คู่มืออาสาสมัคร นักสิทธิมนุษยชนหญิงรุ่นใหม่ ใน จังหวัดชายแดนใต้

Share

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรภาคีทํางานในการส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้มาตั้งแต่ปี 2550 พบว่านับจาก เหตุการณ์การปล้นปืนที่ค่ายปีเหล็ง จังหวัดนราธิวาสในปี 2547 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งชาวพุทธ และมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้จํานวนมากได้ตกเป็น เหยื่อของความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดมา ทั้งจากการกระทําของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน และกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ

หลายปีที่ผ่านมา มีองค์กรภาคประชาสังคมเกิดขึ้นมากมาย เพื่อมาเติมเต็มการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนในด้านต่างๆ เพราะรัฐยังไม่สามารถทําหน้าที่ในการปกป้อง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐนํากฎหมายพิเศษมาบังคับใช้ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรง การกระทําของเจ้าหน้าที่บางภาคส่วนส่งผลกระทบ จํากัด ลิดรอน หรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินสมควร หรือละเลยการปกป้องคุ้มครอง และแก้ไขเยียวยา การละเมิดสิทธิ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวองค์กรภาคประชาสังคมจึงมีส่วนสําคัญ ในการช่วยเหลือ สนับสนุน ติดตาม หรือเรียกร้องให้หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ รัฐหลีกเลี่ยงการกระทําอันอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทําหน้าที่ แก้ไขเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น โดยมูลนิธิ และเครือข่าย ได้จัดทําคู่มือฉบับนี้ขึ้นเพื่อให้อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนหญิงที่ทํางานต้วยจิตอาสาภายใต้องค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ทําความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และบทบาทหน้าที่ของตนในการทํางาน เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับผู้ได้รับผลกระทบ

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading