เป็นที่ทราบกันดีว่าเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมาเกิดวิกฤตปัญหาต่างๆ มากมายในบ้านเมืองเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตปัญหาทางการเมือง เริ่มต้นจากมีการชุมนุม ประท้วงขับไล่รัฐบาล เล่นการเมืองบนท้องถนน จนเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย กลายเป็นข้ออ้างในการทํารัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ แต่ก็ไม่สามารถ ยุติปัญหาความขัดแย้งได้
ในทางตรงข้ามสถานการณ์ความขัดแย้งกลับทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการนองเลือดขึ้น มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจํานวนมาก หลังจากนั้นก็มีการแบ่งกลุ่มแบ่งสีแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน เกิดความเคียดแค้น ชิงชังในหมู่ประชาชนอย่างลึกซึ้งกว้างขวางอย่างชนิดที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน สุดท้ายก็เกิดการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๗
หลังการรัฐประหารครั้งนี้ แม้จะยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือด แต่ความแตกแยกขัดแย้งก็ยังดํารงคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้โดยไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ Covid-๑๙ และวิกฤตทางเศรษฐกิจ จึงส่งผลทําให้อุณหภูมิอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนร้อนระอุครุกรุ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และดูเหมือนว่าพร้อมที่จะปะทุระเบิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
สรรพสิ่งล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เมื่อการเมืองมีปัญหาย่อมส่งผลกระทบ ต่อทุกองคาพยพในสังคม ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรหนึ่งที่จําต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการตัดสินชี้ขาดปัญหาข้อพิพาทความขัดแย้งต่างๆ ถือเป็น บทบาทหน้าที่หลักของศาลโดยตรง แต่คดีที่เกี่ยวข้องสืบเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองจะมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีประเภทอื่นทั่วไป เพราะมูลเหตุจูงใจให้ กระทําคือแนวคิดอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน หลายครั้งหลายกรณีเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินชี้ขาดได้ว่าใครผิดใครถูก เพราะต้องพิจารณาถึงเหตุปัจจัยและเงื่อนไข ข้อเท็จจริงต่างๆ มากมาย
อีกทั้งยังมีกลุ่มอํานาจ และผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้องจํานวนมาก อาจกล่าวได้ว่าทุกคนในประเทศเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น ในการตัดสินคดีของศาลจึงก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง มีความคิดเห็น มีการวิพากษ์วิจารณ์ มีอารมณ์ ความรู้สึกที่แตกต่างหลากหลาย และไม่ว่าศาลจะตัดสินชี้ขาดอย่างไร ย่อมมีกลุ่มคนได้ คนเสีย เห็นด้วยไม่เห็นด้วย พอใจไม่พอใจเสมอ ฝ่ายที่ได้ประโยชน์ก็มักจะบอกว่าศาลตัดสินยุติธรรมดีแล้ว ฝ่ายที่เสียประโยชน์ก็มักจะกล่าวหาว่าศาลไม่ยุติธรรมลําเอียง
จริงๆ แล้วปัญหาทางการเมืองต้องแก้ไขด้วยวิถีทางทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กระบวนการในระบบรัฐสภา กว่าสิบปีที่ผ่านมาน่าจะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการพยายามใช้ศาลเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาทางการเมืองไม่ได้ผล โดยนอกจากจะไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้แล้ว ยังจะกลายเป็นการสร้างปมปัญหาให้มีความสลับซับซ้อนและ ถลําลึกแก้ไขยากมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลก็เป็นเรื่องยากที่จะถอยหลังกลับ
เนื่องจากโดยกระบวนการของกฎหมายทุกฝ่ายต้องถูกบังคับให้ เดินหน้าต่อ ไม่อยากเดินก็ต้องเดิน เพราะไม่มีทางเลือก เดิมพันชีวิต อํานาจ ผลประโยชน์ และการต่อสู้แย่งชิงย่อมทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่โอกาสใน การหันหน้าเข้ามาเจรจาตกลงกันอย่างสันติก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ เป็นสัดส่วนผกผันกัน
แต่ตราบใดที่ฝ่ายการเมืองยังเผชิญหน้าหาทางออกจากวิกฤตปัญหาตามครรลอง ประชาธิปไตยไม่ได้ โดยกลไกของระบบศาลย่อมถูกบังคับให้ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวจัดการ แก้ไขตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป ไม่อยากทําก็จําต้องทํา หาไม่แล้วบ้านเมืองย่อมไร้ชื่อแป
ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ยามใดเมื่ออีกสองเสาอ่อนแอผุกร่อนทรุดโทรม ฝ่ายตุลาการ ต้องมีความแข็งแกร่งมากเป็นพิเศษ หาไม่แล้วย่อมไม่อาจช่วยค้ํายันพยุงชาติบ้านเมือง ให้อยู่รอดปลอดภัยได้
หนังสือเล่มนี้ มีเจตนาเขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักสําคัญเพื่อต้องการให้ศาล ยุติธรรมมีความเข้มแข็งและได้รับความเชื่อมั่นศรัทธาจากประชาชนมากยิ่งขึ้น เนื้อหา สาระของหนังสือเป็นการวิเคราะห์ให้ความเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและบทบาท หน้าที่ของศาลยุติธรรม ทั้งในส่วนที่เป็นเรื่องภายใน และที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอํานาจ อธิปไตยในภาพใหญ่ของประเทศ โดยอาศัยหลักคําสอนในศาสนาพุทธเป็นแนวทางอันสําคัญ
เพราะจากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาเรียนรู้มา แม้จะไม่ได้มีภูมิรู้ภูมิธรรมในขั้นสูง ลึกซึ้งมากมาย แต่ก็มีความเชื่อมั่นโดยไม่มีข้อลังเลสงสัยใดๆ เลยว่า หลักธรรมคําสอน ของพระพุทธเจ้าสามารถนํามาปรับใช้สําหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ทุก เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัว ชุมชน ประเทศ หรือโลก
ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นธรรมะ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ด้วย บ้านเมืองเราตอนนี้มี วิกฤตปัญหาน้อยใหญ่มากมาย ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ ทั้งปัญหา และโอกาสก็เป็น ธรรมะ ถ้าอุปมาธรรมะเป็นเหมือนดั่งทองค่า สิ่งที่นําเสนอในหนังสือเล่มนี้ก็คงเป็น เพียงแค่เศษสะเก็ดทองคําชิ้นเล็กๆ ที่ผู้เขียนนํามาแสดงเพื่อบอกกล่าวป่าวประกาศแก่ ประชาชนคนไทยว่า แหลมทองแดนสยามแห่งนี้มีทองคํามากมายเต็มแผ่นดิน ท่านทั้งหลายจงมาช่วยกันขุดหาเถิต
หากพิจารณาตาม หลักอิทัปปัจจยตา การที่จะทําให้ศาลยุติธรรมมีความ เข้มแข็งได้ ต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากประชาชน เพราะการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ในองค์กรศาลหรือที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้การอํานวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องอาศัยเครื่องมือหลักสําคัญ 2 ประการคือ กฎหมาย ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตราขึ้น และเงินงบประมาณ ซึ่งมาจากภาษีอากรประชาชน
ด้วยเหตุนี้ จึงสมควรอย่างยิ่งที่ประชาชนคนไทยในฐานะที่เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตยที่แท้จริงควรจะได้มีส่วนรับรู้สภาพปัญหา และบทบาทหน้าที่ของศาล เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดความเห็น วิพากษ์วิจารณ์ สะท้อนปัญหา เสนอแนะ แนวทางแก้ไข หรือดําเนินการใดๆ ตามบทบาทหน้าที่ของตน ในอันที่จะช่วย เสริมสร้างทําให้ศาลยุติธรรมมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นต่อไป
สําหรับบุคลากรภายในศาลยุติธรรม ขออ้างอิงแนวคิดความเห็นที่ว่า การแสดงความซื่อสัตย์ภักดี หรือกตัญญูรู้คุณต่อองค์กรที่สําคัญยิ่งข้อหนึ่งนอกเหนือจากการมุ่งมั่นตั้งใจทุ่มเทเสียสละทํางานเพื่อองค์กรคือ การวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิด ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่หรือปัญหาขององค์กรอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้คน ในองค์กรได้รู้เห็นความจริงร่วมกัน และสามารถปรับตัวได้ทันหรือสอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลง องค์กรจะได้อยู่รอดและพัฒนาก้าวหน้า
เพราะคนที่รู้ข้อมูล จุดอ่อนจุด แข็ง แนวทาง วิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุดก็คือคนในองค์กรเอง หากคนในองค์กรเพิกเฉยละเลย ไม่กล้าพูดความจริง และไม่จัดการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง สุดท้ายคน นอกก็จะเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้ ซึ่งด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาด ข้อมูลรายละเอียดในเชิงลึกและความรักผูกพันที่มีต่อองค์กรเหมือนคนภายใน ยิ่งแก้ก็อาจจะยิ่งยุ่ง
หากเนื้อหาสาระในหนังสือขาดตกบกพร่อง ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน รอบด้านหรือตรงไปตรงมามากเกินไป ทําให้ผู้อ่านท่านใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งครู อาจารย์ และเพื่อนผองน้องพี่ผู้พิพากษาทั้งหลาย รู้สึกอึดอัด คับข้อง ไม่สบายใจ ก็ต้อง ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย และขอน้อมรับคําตําหนิติเตียนด่าว่าเพื่อนําไปขบคิดพิจารณา ทบทวนแก้ไขโดยไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ทั้งสิ้น
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ก็ขอกล่าวยืนยันว่าทุก ตัวอักษรในหนังสือเล่มนี้ล้วนกลั่นกรองมาจากหัวใจที่ซื่อสัตย์ภักดี กตัญญูรู้คุณ และความรักผูกพันในองค์กรศาล รวมทั้งความสํานึกในบุญคุณราษฎรที่เสียภาษีเลี้ยงดู ข้าราชการเช่นผู้เขียนมาตลอดชีวิต ไม่ได้มีเจตนาร้ายติดทําให้องค์กรเสียหายหรือมี อคติเกลียดชังชาติ แต่อยากให้ ศาลยุติธรรม เป็นที่พึ่งที่หวังของสังคมได้อย่าง สมเกียรติสมศักดิ์ศรีสมกับเป็นเสาหลักหนึ่งในสามแห่งอํานาจอธิปไตยและอยากให้
ประเทศไทย มีความมั่นคง แข็งแรง อบอุ่นปลอดภัย ประชาชนทุกหมู่เหล่าอยู่อาศัย ร่วมกันอย่างสันติ มีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุขและเจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้นไป
โสต สุตานันท์