[:th]CrCF Logo[:]

ขอให้ยุติการฆ่านอกระบบกฎหมายในจังหวัดชายแดนใต้ ที่เกิดขึ้นในรอบสองปี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว ๕๐ ราย

Share

แถลงการณ์ขอให้ยุติการฆ่านอกระบบกฎหมายในรอบสองปีเสียชีวิตไปแล้ว ๕๐ ราย ข้อเสนอ 10 ข้อ จากสถานการณ์การฆ่านอกระบบกฎหมายในจังหวัดชายแดนใต้ รายที่ 51 รายแรกในปี 2565

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
กลุ่มด้วยใจ (Duayjai)
เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)
เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP)

ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทยมีการละเมิดสิทธิในชีวิตที่ร้ายแรง และกว้างขวางหลายเหตุการณ์ เช่น การสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. กลุ่มพันธมิตรฯ สงครามยาเสพติด เหตุการณ์ตากใบ-กรือเซะ/ความขัดแย้งใน จชต. เหตุการณ์พฤษภา 35 เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 การทรมาน อุ้มหาย อุ้มฆ่า เป็นระบบ-เฉพาะกรณี

ทั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และบางกรณีเกิดจากกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ ความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมาเหล่านี้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิในชีวิต ไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษ แต่กลับเหลือแต่เพียงความทรงจำ และประวัติศาสตร์ความรุนแรง 

อย่่างกรณีเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงปี 2553 มีผู้เสียชีวิตถึง 99 ศพ มีหลายกรณีที่ระบุว่าผู้กระทำเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่กลับไม่มีการนำคนผิดมาลงโทษ บางคดีเข้าสู่การพิจารณาในขั้นศาล และมีการเยียวยาจำนวนเงินที่มาก ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงจากรัฐไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในจังหวัดชายแดนใต้เท่านั้น

ในจังหวัดชายแดนใต้ การฆ่านอกระบบกฎหมายในรอบสองปีนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2564 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว ๕๐ ราย เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นอีกครั้งหนึ่งและเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๕๖๕ นับเป็นรายที่ ๕๑ 

การบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหลักการสากล และหลักนิติธรรมต่อผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความมั่นคง คือการนำบุคคลเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และดำเนินการตามกฎหมายบ้านเมืองให้ได้รับบทลงโทษจากคำพิพากษาของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา การใช้ความรุนแรงทางอาวุธแทนการนำบุคคลเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยรัฐในรูปแบบนี้นอกจากจะทำลายสิทธิในชีวิตแล้วด้วยนั้นยังเป็นการทำลายหลักนิติธรรมของประเทศด้วย

เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการทำลายชีวิตประชาชนโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรมให้มีคำพิพากษาของศาลสูงสุดตัดสินลงโทษการใช้อำนาจนอกระบบกฎหมายนี้ยังส่งผลต่อกระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2565 นี้

สิทธิในชีวิต

สิทธิในชีวิตปรากฎใน มาตรา 3 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๔๕ และในมาตรา 6 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองเมื่อปี ๑๙๖๖ คือการยอมรับสิทธิโดยธรรมชาติของทุกคนคือสิทธินี้ทุกคน “จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย” และ “ไม่มีใครถูกพรากชีวิตไปโดยพลการ”

สิทธิในการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และภาระผูกพันของรัฐที่จะรับประกันสิทธินี้ในขั้นสูงสุดที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะในมาตรา 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองสิทธิในชีวิต โดยปราศจากความแตกต่างหรือการเลือกปฏิบัติไม่ว่าในรูปแบบใด และบุคคลทุกคนจะต้องได้รับการรับรองว่ามีการเข้าถึงการเยียวยารักษาอย่างเท่าเทียม

ยิ่งไปกว่านั้นมาตรา 4 วรรค 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์พิเศษเช่นความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศหรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ไม่อาจทำให้สูญเสียสิทธิในชีวิตและความปลอดภัยของบุคคล

การฆ่านอกระบบกฎหมาย การวิสามัญฆาตกรรม และ คำว่าศาลเตี้ย ทั้งสามคำนี้เป็นรูปแบบของการละเมิดสิทธิในชีวิตที่ร้ายแรง รวมทั้งการเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวก็เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ระหว่างปี 2553- ๒๕๕๙ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงหรือผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนใต้กังวลใจมากที่สุดคือความปลอดภัยหลังจากได้รับการปล่อยตัวซึ่งความกังวลของพวกเขาก็ไม่เกินเลยจากข้อเท็จจริงมากนักเมื่อกลุ่มด้วยใจได้รวบรวมรายชื่ออดีตผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษ และบุคคลในครอบครัว ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปี 2559 ว่ามีจำนวน 20 ราย โดยเฉลี่ยปีละ 4 ราย ในช่วงเวลานั้น 

และนั่นก็เป็นสถานการณ์ที่เพิ่มความหวาดระแวงและไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทย มักเป็นการลอบสังหารโดยไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำความผิดได้ เกือบทุกกรณีเป็นลอบสังหารอดีตผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ

ลำดับที่ชื่อวันที่เกิดเหตุผลกระทบอดีตผู้ต้องขังเรือนจำ
1นาย รอมลี เจะเลอะ06 ต.ค. 2553ถูกยิงเสียชีวิตยะลา
2นาย มะสาวี มะสาและ28 ม.ค. 2554ถูกยิงเสียชีวิตยะลา
3นาย อับดุลเลอะ สาแม17 ส.ค. 2554ถูกยิงเสียชีวิตสงขลา
4นาย สุกรี โซะ20 ส.ค. 2554ถูกยิงได้รับบาดเจ็บปัตตานี
5นาย อับดุลเลอะ เจอะตีแม2555ถูกยิงเสียชีวิตยะลา
6นาย ลุกมาน ดอเลอะ9 พ.ค. 2556ถูกยิงเสียชีวิตปัตตานี
7นาย มะรอเซะ กายียุ07 มิ.ย. 2556ถูกยิงเสียชีวิตยะลา
8นาย อิสมะแอ ปาโอ๊ะมานิ25 มิ.ย. 2556ถูกยิงเสียชีวิตปัตตานี
9นาย ตอเหล็บ สะแปอิง15 ก.ค. 2556ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสงขลา
10นาย อับดุลรอฟา ปูแทน14 ส.ค. 2556ถูกยิงเสียชีวิตปัตตานี
11นาย สามือลี เจะกอ29 ส.ค. 2556ถูกยิงเสียชีวิตสงขลา
12นาย มูฮำหมัดมาโซ มามะ25 ก.ย. 2556ถูกยิงเสียชีวิตนราธิวาส
13นาย อับดุลมามะ สาแม23 ม.ค. 2557ถูกยิงบาดเจ็บโดยเจ้าหน้าที่สงขลา
14นาย เจะมุ มะมัน03 ก.พ. 2557ถูกยิงบาดเจ็บถูกยิงบาดเจ็บปัตตานี
15นาย มามะ ยามา 16 เม.ย. 2557เสียชีวิตนราธิวาส
16นาย มุกตาร์ อาลีมามะ17 เม.ย. 2557เสียชีวิตยะลา
17นาย อาดัม มะยีดี21 ส.ค. 2557เสียชีวิตยะลา
18นาย อาซัน มะแตหะ12 พ.ย. 2557เสียชีวิตยะลา
19นาย อาแซ นิเซ็ง06 ธ.ค. 2559บาดเจ็บยะลา
20นาย ยีเซะ ยูนุ๊ (บิดา ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง)   

 

สองปีของเหตุการณ์ปะทะนองเลือด

เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นอีกครั้งหนึ่งและเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่หน่วยงานความมั่นคง จ.ปัตตานีได้สังหารชาวบ้านที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบ 2 คน ที่ อ.สายบุรี หลังปิดล้อมพื้นที่ และเจรจาให้มอบตัวนาน 4 ชั่วโมง

เมื่อการเจรจาไม่เป็นผล ชาวบ้านที่ถูกติดตามอ้างว่ามีหมายจับได้วิ่งฝ่าออกมาจากบ้านได้ใช้อาวุธปืนยิงสวนออกมาเป็นระยะ ทำให้ฝ่ายความมั่นคงยิงตอบโต้ ทำให้นายมารวาน มีทอ อายุ 27 ปี และพวก เสียชีวิตรวม 2 คน

มักมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงใช้กำลังที่เกินสัดส่วนในการจับกุมผู้ต้องสงสัยหรือบุคคลตามหมายจับ ปิดล้อมบ้าน ป่า เกาะ หรือหมู่บ้านกดดันให้เกิดการยิงปะทะกันขึ้น หลังจากที่มีเหตุการณ์ปิดล้อมที่จบลงด้วยการวิสามัญฆาตกรรมบ่อยครั้งในรอบสองปีที่ผ่านมา

ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาพบปรากฎการณ์การแห่ศพของผู้เสียชีวิต และมีการประท้วงกรณีที่ร่างของผู้เสียชีวิตไม่สามารถส่งมอบให้กับญาติได้ทันเวลา 24 ชั่วโมง โดยพบว่านอกจากการสังหารผู้ต้องสงสัยด้วยการปฏิบัติการทหารที่ละเมิดสิทธิในชีวิตของประชาชน โดยขาดการตรวจสอบถ่วงดุลโดยกลไกยุติธรรมของไทยมาตลอด 18 ปีแล้ว ไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ ผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยา

เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนขอเรียกร้องให้ฝ่ายนโยบายของรัฐบาลรวมทั้งฝ่ายความมั่นคงยุติการปฏิบัติการสังหารประชาชนนอกระบบกฎหมายโดยทันที และดำเนินการแก้ไขสภาพปัญหาหลายประการตามข้อเสนอแนะทั้ง 10 ประการดังนี้

1. การรับคืนศพ เพื่อประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม เนื่องจากศาสนาอิสลามให้ทำการฝังศพเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่การรับคืนศพ ในพื้นที่เป็นเรื่องล่าช้า ไม่มีการแจ้งญาติอย่างชัดเจนว่ามีการนำศพไปที่ไหน อย่างไร และไม่มีผู้ประสานงานกลาง และไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง สื่อสารโดยตรงกับญาติ
ข้อเสนอแนะ: อยากให้เจ้าหน้าที่รัฐ มีการสื่อสารอย่างเป็นขั้นตอนกับครอบครัว และแจ้งจุดรับศพที่ชัดเจน ไม่กำกวม และไม่ปกปิดข้อมูลศพ

2. การยึดทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตหลังการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะ: กรณีมีการยึดทรัพย์สิน เช่น เงิน โทรศัพท์ ทรัพย์สินส่วนตัว ควรมีการเซ็นเอกสารกำกับ ทั้ง 2 ฝ่าย โดยทำเอกสาร 2 ชุด เก็บให้เจ้าหน้าที่ 1 ชุด และญาติ 1 ชุด และควรคืนให้ญาติเมื่อสิ้นสุดการตรวจสอบ

3. การชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ เนื่องจากการเข้าจุดเกิดเหตุของนิติวิทยาศาสตร์ ต้องรอหลังการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ซึ่งไม่มีใครทราบว่า ศพถูกจัดฉากหรือไม่ อย่างไร (กรณีนี้เป็นข้อกังขาของประชาชนอย่างมาก) ในบริเวณจุดเกิดเหตุ องค์กรอิสระ ไม่สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์การปฏิบัติงานได้ในระยะรัศมีที่เข้าร่วมสังเกตการณืได้
ข้อเสนอแนะ: องค์กรอิสระ ตัวแทนญาติ และผู้นำศาสนา ต้องสามารถเข้าจุดตรวจสอบหลักฐาน ในรัศมีที่กำหนดได้ เพื่อเข้าสังเกตการณ์การจัดเก็บหลักฐานให้ได้รับความเป็นธรรมและโปร่งใสที่สุด ตามขั้นตอนกระบวนการของกฎหมายมาตรา 150 มีเจ้าหน้าที่รัฐรวมสี่ฝ่าย คือตำรวจ อัยการ แพทย์ชันสูตร และฝ่ายปกครอง ต้องสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุได้ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติการทางทหารฝ่ายเดียว

4. การติดตั้งกล้องระหว่างการปฏิบัติงาน เมื่อการปฏิบัติงาน มีแค่ข้อมูลฝั่งเดียว การสรุปโดยฝ่ายความมั่นคงเองจึงไม่มีความน่าเชื่อถือ 
ข้อเสนอแนะ: สิ่งที่สามารถหยุดข้อกังขานี้ได้ คือการติดตั้งกล้องไว้บนหมวกหรือเสื้อที่ตัวเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงานด้วยในจำนวนที่มากพอ เพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจ ว่าได้ปฏิบัติงานจากเบาไปหาหนักอย่างแท้จริง

5. การใช้กำลังจากเบาไปหนัก ต้องเป็นไปตามหลักการใช้กำลังทางอาวุธ และงดการยิงไปยังจุดสำคัญของร่างกาย เช่น สมองและหัวใจ ซึ่งเป็นจุดที่มุ่งหมายให้อีกฝ่ายเสียชีวิตทันที เป็นต้น การปิดล้อมตรวจค้นจับกุมตามหมายจับหรือที่อ้างว่ามีการเจรจาแต่ไม่ยอมมอบตัวพึงกระทำต่อเมื่อจะเกิดภัยอันตรายในขณะเผชิญเหตุการณ์เท่านั้น ผู้ต้องสงสัยผู้ต้องหาตามหมายจับไม่ใช่พลรบที่จะสามารถใช้กำลังทหารกดดันให้เกิดการตอบโต้ทางทหาร

ข้อเสนอแนะ: ขอให้ฝ่ายความมั่นคงแยกแยกการบังคับใช้กฎหมายของตนด้วยความเข้าใจว่า การปะทะกับผู้ต้องสงสัยพึ่งกระทำได้ด้วยเหตุป้องกันตัวตามกฎหมายอาญาเท่านั้น ไม่ใช่การใช้กำลังจากเบาไปหาหนักซึ่งเป็นกฎการสู้รบในสภาวะสงคราม จังหวัดชายแดนใต้ไม่ใช่พื้นที่สงครามแต่รัฐไทยไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกเพราะเป็นเหตุผลทางการเมืองซึ่งสร้างความเสียหายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้และการเจรจาสันติภาพ

6. การซ่อมแซมจุดเกิดเหตุหลังการปฏิบัติงานทันที เช่น การซ่อมแซมบ้านที่เกิดเหตุ

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการซ่อมแซมหลังได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวนและได้เก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์แล้วเท่านั้น มิใช่การปกปิดการกระทำหรือใช้กำลังเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงหรือการทำลายพยานหลักฐาน เนื่องจากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานสำคัญของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในคดีไต่สวนการตายว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุหรือไม่โดยจะเป็นการพิจารณาคดีชันสูตรที่ศาลจังหวัดที่เกิดเหตุในทุกกรณี

7. การชันสูตรศพโดยแพทย์ในที่เกิดเหตุ ตามขั้นตอนกระบวนการของกฎหมายมาตรา 150 มีเจ้าหน้าที่รัฐรวมสี่ฝ่าย คือตำรวจ อัยการ แพทย์ชันสูตร และฝ่ายปกครอง ต้องสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุได้ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติการทางทหารฝ่ายเดียว 

ข้อเสนอแนะ: แพทย์นิติเวช ควรลงไปในที่เกิดเหตุ เพื่อดูท่าทาง และสภาพศพในสถานการณ์จริง เพื่อความไม่คลาดเคลื่อนของการชันสูตร ที่อาจเป็นหลักฐานว่า เป็นการปฏิบัติงานที่เกินเหตุหรือไม่ เนื่องจากในพื้นที่ ศพจะต้องรับการตรวจที่โรงพยาบาล (ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน มากกว่า 5 ชั่วโมง และเป็นเหตุผลหนึ่งที่การฝังศพเป็นไปอย่างล่าช้า)

8. การแถลงการณ์โดยสำนักข่าวของหน่วยความมั่นคงหลังการปฏิบัติงาน และมีการส่งต่อให้สื่อกระแสหลักเผยแพร่ต่อปัญหานี้ เท่ากับว่า เจ้าหน้าที่รัฐไปกล่าวหาเขาว่าเป็นผู้ร้ายจริงๆ โดยที่ตัวเขาเอง ไม่สามารถแสดงข้อเท็จจริงใดๆ เนื่องจาก เสียชีวิตไปแล้ว การเผยแพร่ข่าวโดยปราศจากการคัดกรองเป็นการให้ร้ายอย่างหนึ่ง และทำให้เกิดอคติต่อมุสลิมได้

ข้อเสนอแนะ: ควรงดการเผยแพร่ข่าวฝ่ายเดียว ควรให้องค์กรที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ในรัศมีที่กำหนด เป็นผู้สื่อสารเพื่อความเป็นกลางที่สุด

9. การขอโทษ หากพบว่า การปฏิบัติงานของหน่วยงานของตนเป็นการใช้กำลังเกินความจำเป็นจนถึงขั้นเสียชีวิตของอีกฝ่าย หรือทำเกินกว่าเหตุ ก็ควรมีการขอโทษต่อสาธารณะ และปรับปรุงหน่วยงานตัวเอง ไม่ให้มีเหตการณ์ซ้ำๆเกิดขึ้นอีก

10. การอบรมและให้ความรู้สิทธิมนุษยชนแก่เจ้าหน้าที่รัฐ จากการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลายครั้ง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และสะท้อนให้เห็นว่า มีความจำเป็นต้องอบรมเจ้าหน้าที่ทหารชั้นปฏิบัติงานให้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนด้วย

ข้อเสนอแนะ: ควรอบรมเจ้าหน้าที่ความมั่นคงในชั้นปฏิบัติงานให้มีความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนโดยหน่วยงานภายนอกเช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการกาชาดสากล หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

รายชื่อผู้เสียชีวิตและวันเวลาของเหตุการณ์ ตั้งแต่มกราคม 2563 -มกราคม 2565

หมายเหตุ: รายชื่อเหล่านี้ไม่รวมผู้เสียชีวิตในการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

 ลำดับชื่อสกุลอายุจังหวัดวันที่เกิดเหตุเดือนปี 
ปี 25651 มารวานมีทอ32ปัตตานี20มกราคม2565
 2 รอซาลีเจะเลาะ44ปัตตานี20มกราคม2565
ปี 25643 สมันดีสะนิ ปัตตานี20มีนาคมพ.ศ.2564
 4 มะรอฟาอาเจะอาลี32นราธิวาส23เมษายนพ.ศ.2564
 5 อีลียัสเวาะกา ยะลา4เมษายนพ.ศ.2564
 6 รีสวันเจะโซะ ยะลา4เมษายนพ.ศ.2564
 7 ซูไรดิน30นราธิวาส11พฤษภาคมพ.ศ.2564
 8 อัมรันมะหิเละ28ปัตตานี21มิถุนายนพ.ศ.2564
 9อาดือเระมันปุเตะ31สงขลา21มิถุนายนพ.ศ.2564
 10 อัมรีมะมิง27ปัตตานี5กรกฎาคมพ.ศ.2564
 11คูไมดีรีจิ33ปัตตานี5กรกฎาคมพ.ศ.2564
 12 สุไลมานดอเลาะ33ปัตตานี10กรกฎาคมพ.ศ.2564
 13 อาซมานสะมะแอ31ปัตตานี10กรกฎาคมพ.ศ.2564
 14 รอซาลีหลำโซะ20สงขลา2สิงหาคมพ.ศ.2564
 15นาย สุกกรีสาอิ34ปัตตานี30สิงหาคมพ.ศ.2564
 16นาย อัฎฮาร์ยูกะN/A นราธิวาส3ตุลาคมพ.ศ.2564
 17นาย ฮอาซันสามะN/A นราธิวาส3ตุลาคมพ.ศ.2564
 18นาย อับดุลเลาะอูแลN/A นราธิวาส3ตุลาคมพ.ศ.2564
 19นาย บารูวันกือจิ35นราธิวาส3ตุลาคมพ.ศ.2564
 20นาย มะสุกรีอูแล43นราธิวาส3ตุลาคมพ.ศ.2564
 21นาย ซูเฟียนยูโซะ– นราธิวาส3ตุลาคมพ.ศ.2564
 22นาย อิสมาแอเจะนุ– นราธิวาส3ธันวาคมพ.ศ.2564
 23นาย อาดีนันท์ซือรี28ปัตตานี24ธันวาคมพ.ศ.2564
 24ซาการียายูโซะ29ปัตตานี24ธันวาคมพ.ศ.2564
ปี 256325อับดุลฮาดีอาบูดาโอ๊ะ –จ.นราธิวาส12 มกราคมพ.ศ.2563
 26ยากีเวาะงอย –จ.นราธิวาส23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2563
 27มากะลูดิงอูเซ็ง –จ.นราธิวาส23กุมภาพันธ์พ.ศ.2563
 28เจ๊ะลีมาลาเต๊ะบือริง –จ.นราธิวาส23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2563
 29มูฮามะซูลกีฟลีสือแม –จ.นราธิวาส23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2563
 30อาฮาร์สะอิ –จ.นราธิวาส23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2563
 31อาแวสามะ –จ.นราธิวาส24กุมภาพันธ์พ.ศ.2563
 32วอเงาะวอเงาะ –จ.ปัตตานี7 มีนาคมพ.ศ.2563
 33วอเฮงฮารง –จ.ยะลา8มีนาคมพ.ศ.2563
 34คามิสคามิส –จ.ยะลา17มีนาคมพ.ศ.2563
 35อัซฮาตือง๊ะ –จ.ยะลา17มีนาคมพ.ศ.2563
 36จินดาเพ็ชรจินดาเพ็ชร –จ.ยะลา17มีนาคมพ.ศ.2563
 37คามิสคามิส –จ.ยะลา18มีนาคมพ.ศ.2563
 38ยูโซะแมะตีเมาะ –จ.ปัตตานี30เมษายนพ.ศ.2563
 39มะตามีซีสาอิ –จ.ปัตตานี30เมษายนพ.ศ.2563
 40มะนาเซไซร์ดี –จ.ปัตตานี30เมษายนพ.ศ.2563
 41มะไซดีแวสุหลง –จ.ปัตตานี17มิถุนายนพ.ศ.2563
 42อันวาดือราแม –จ.ปัตตานี3กรกฎาคมพ.ศ.2563
 43มะซูกีสารูเม๊าะ –จ.ยะลา15 สิงหาคมพ.ศ. 2563
 44อันวากอแล –จ.ปัตตานี15สิงหาคมพ.ศ. 2563
 45มาสุวันกะจิ –จ.ปัตตานี15 สิงหาคมพ.ศ. 2563
 46อาหามะจาจ้า –จ.ปัตตานี15 สิงหาคมพ.ศ. 2563
 47อะมะดือเระห์ –จ.ปัตตานี15 สิงหาคมพ.ศ. 2563
 48ลุตฟีบาเหะ –จ.ปัตตานี15 สิงหาคมพ.ศ. 2563
 49อิสมาแอแลแร –จ.ปัตตานี15 สิงหาคมพ.ศ. 2563
 50อัซมันเจ๊ะมิง –จ.สงขลา7 กันยายนพ.ศ. 2563
 51เจะอารงบาเฮง –จ.สงขลา7กันยายนพ.ศ. 2563

Photo Credit: BBC News Thai

RELATED ARTICLES