[:th]CrCF Logo[:]

สภาผู้แทนราษฎร มีมติผ่านร่าง พรบ. ป้องกัน และปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย

Share

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … ที่วุฒิสภาส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎร โดยลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 287 เสียง ไม่เห็นชอบ 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ทำให้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบทั้ง 2 สภา แล้ว ซึ่งจะมีการประกาศในราชกิจานุเบกษา เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป เมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ในการนี้ ในนามองค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาชน ขอขอบพระคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมผลัดกันร่างกฎหมายฉบับนี้จนสำเร็จ และจะได้ติดตามด้วยความคาดหวังว่า หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้อง จะนำบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าว ไปใช้อย่างเที่ยงธรรม และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และพันกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่

เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการกระทำทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และการบังคับให้สูญหาย ที่เกิดจากการกระทำหรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่รัฐ และปราบปรามการกระทำผิดดังกล่าวอย่างจริงจัง

อนึ่ง สำหรับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่อาจไม่ชัดเจนและอาจถูกตีความโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายหรือศาล ไปในทางที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศนั้น จะต้องเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

รายชื่อองค์กรร่วมลงนาม
1. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF)
3. กลุ่มด้วยใจ
4. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
5. กลุ่มนอนไบนารีแห่งประเทศไทย
6. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
7. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF)
8. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ JASAD
9. เครือข่ายสิทธมนุษยชนปาตานี HAP