อให้ประธานสภาส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และให้ชะลอ พ.ร.ก. ฉบับนั้นไว้ก่อน หลังจากนั้นให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และให้ศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ส่งความเห็นนั้นมา

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคแรก ให้ พ.ร.ก. ฉบับนั้นไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น

#tortureact #torturefreethailand #พรบอุ้มต้องไม่หาย #พรบทรมานอุ้มหาย #CrCF