คำแปล เอกสารชื่อ IUCN World Heritage Evaluations 2021 อย่างไม่เป็นทางการ หน้า 33 -41 ADDENDUM: IUCN Evaluations of nominations of natural and mixed properties to the World Heritage List
มีข้อสรุปจาก IUCN ดังนี้
IUCN แนะนำให้คณะกรรมการมรดกโลกใช้ร่างการตัดสินใจดังต่อไปนี้:
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ตรวจสอบเอกสาร WHC/21/44.COM/8B.Add และ WHC/21/44.COM/INF.8B2.Add แล้ว
2. เรียกคืนการตัดสินใจ 39 COM 8B.5, 40 COM 8B.11 และ 43 COM 8B.5;
3. ย้ำว่าการเสนอชื่อเกิดขึ้นสามครั้ง แต่แผนการประเมินสำหรับพื้นที่ดังกล่าวมีเพียงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในปี 2014 ระยะเวลาสูงสุดที่คาดการณ์ไว้สำหรับขั้นตอนดังกล่าวคือสามปี และขอบเขตที่เสนอนั้นได้รับการแก้ไขมาตลอดในช่วงเวลานี้ รวมถึงการถอนถอนเขตการอนุรักษณ์
4. เลื่อนการเสนอชื่อพื้นที่ป่าแก่งกระจาน (ประเทศไทย) ตามหลักเกณฑ์ (x) เพื่อให้รัฐภาคีสามารถ
(a) พัฒนาการเสนอชื่อใหม่ โดยนำเสนอการวิเคราะห์ที่เป็นปัจจุบันอย่างสมบูรณ์ เกี่ยวกับสถานะการอนุรักษ์ในปัจจุบัน สมบูรณภาพ รวมถึงการป้องกันและการจัดการพื้นที่ดังกล่าว โดยต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่ได้รับการแก้ไข และการให้เหตุผลเรื่องศักยภาพของคุณค่าสากลภายใต้เกณฑ์ (x)
(b) แก้ไขข้อกังวลเกี่ยวกับสิทธิอย่างเต็มที่ ตามวรรค 123 ของแนวทางปฏิบัติ และข้อตกลง 39 COM 8B.5, 40 COM 8B.11 และ 43 COM 8B.5 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงฉันทามติของการสนับสนุนการเสนอชื่อของพื้นที่จากชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด สอดคล้องกับหลักการให้ความยินยอมและได้รับการแจ้งล่วงหน้าโดยเสรีอย่างเต็มที่
(c) ทำงานอย่างใกล้ชิดและปรึกษาหารืออย่างเต็มที่กับชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ ร่วมกับ
– สาขากระบวนการพิเศษของสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองได้อย่างน่าพอใจและสมบูรณ์
– คณะทำงานเรื่องการบังคับให้สูญหายขององค์การสหประชาชาติ
– ผู้รายงานพิเศษเกี่ยวกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด ถูกสุขอนามัย และยั่งยืน
– ผู้รายงานพิเศษด้านสถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
(d) ประเมินและให้ผลลัพธ์ของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการสำรวจความเป็นเจ้าของที่ดินให้เสร็จสิ้น การทำแผนที่ของ “ขอบเขตการจัดการเพื่อการอนุรักษ์” ใหม่ และการให้ความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน และการดำรงชีวิต ตามที่กำหนดไว้ภายใต้การแก้ไขพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า
(e) ปรับปรุงการให้ความสำคัญของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่คุ้มครอง สอดคล้องกับผลลัพธ์ของการปรึกษาหารือ และกระบวนการอนุญาโตตุลาการอิสระเกี่ยวกับสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ
5. แนะนำให้รัฐภาคีจัดตั้งกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่เป็นอิสระจากบุคคลที่สาม โดยปรึกษาหารือกับ UNESCO และทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้รายงานพิเศษผ่านสำนักงานสาขากระบวนการพิเศษของสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) เพื่อจัดการกับข้อกังวลอย่างต่อเนื่องของชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอแนะในท้ายที่สุดของกระบวนการนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะดำเนินการเสนอชื่อต่อไป
6. เดินหน้าส่งเสริมความร่วมมือกับรัฐภาคีของเมียนมาร์ในการอนุรักษ์ข้ามพรมแดนและการจัดการการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งมีคุณค่าอย่างสูงในภูมิภาค เพื่อปรับปรุงความสมบูรณ์ของพื้นที่ดังกล่าว และพิจารณาโอกาสในการขยายพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเสนอชื่อข้ามพรมแดนในอนาคต
อ้างอิงจาก: https://whc.unesco.org/archive/2021/whc21-44com-inf8B2.Add-en.pdf
[:]