[:th]CrCF Logo[:]

ประโยชน์ของการมีกล้องติดตัวในงานตำรวจ (Body-Worn Camera – BWC)

Share

รายงานวิจัยจัดทำโดย PERF ชี้ให้เห็นว่าการมีบันทึกภาพ และเสียงผ่านกล้องติดตัวช่วยให้การทำงานของตำรวจมีความโปร่งใสต่อสาธารณะมากขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนการปฏิบัติงานตำรวจ

ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส

  • กล้องติดตัวทำให้ภาพลักษณ์ของตำรวจเองมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
  • กล้องติดตามตัวช่วยป้องกันปัญหาหรือการก่ออาชญากรรมได้อีกด้วย
  • สถานีตำรวจหลายแห่งที่ใช้ระบบนี้ได้รับเรื่องร้องเรียนน้อยลง
  • การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
  • กระบวนการดำเนินคดีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะขั้นตอนของการรวบรวมพยานหลักฐาน

ลดจำนวนเรื่องร้องเรียนและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่
ในการทดลองประสิทธิภาพของกล้องติดตัวที่สถานีตำรวจในแคลิฟอเนีย โดยให้เจ้าหน้าที่สุ่มติดกล้องเข้ากะ ผลการศึกษาพบว่า

  • มีเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ใช้กำลังในระหว่างปฏิบัติงานน้อยลงกว่า 60%
  • มีจำนวนเรื่องร้องเรียนจากประชาชนน้อยลงกว่า 88%
  • เจ้าหน้าที่และประชาชนปฏิบัติตัวต่อกันดีขึ้นหรือมีความเป็นมืออาชีพต่อหน้ากล้องนั่นเอง
  • บันทึกวีดีโอเป็นหลักฐานชั้นดี
  • ช่วยลดข้อร้องเรียนหรือข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูล และประหยัดเวลาและทรัพยากรในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน

ระบุ และแก้ไขปัญหาภายในองค์กรตำรวจ
กล้องติดตัวสามารถใช้ในงานภายในองค์กรตำรวจได้ เช่น “การอบรมและการประเมินศักยภาพ” ในการอบรมฝึกทักษะ ฟุตเทจวีดีโอที่ได้จากการปฏิบัติงานจะมีประโยชน์อย่างมากเนื่องจากเป็นภาพจากสถานการณ์จริง ในการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน

  • เจ้าหน้าที่จะถูกตรวจสอบได้โดยตรงจากบันทึกภาพ และเสียง
  • ช่วยให้ผู้ประเมินสามารถระบุช่องโหว่ของการทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น ด้านกลยุทธ ด้านการสื่อสาร หรือด้านการบริการ ในเชิงระบบหรือโครงสร้าง
  • พัฒนาและแก้ปัญหาภายในองค์กรได้ เช่น การนำบันทึกเหล่านี้ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพไปศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบข้อเสนอแนะหรือนโยบายใหม่

การเก็บพยานหลักฐาน และการบันทึกข้อเท็จจริง

  • วีดีโอฟุตเทจที่ได้จากกล้องติดตัวตำรวจถือเป็นพยานหลักฐานชั้นดี
  • มีส่วนช่วยในกระบวนการสืบสวนสอบสวนไปจนถึงชั้นศาล
  • ข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการสืบสวน การจับกุม สถานที่เกิดเหตุจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมดอย่างเที่ยงตรง
  • ลดภาระในการทำงาน เช่น กรณีอุบัติเหตุ การย้อนกลับมาสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์เพียงอย่างเดียวอาจทำให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตกหล่นได้ หรือกรณีความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเหยื่ออาจเปลี่ยนคำให้การหรือต้องการถอนฟ้องในภายหลัง
  • การใช้กล้องติดตัวบันทึกภาพและเสียงให้การตั้งแต่ครั้งแรกจะทำให้เจ้าหน้าที่มีหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีต่อ สืบเนื่องจากภาพบาดแผลหรือคำให้การที่ได้มา
  • หลักฐานที่ชัดเจนและเที่ยงตรงจะทำให้ผู้ต้องหารับสารภาพ
  • คดีจะจบลงได้เร็ว มีประสิทธิภาพ และทดแทนเทคนิคนอกกฎหมาย เช่น การข่มขู่ คุกคาม ทรมาน ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

กล้อง Body Worn Camera หรือกล้องติดตัวสำหรับงานตำรวจมีประโยชน์อย่างมาก และองค์กรตำรวจในหลายๆ ประเทศเปิดรับเทคโนโลยีนี้มาใช้อย่างกว้างขวาง ในรายงานฉบับนี้ไม่เพียงแต่ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของกล้องติดตัว แต่ยังกล่าวถึงข้อกังวลที่เจ้าหน้าที่หรือองค์กรอาจมีในช่วงของความพยายามในการนำกล้องมาใช้ระยะแรกอีกด้วย

โดยหนึ่งในข้อเสนอแนะของรายงานระบุว่า การนำกล้องมาใช้ไม่จำเป็นต้องปรับใช้กับเจ้าหน้าที่ทุกนายโดยทันที หากแต่เริ่มขั้นทดลองไปทีละเล็กทีละน้อย พร้อม ๆ กับการฝึกอบรมการใช้งาน โดยตั้งกลุ่มการทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ

ข้อมูลจากรายงานเรื่อง Implementing a Body-Worn Camera Program: Recommendations and Lessons Learned” โดย PERF อ่านต่อได้ที่: http://www.justice.gov/…/reso…/472014912134715246869.pdf