ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะนําเสนอพิธีสารมินนิโซตาว่าด้วยการ สืบสวนสอบสวนกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตที่มิชอบด้วยกฎหมาย ค.ศ. 2016 (Minnesota Protocol on the Investigation of Potentially Unlawful Death (2016)) ฉบับปรับปรุงแก้ไขนี้
พิธีสารนี้คือฉบับแก้ไขปรับปรุงของคู่มือสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกัน และการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีการสังหารนอกกฎหมายตามอําเภอใจ และโดยการพิจารณาอย่างรวบรัด ค.ศ. 1991 และ เป็นที่รู้จักในนามพิธีสารมินนิโซตาจากการนําไปใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่นเดียวกับคู่มือฉบับก่อนการแก้ไขปรับปรุง พิธีสารนี้เป็นเอกสารประกอบหลักการสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีการสังหารนอกกฎหมาย ตามอําเภอใจ และโดยการ พิจารณาอย่างรวบรัด ค.ศ. 1989 ซึ่งทําหน้าที่เป็นมาตรฐานกฎหมายระหว่าง ประเทศที่สําคัญในการป้องกันการเสียชีวิตที่มิชอบด้วยกฎหมายและการ สืบสวนสอบสวนกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตที่มิชอบด้วยกฎหมาย
พิธีสารมินนิโซตาฉบับก่อนการปรับปรุงแก้ไขถูกร่างขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นําโดยคณะกรรมการทนายความแห่งมินนิโซตาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเกิดจากความตระหนักในหมู่นักกิจกรรมภาค ประชาสังคม ณ เวลานั้นว่ายังขาดซึ่งเอกสารอ้างอิงระหว่างประเทศที่สามารถนํามาใช้เป็นคู่มือปฏิบัติงานสําหรับผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนกรณี เสียชีวิตที่น่าสงสัย หรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินผลการสืบสวน สอบสวนดังกล่าว
งานที่ริเริ่มโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ตลอดทศวรรษ 1980 ได้แสดงให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นโดยชัดเจนว่าผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์สามารถ มีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนาการให้ความคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนความสําเร็จในการจัดทําพิธีสารมินนิโซตาซึ่งครอบคลุมกรณีที่เกี่ยวข้องกับ การสังหาร ตามด้วยการพัฒนาหลักการว่าด้วยการสอบสวนและการจัดทํา เอกสารอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี (พิธีสารอิสตันบูล) ซึ่งเน้น ประเด็นการทรมาน ทําให้ความร่วมมือทางวิชาชีพดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดา ในปัจจุบัน
นับตั้งแต่ปีที่พิธีสารมินนิโซตาถูกร่างขึ้นมา พิธีสารดังกล่าวถูกใช้อย่าง แพร่หลายทั้งในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษา เป็นคู่มือการปฏิบัติงาน และเป็นมาตรฐานทางด้านกฎหมาย ทั้งยังถูกอ้างอิงโดยศาล คณะกรรมาธิการ คณะกรรมการ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ ระหว่างประเทศ ประกอบกับหลักการ ฯ อาทิ โดยศาลสิทธิมนุษยชนแห่ง ยุโรปและระหว่างรัฐอเมริกา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนและสิทธิปวงชน แห่งแอฟริกัน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
อย่างไรก็ตาม ระหว่างช่วงปีเหล่านั้นได้มีพัฒนาการที่อันน่ายินดีเกิดขึ้น มากมายทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศ วิธีปฏิบัติในการสืบสวนสอบสวน และนิติวิทยาศาสตร์ อีกทั้งสํานักงานของข้าพเจ้าได้สังเกตผ่านมติต่างๆ ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและเห็นว่าแหล่งข้อมูล อันมีคุณค่าเช่นนี้จําเป็นที่จะต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อรักษาและ ขยายประเด็นต่างๆ ที่สัมพันธ์กันออกไป ในปี ค.ศ. 2014 นายคริสตอฟ เฮนส์ ผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการการสังหารนอกกฎหมาย ตามอําเภอใจ และโดยการพิจารณาอย่างรวบรัดแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับสํานักงานของข้าพเจ้าได้ริเริ่มกระบวนการแก้ไขทบทวน และปรับข้อมูลของพิธีสารให้เป็น ปัจจุบัน และจัดให้มีการประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญขึ้น ซึ่งนําไปสู่การทําให้ คู่มือนี้เสร็จสมบูรณ์
เมื่อพิจารณาถึงบทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการจัดทําพิธีสารฉบับแรกเริ่ม การที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้มากมายเข้าร่วมในกระบวนการแก้ไขในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ในทํานองเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงบทบาทที่สําคัญยิ่งของ นาย เอส. อามอส วาโก้ (S. Amos Wako) ผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการการสังหารนอกกฎหมาย ตาม อําเภอใจ และโดยการพิจารณาอย่างรวบรัดแห่งสหประชาชาติคนแรก ใน กระบวนการจัดทําพิธีสารฉบับเดิม ข้าพเจ้าชื่นชมในการทํางาน ความเฉียบ ขาด และความยอดเยี่ยมของ นายคริสตอฟ เฮนส์ (Christof Heyns) อดีตผู้ เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการการสังหารนอกกฎหมาย ตามอําเภอใจ และ โดยการพิจารณาอย่างรวบรัดแห่งสหประชาชาติ เป็นอย่างยิ่ง ในการแก้ไข ปรับปรุงพิธีสารที่สําคัญนี้ได้อย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่าเอกสารนี้ยังคงเป็น การริเริ่มของผู้เชี่ยวชาญ แต่คณะทํางานก็ได้พยายามรวบรวมข้อเสนอแนะ จากรัฐต่างๆ องค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ผู้เสนอรายงานพิเศษทั้งหลาย กลไลต่างๆภายใต้สนธิสัญญา องค์กรเอกชนและบุคคลหลากหลายวิชาชีพ
ความร่วมมือดังกล่าวนี้ส่งผลอย่างยิ่งต่อเนื้อหาของพิธีสาร และข้าพเจ้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทําให้พิธีสารที่ถูกแก้ไขปรับปรุงฉบับนี้ถูกเผยแพร่อย่าง แพร่หลายไปสู่ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรต่าง ๆ ที่จะได้รับประโยชน์โดยตรง จากเอกสารฉบับนี้
ทั้งนี้ การโต้ตอบอย่างเป็นรูปธรรมต่อการละเมิดสิทธิที่อาจเกิดขึ้นเป็น ปัจจัยสําคัญเพื่อให้บรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนก่อเกิดผลได้อย่างแท้จริง การสืบสวนสอบสวน และกระบวนการรับผิดที่ตามมาในกรณีที่เหมาะสมนั้นมี บทบาทที่สําคัญอย่างยิ่งในการธํารงไว้ซึ่งสิทธิในชีวิต ทว่า ในหลายๆบริบทที่ สํานักงานของข้าพเจ้าปฏิบัติงานอยู่ เราพบว่าการตระหนักรู้ถึงมาตรฐานในการดําเนินการสืบสวนสอบสวนต่างๆและระเบียบวิธีการเฉพาะทาง หลากหลายรูปแบบ มีความแตกต่างกันอยู่พอควร
การเสียชีวิตอย่างน่าสงสัยที่เกิดขึ้นในแห่งหนใดของโลกอาจเป็นการ ละเมิดสิทธิในชีวิต ซึ่งมักถูกกล่าวถึงว่าเป็นสิทธิมนุษยชนสูงสุด และการ สืบสวนสอบสวนอย่างทันที เป็นกลางและมีประสิทธิภาพเป็นหาทางเดียวที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าวัฒนธรรมของการรับผิดแทนที่จะเป็นการยกเว้นไม่ต้องรับผิด—บังเกิดผลได้ เช่นเดียวกับกรณีการบังคับให้สูญหาย พิธีสาร มินนิโซตาฉบับปรับปรุงแก้ไขนี้ครอบคลุมและเป็นจุดร่วมสําหรับผู้สืบสวน ด้านนิติเวช นักพยาธิวิทยา เจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย ทนายความ อัยการ เช่นเดียวกับ NGOs และกลุ่มอื่นๆ เพื่อให้การรับผิดเก็บขึ้นจริงทั่วโลก
ไซอิด รา’เอด อัล ฮุสเซน (Zeid Ra’ad Al Hussein)
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ