เครื่องมือภาคประชาสังคม เพื่อติดตามการทบทวนและใช้ประโยชน์จากกลไกสิทธิฯ UN

Share

สิ่งพิมพ์ฉบับนี้จัดท่าขึ้นโดย ศูนย์สิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (Centre for Civil and Political Rights หรือ CCPR-Centre) ภายใต้กรอบโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สถานทูตอังกฤษ กรุงเทพฯ (British Embassy Bangkok) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความ พยายามของผู้มีผลประโยชน์ร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคประชาสังคม เพื่อที่จะติดตามผลการ ทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยโดยกลไกสิทธิมนุษยชนต่างๆ ของ องค์การสหประชาชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยการยกระดับการนําข้อเสนอแนะที่รับรองโดยกลไกสิทธิมนุษยชนต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติไปปฏิบัติในขณะนี้ มีข้อมูลจํานวนมากที่ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกลุ่มต่างๆ สามารถเข้าถึงได้ รวมทั้ง เครื่องมือ และข้อมูลที่จัดเตรียมโดย CCPR-Centre เพื่อรายงานสถานการณ์ต่อกลไกสิทธิมนุษยชนต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อนําเข้าสู่กระบวนการทบทวน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูล หรือแนวทางสําหรับ การติดตามผลหลังจากกระบวนการทบทวน ตัวอย่างเช่น ข้อมูลด้านการ ติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สําคัญอย่างไม่มีข้อสงสัยในกลไกการทบทวน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ สิ่งพิมพ์ฉบับนี้จึงถูกจัดทําขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างนั้น โดยการให้ข้อมูลที่สามารถนําไปปฏิบัติได้จริงสําหรับภาคประชาสังคมเพื่อยกระดับการนําข้อเสนอแนะ ที่รับรองโดยกลไกสิทธิมนุษยชนต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติไปปฏิบัติ

รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากกระบวนการติดตามผลของกลไกสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องขององค์การสหประชาชาติเพื่อที่จะให้เนื้อหาในสิ่งพิมพ์นี้สามารถนําไปปฏิบัติได้จริงให้มากที่สุด สิ่งพิมพ์ฉบับนี้จึงใช้ กรณีตัวอย่างจากประเทศไทย และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เนื่องจากการคุ้มครองเสรีภาพดังกล่าวเป็นข้อท้าทายร่วมด้านสิทธิมนุษยชนข้อหนึ่งที่ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญ

ในขณะเดียวกัน ข้อมูลที่นําเสนอ และยุทธศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ระบุไว้ในเครื่องมือนี้ สามารถนําไปใช้กับประเด็นอื่นๆ หรือการทบทวนสถานการณ์ของประเทศอื่นๆ ได้องค์ประกอบ ที่สําคัญอีกประการหนึ่งของเครื่องมือฉบับนี้คือ การนําเสนอแนวคิด และรูปแบบสําหรับการใช้ประโยชน์จากกลไกสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติอย่างรอบด้าน กลไกสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติแต่ละกลไกนั้นมีจุดสนใจและจุดแข็งต่างกันไป แต่ไม่มีกลไกใดที่สมบูรณ์แบบ และเราสามารถมองเห็นข้อด้อยได้เสมอ

จากประสบการณ์ทํางานหลายปีของ CCPR-Centre ก็พิสูจน์ได้เป็นที่ประจักษ์ว่าการรวบรวมประสานโอกาส และผลลัพธ์ที่เกิดจากการทบทวนสถานการณ์โดยกลไกสิทธิมนุษยชนต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ สามารถทําให้เกิดผลลัพธ์ภายในประเทศที่ยิ่งใหญ่กว่าและจับต้องได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น เมื่อเรานึกถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐาน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political RightsICCPR) เป็นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชน ที่เป็นหลักสําคัญที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้

เช่น ข้อ 12 (เสรีภาพการเดินทาง) ข้อ 18 (เสรีภาพ ด้านความคิด มโนธรรม และศาสนา) ข้อ 19 (เสรีภาพในการแสดงออก) ข้อ 21 (เสรีภาพในการ ชุมนุมโดยสงบ) ข้อ 22 (เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม) ในขณะเดียวกัน สนธิสัญญาด้าน สิทธิมนุษยชนฉบับอื่นๆ ก็กล่าวถึงประเด็นด้านเสรีภาพขั้นพื้นฐานภายใต้บริบทและขอบเขต ของสนธิสัญญานั้นๆ เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (International Covernant on Economic, Social and Cultural RightsICESCR) ระบุไว้ใน ข้อ 5 (สิทธิในการรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงงานและสิทธิของสหภาพแรงงาน เช่น การนัดหยุดงาน)

อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial DiscriminationCERD) ระบุไว้ใน ข้อ 5 (d) (vi) – (ix) ข้อห้ามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในการใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐาน อนุสัญญา ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against WomenCEDAW) ระบุไว้ในข้อ 3 (การใช้เสรีภาพขั้นพื้น ฐานบนฐานของความเสมอภาค) และข้อ 7(c) (สิทธิที่จะเข้าร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและการ รวมกลุ่มสมาคม)

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the ChildCRC) ระบุไว้ในข้อ 13 (การแสดงออก) ข้อ 14 (ความคิด มโนธรรม และศาสนา) ข้อ 15 (การรวมกลุ่ม สมาคมและการชุมนุมโดยสงบ) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน โยกบ้านถิ่นฐานและครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their FamiliesICMV) ระบุไว้ในข้อ 12 (ความคิด มโนธรรม และศาสนา)

และข้อ 13 (การแสดงออกและสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร) อนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with DisabilitiesCRPD) ระบุไว้ในข้อ 21 (การแสดงออก ความคิดเห็น และสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร) อนุสัญญาว่า ด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทําอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhumane of Degrading Treatment or PunishmentCAT)

และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการ หายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced DisappearanceCPFC) เกี่ยวข้องกับประเด็นซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการใช้ หรือ การถูกจํากัดเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ดังนั้น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเสรีภาพขั้นพื้นฐานจึงได้รับ การคุ้มครองโดยกลไกตามอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ขององค์การสหประชาชาติ และกล ไกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามวาระ (Universal Periodical Review หรือ UPR)

ภายใต้ภูมิหลังที่กล่าวมาข้างต้น เครื่องมือฉบับนี้จึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ที่ สามารถนํามาใช้อย่างแยกส่วน หรือนํามาใช้ร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้อ่าน บทที่ 2 นั้นให้ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับความคิดสําหรับสิ่งที่ภาคประชาสังคมสามารถทําได้เพื่อติดตามผล การทบทวนสถานการณ์โดยกลไกสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะรวมถึงการใช้ประโยชน์จากลไกสิทธิมนุษยชนอื่นๆ อย่างรอบด้านพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

บทที่ 3 จะอธิบายกระบวนการติดตามผลข้อสังเกตเชิงสรุปที่รับรองโดยกลไกสิทธิ มนุษยชนต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ เนื่องจากแต่ละกลไกนั้นมีคุณลักษณะเฉพาะ และรูป แบบการทํางานที่แตกต่างกัน บทที่ 4 จะระบุ ข้อเสนอแนะที่รับรองโดยกลไกสิทธิมนุษยชนต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ ที่มีต่อประเทศไทยในประเด็นเรื่องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งสามารถใช้ เป็นฐานในการใช้ประโยชน์จากกลไกสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติให้เกิดผลปรับปรุง สถานการณ์ภายในประเทศ

บทที่ 5 จะสรุปสถานะปัจจุบันของการรายงานสถานการณ์และการ ติดตามผล รวมไปถึง กําหนดนัดหมายสําหรับการทบทวนรายงานสถานการณ์ของประเทศไทย โดยกลไกสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ด้วยข้อมูลนับถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 เครื่องมือชิ้นนี้สามารถใช้เป็นเอกสารสําหรับการจัดอบรม หรือ การวางแผนยุทธศาสตร์ หรือ วางแผนกิจกรรม โดยสามารถติดต่อ CCPR-Centre เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ เพื่อเป็น กระบวนกรสําหรับการอบรมและการวางแผนงานให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่และความต้องการเฉพาะของผู้มีผลประโยชน์ร่วม

Exit mobile version