อรรถสิทธิ์ยืนยันไม่ใช่เฟกนิวส์ เสนอให้ ปอท. ยกเลิกความพยายามดำเนินคดีนายสุนัย ผาสุก การออกหมายเรียกพยานเป็นการข่มขู่ ปิดปากไม่ให้เปิดเผยเรื่องที่ตนถูกซ้อมทรมาน
ตามที่กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญกรรมทางเทคโนโลยี ได้มีหมายเรียกนาย สุนัย ผาสุก ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ฮิวแมนไรท์วอทช์ อ้างถึงข้อความที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์โพสต์ว่า “เถื่อน ซ้อมทรมาน อีกรายที่ สน. ดินแดง อรรถสิทธิ ถูกามเชาตำรวจจับขณะร่วมชุมนุม#ม๊อบ29 ตุลาคม 64 แล้วเอาตัวเข้า สอบสวนในโรงพัก โดนต่อย เตะ บีบคอ เอา กระแทก เก้าอี้ ใช้กระบองกระแทกชายโครง และกดคอให้หายใจไม่ออก ส่งทวิตยามเช้า”
โดยนายสุนัยฯ จะเข้าพบกับ จนท. ตำรวจตาม หมายเรียกพยานในวันที่ 31 ตุลาคม เวลา 13.00 น. นี้ ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อาคารบี ศูนย์ราชการ
“ตนรู้สึกว่ากำลังมีความพยายาม ทำให้เรื่องร้องเรียนที่ตนถูก จนท. ตำรวจสน ดินแดง ทำร้ายเป็นเรื่องเท็จให้ได้ เพื่อไม่ให้องค์กรเสื่อมเสีย ทั้งที่ตนได้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษตำรวจแล้ว ด้วยความสุจริต ทั้งที่ กมธ. การกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร สน. ดินแดง กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกระทรวงยุติธรรม คดีอยู่ในขั้นตอนกระบวนการสืบสวนสอบสวนของ หน่วยงานรัฐหลาย หน่วยงาน และได้ส่งเรื่องร้องเรียนยูเอ็นแล้ว” นายอรรถสิทธิ์ นุสสะ ผู้เสียหายจากการทรมานที่ถูกบังคับให้สารภาพ กล่าว
“การออกหมายเรียกนักสิทธิมนุษยชนแบบนี้น่าข่มขู่ทางอ้อม และพยายามทำให้เป็นข้อมูลเท็จเจ้าหน้าที่ควรต้องทำงานด้วยความรอบครอบมากกว่านี้ ไม่ใช่ตั้งธงไว้ว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จโดยใช้แหล่งอ้างอิงจาก จนท. รัฐฝ่ายเดียว ตนจะไปให้กำลังใจและพร้อมจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทรมานวันนั้น ส่วนคดีของตนนั้นพร้อมจะดำเนินคดีทางแพ่ง ทางอาญาและทางวินัย ตามข้อเท็จจริงโดยสุจริต” นาย อรรถสิทธิ์ นุสสะ กล่าว
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม2565 ประเทศไทยได้มีประกาศราชกิจานุเบกษา ให้พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ 120 วันข้างหน้า โดยบททั่วไป มาตรา ๕ ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือ ความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด เป็นความผิดอาญาแล้ว
แม้กฎหมายฉบับนี้จะไม่สามารถนำมาดำเนินคดีในคดีนี้ได้ ดำเนินคดีตามกฎหมายเดิมได้ ซึ่งเท่ากับว่าเรามีมาตรฐานทางกฎหมายที่สูงขึ้นจะส่งเสริมให้เป็นมาตราการป้องกันไม่ให้เหตุเช่นนี้เกิดขึ้นอีก
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ขอให้สื่อมวลชนและประชาชน ติดตามความคืบหน้าของคดีนี้ต่อไปอย่างใกล้ชิด จะเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรม และดำเนินการทางกฎหมายต่อไปอย่างไร และกฎหมาย พรบ. ดังกล่าวจะส่งผลให้คดีนี้จะสร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ให้มีการกระทำนอกเหนืออำนาจ และเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงดังเช่นนี้ต่อไปหรือไม่
ข้อมูลเบื้องหลัง
คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 เวลาประมาณ 18.00 น. นายอรรถสิทธิ์ นุสสะ ได้เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมจุดเทียนไว้อาลัย และทวงถามความยุติธรรมให้แก่ วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตหน้า สน. ดินแดงระหว่างที่มีการชุมนุมในบริเวณดังกล่าว โดยระหว่างที่เข้าร่วมกิจกรรมไว้อาลัย นายอรรถสิทธิ์ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. ดินแดง เข้าจับกุมและควบคุมตัวไว้ใน สน. ดินแดง เป็นเวลาหนึ่งคืน และถูกซ้อมทำร้ายร่างกายบังคับให้สารภาพในคืนนั้น
จนปรากฏเป็นภาพถ่ายบาดแผลที่นายอรรถสิทธิ์มีเลือดออกด้านในดวงตา ก่อนที่นายอรรถสิทธิ์จะได้รับการปล่อยตัวในช่วงบ่ายของวันที่ 30 ต.ค. 2564 ต่อมา นาย อรรถสิทธิ์ นุสสะ พร้อมด้วยทนายความ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ในนามภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สน. ดินแดง และเดินหน้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน รวมถึง ดีเอสไอ ขอให้สอบสวนข้อเท็จจริงและดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกราย
ในวันเกิดเหตุมีผู้เสียหายจากการทรมานสองรายคือ นายอาลีฟ และนายอรรถสิทธิ์ ทั้งสองได้เข้าให้ข้อมูลพร้อมยื่นหลักฐาน กมธ. การกฎหมายฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2564 ต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ พันตำรวจตรี วรณัน ศรีล้ำ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ และรองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับหนังสือร้องเรียนจากทนายความ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม นาย อรรถสิทธิ์ นุสสะ และนายวีรภาพ วงษ์สมาน หรืออาลีฟ
กรณี นายอรรถสิทธิ์ฯ และนายวีรภาพ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ทำร้ายร่างกายบังคับให้สารภาพ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามเรื่องร้องเรียนดังกล่าว อีกทั้งในวันที่ 10 มี.ค. 65 นาย อรรถสิทธิ์ นุสสะ ผู้เสียหาย พร้อมพยานจำนวน 2 คน ได้แก่ ทนายความที่นายอรรถสิทธิ์อ้างเป็นพยาน และนักข่าวจากสื่อออนไลน์ Side Story ผู้บันทึกภาพเหตุการณ์ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. ดินแดงควบคุมตัว และทำร้ายร่างกายนายอรรถสิทธิ์ บริเวณหน้า สน. ดินแดงในเกิดเหตุวันที่ 29 ต.ค. 64 ได้เข้าให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1) ไว้แล้วด้วยเช่นกัน
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2565 ประเทศไทยได้มีประกาศราชกิจานุเบกษา ให้พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ 120 วันข้างหน้า โดยบททั่วไป มาตรา ๕ ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือ ความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือคำรับสารภาพจากผู้ถูกกระทำหรือบุคคลที่สาม
(๒) ลงโทษผู้ถูกกระทำเพราะเหตุอันเกิดจากการกระทำหรือสงสัยว่ากระทำของผู้นั้นหรือบุคคลที่สาม
(๓) ข่มขู่หรือขู่เข็ญผู้ถูกกระทำหรือบุคคลที่สาม
(๔) เลือกปฏิบัติไม่ว่ารูปแบบใด