1. ”การขังระหว่างพิจารณาคดี” เป็นข้อยกเว้น หลักความยุติธรรมทางอาญา คือต้องปล่อยตัวเป็นหลัก ขังระหว่างพิจารณาคดีเป็นข้อยกเว้น หากศาลไม่ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีเหตุผลทางกฎหมาย ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2. ผู้ต้องหาทางการเมือง
• ไม่คิดหลบหนี
• ไม่สามารถไปยุ่งเหยิงพยาน
• ไม่ไปก่อเหตุอันตรายใดใดได้
• ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน
จึงไม่มีเหตุผลที่ศาลจะส่งให้ขังระหว่างพิจารณาคดี
3. แม้มี ก.ม. ให้ติด EM แก่ผู้ต้องหา/จำเลยได้
• ตามมาตรา 108 วรรค 3 วิอาญา หากมีเหตุผลทางกฎหมายให้ขังผู้ต้องหา/จำเลยระหว่างพิจารณาคดี ศาลกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่
หรือเงื่อนไขอื่นใด หรือหากยินยอมให้ติด EM ทั้งหมดนี้เพื่อป้องกันการหลบหนี โดยกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่การกำหนดหลายเงื่อนไขในคำสั่งเดียว
• ตามมาตรา 112 วรรค 3 วิอาญา การกำหนดเงื่อนไขต่างๆ จะต้องยึดหลักความจำเป็น ในสัญญาประกันจะกำหนดภาระหน้าที่หรือเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว หรือผู้ประกันต้องปฏิบัติเกินความจำเป็นแก่กรณีมิได้”

4. การติด EM ต่อผู้ต้องหา/จำเลย ที่ศาลยังไม่ให้ตัดสิน เป็นการขัดหลักการพิ้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน
• ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
• สิทธิความเป็นส่วนตัว
• หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จะปฎิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยอย่างผู้กระทำความผิดไม่ได้
5. การใช้ EM หรือการกำหนดเงื่อนไขให้อยู่ที่เคหสถานที่มีลักษณะที่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย (Preventive detention) ควรใช้ในกรณีที่ศาลมีความพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยกระทำความผิดแล้วเท่านั้น
6. ผู้ต้องหาคดีการเมือง จำยอมให้ติด EM เพราะศาลกำหนดเงื่อนไข ว่าหากไม่ยอมติดจะต้องถูกขังระหว่างพิจารณาไม่ได้รับการปล่อยตัว
• การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามกระทำลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ซ้ำอีก ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่อาจทำให้เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ อาจมีผลให้ถูกถอนประกันได้ ถือเป็นเงื่อนไขที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม และยังไม่ได้สัดส่วนเนื่องจากยังไม่มีการพิสูจน์ว่ากระทำผิด