
พยานโศก
แปลจาก หนังสือ Memories of the Nation
“แม่ที่สูญเสียลูกหนึ่งคนเพียงคนเดียวในสงครามจะสามารถแสดงความโศกเศร้าให้กับโลกใบนี้ได้หรือ”
เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน คำถามนี้เป็นการถกเถียงบนความเจ็บปวดที่เลวร้าย เมื่อปี 1993 ผู้นำรัฐของการร่วมเยอรมันทั้งฝั่งตะวันและฝั่งตกตะวันออกตัดสินใจที่จะอุทิศความทรงจำของเหยื่อสงคราม โดยการสร้างตึกที่มีความเป็นคลาสิคอยู่ใจกลางกรุงเบอร์ลิน
พื้นที่ว่างโล่งไม่ได้มีการตกแต่งใดใดมีแต่เพียงปฏิมากรรมขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่ตรงกลางห้อง
แต่ห้องแสดงนั้นเปิดกว้างถึงท้องฟ้า
ผู้จัดตั้งใจที่จะติดตั้งรูปสลักของผู้หญิงที่อุ้มลูกไร้วิญญาณไว้กลางห้องและให้เป็นเพียงวัตถุสิ่งเดียวในห้องแสดงนั้น
รูปสลักนั้นเป็นงานขยายใหญ่ขึ้นของรูปสลักที่ทำโดย Kathe Kollwitz นักประติมากรรมหญิงคนสำคัญชาวเยอรมัน ปัจจุบันรูปสลักนี้ยังคงส่งเสียงพูดที่เงียบงันให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนกรุงเบอร์ลินบอกเล่าถึงผลของเหยื่อความรุนแรงจากสงครามนับ 10 ล้านคนที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่20
ชีวิตและความตายของจิตรกรนักปฏิมากรรมและภาพพิมพ์หญิง Kathe Kollwitz ออกแบบไว้ทำให้เราเห็นที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์เปอร์เซีย ชีวิตเธอดำเนินไปอย่างชัดเจนเริ่มตั้งแต่ชัยชนะและการรวมประเทศเยอรมันภายใต้ผู้นำบิสมาร์ค และชีวิตเธอก็อยู่ท่ามกลางความสูญเสียที่เกิดขึ้นหลังปี 1945 เธอเกิดปี 1867 ในเมืองทางด้านตะวันออกสุดของประเทศเยอรมนีในเมืองที่ชื่อว่า Konigsberg เมืองนี้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ Brandenburg แต่งตั้งให้ตัวเองเป็นกษัตริย์ในปี 1701 และ ก็นักปรัชญาชื่อว่า Immanuel Kant ที่ออกแบบแนวคิดปรัชญาของยุโรปก็เกิดที่เมืองนี้
ลูกสาวของนักธุรกิจทางการเมืองและหลานสาวของนักบวช เธอเติบโตมากับเรื่องราวรอบตัวเกี่ยวกับความเป็นธรรมทางสังคม ทั้งสองส่วนทางด้านศาสนาและความหัวรุนแรงของเธอปรากฏออกมาในงานศิลปะของเธอพร้อมกันทำให้เธอกลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่ยิ่งใหญ่ และงานศิลปะของเธอก็เป็นหนึ่งในประเทศเยอรมัน เธอและงานของเธอได้เผยแพร่ความอยุติธรรมของสังคมอย่างเป็นระบบออกมาได้ชัดเจน รวมทั้งใช้สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ในการสะท้อนความเจ็บปวด งานของ Kathe Kollwitz มีทั้งการบูชายัญและการไถ่บาปตามหลักการศาสนาไปพร้อมกัน
สามีของเธอเป็นหมอให้กับคนยากจนในช่วงปี 1 890 ที่เบอร์ลินที่ที่เธอสอนหนังสือในสถาบันสตรีของศิลปินชาวเบอร์ลิน เธอมีบ้านพักอยู่ใน Prenzlauer Berg และทำงานอยู่ในห้องพักแห่งหนึ่งในเบอร์ลินที่เป็นสถานที่เล็ก ๆ เธอไม่สามารถทำงานศิลปะบนผืนผ้าดิบขนาดใหญ่หรือการทำงานกับสีน้ำมันได้ ทำให้เธอมีความเชี่ยวชาญพิเศษในการทำภาพพิมพ์ ตลอดชีวิตเธอได้ผลิตภาพของตัวเองซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือหน้า 396 ที่ทำขึ้นเมื่อปี 1904 ตอนที่เธออายุ 37 ปี มันเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน เป็นงานลักษณะ impression ส่วนบนได้แสดงให้เห็นถึงระดับสีน้ำตาลจากสว่างจนถึงมืด ผู้หญิงที่ดูสวยงามกำลังคุณปิดตาของเธอเหมือนกำลังพยายามแก้ไขบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ทางด้านขวามือของภาพอย่างสงบและก็ตั้งใจ แต่ในเวลานั้นเธอมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งกับชีวิตและความยากลำบากที่เกิดขึ้นกับชนชั้นกลางในสมัยที่เธอยังดำรงชีวิตอยู่และมากไปกว่านั้นก็คือบทบาทและหน้าที่ของผู้หญิงอย่างที่เธอเขียนไว้เมื่อปี 1941
“ฉันรู้จักผู้หญิงคนหนึ่งที่เข้ามาหาสามีของฉันเพื่อขอความช่วยเหลือและในเหตุการณ์นั้น ฉันรู้สึกว่าได้พลังในความศรัทธาของทุกสิ่งทุกอย่างที่ปฏิบัติต่อในความเป็นชีวิต แต่ฉันอยากจะเน้นว่า ความรู้สึกนึกคิดและcommiseration คือสิ่งแรกที่สำคัญที่สุด และเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่จะทำให้ฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และมันก็มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ฉันพบเจอกับความสวยงาม”
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการได้รู้จักกับผู้หญิงชั้นกลาง เป็นหลักฐานที่ดีที่พบว่า เธอประสบความสำเร็จในงานต่อสายตาของสาธารณะ ผลงานชิ้นงานหนึ่งของเธอที่ผลิตในปี 1890 ชื่อเรื่องการปฏิวัติ Silesinn Weaver’s เป็นชิ้นงานที่มีการนำไปผลิตเป็นละครโดยเพื่อนของเธอที่ชื่อว่า Gerhart Hauptmann เมื่อประมาณปี 1844 เกิดการเคลื่อนไหวของผู้หญิงทอผ้าในปรัสเซีย (Prussian) ในจังหวัด Silesia การประท้วงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและถูกปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่ Kollwitze เห็นการห้ามการแสดงในโรงละครส่วนตัวเมื่อปี 1893 และก็ยังมีความรู้สึกอย่างลึกซึ้งในเหตุการณ์ครั้งนั้น
นักเขียนรุ่นเยาวชนชาวเยอรมันชื่อ Daniel Kehlmann ชื่นชมผลงานของ Kollwitze อย่างมากและกล่าวว่างานศิลปะของเธอมีศักยภาพอย่างยิ่งใหญ่ที่จะนำเอาความรู้สึกแสดงออกมา ฉันคิดว่าไม่ใช่แต่ความรู้สึกที่ลึกซึ้งเท่านั้นแต่เป็นความรู้สึกที่หมายรวมการทำให้เราได้เห็นแล้วก็ประจักษ์ด้วยสายตาด้วย เธอสามารถบันทึกภาพเก่าในพื้นที่ในความคิดของชาวเยอรมันไว้ได้ 30 ปีทั้งของสงครามและสงครามชาวนา ในระยะเวลาที่ยาวนานนั้นมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อที่จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างฉันคิดว่ามันมีวิธีที่จะทำให้พวกเราเยอรมันสามารถเก็บงำความทรงจำในศตวรรษที่ 20 ไว้ได้มากกว่าศตวรรษไหนไหน เธอแสดงให้เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นนั้นเธอโดยทำให้เห็นว่าคนยากจนถูกคุกคามและคนยากจนนั้นเองที่เป็นคนที่ได้รับความทุกข์ทรมาน
Kollwitze ได้สร้างผลงานไว้หลายชิ้นที่มีพลัง มีความท้าทายที่ผู้ชายในภาพจะใช้ชีวิตแบบเดียวกันกับผู้หญิงกับเด็กในฉากเงาแสดงถึงการทอผ้า แต่ในภาพเบื้องหน้าที่ดึงดูดความสนใจของเรานั้นก็คือผู้หญิงช่างทอผ้าซึ่งเป็นภรรยา แสดงให้เห็นถึงการเอามือไปพาดบนหัว แสงที่ตกกระทบลงมาที่เตียงของเด็กที่ป่วยและก็อดอยากหิวโหย แม่กำลังจ้องดูเด็กคนนั้นที่ตายลงอย่างช้าช้า แล้วก็นอนอยู่บนที่ที่มีแสงสว่าง ขณะเดียวกันเงาของพ่อก็สามารถที่จะทำให้เห็นความมืดถึงด้านหลังทุกอย่างเป็นการจัดวางที่ทำให้นึกถึงความเป็นชาวบ้าน
งานของ Kollwitze มีพลังเพราะเธอมีความสามารถที่จะใช้ความคล้ายคลึงกันนี้แสดงให้เห็นถึงภาพของการเกิดใหม่ของเด็ก และหมายถึงการระลึกถึงแม่ที่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตแต่เธอไม่มีอำนาจอะไรเสียเลยที่จะรักษาชีวิตนั้นได้
ในทางสังคมขัดเกลาความใสให้บุคคลและ Kollwitz สามารถควบคุมสัญลักษณ์เปรียบเทียบในทางการเมืองของเธอและศิลปะได้ดี งานของพวกเราก็เพื่อที่จะโอบอุ้มแล้วก็ทำให้เกิดการสนทนา ฝ่ายเดียวของแม่ไปถึงลูกอันเป็นที่รักและปกป้องของเธอ และในกรณีนี้ ผลความล้มเหลวที่เกิดขึ้นคือความตาย
ภาพที่เกี่ยวกับสาวทอผ้าถูกแสดงอยู่ที่เบอร์ลินในปี 1898 เมื่อ Hahmann เห็นภาพนี้เขาพูดว่า “เธอสามารถทำให้ ภาพมีความโศกเศร้า เมื่อมีคนได้เห็นผลงานก็วิจารณ์ไว้ว่า เสียงร้องไห้อดครวญของความเจ็บปวดนั้นเป็นเสียงที่เงียบงัน เป็นอัตลักษณ์ของอารมณ์กรีกและโรมัน ในนิทรรศการผู้จัดได้แสดงให้เห็นถึงงานชิ้นต่างๆที่ Kathe Kollwitz ได้สร้างไว้และได้รับรางวัลเหรียญทองเหมาะสมกับความสำเร็จของเธอ แต่ก็นั่นแหละคณะกรรมการที่ปรึกษากับถอนรางวัลนั้นและกล่าวว่าถ้าดูที่วัตถุของงานแล้วงานชิ้นต่างๆเหล่านี้ยังไม่เหมาะสม ในอีกนัยยะหนึ่งก็คือศิลปะเหล่านี้มันเป็นการเมือง มันเป็นการแสดงความเป็นชีวิตแต่กลับเกิดภาวะไม่ยอมรับความจริงขึ้นมา
กวีที่ชื่อ Ruth Padel ได้เขียนถึงพลังที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งและความคิดสร้างสรรค์ของ Kathe Kollwitz ที่กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่หายากและสามารถสร้างความสวยงามอยู่บนความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมาน เธอจมอยู่ในความเจ็บปวดและศิลปะของเธฮนั้นก็อยู่ร่วมกันระหว่างอารมณ์และความรับผิดชอบทางสังคม
เธอไม่ได้ทำเหมือนว่าระลึกถึงความเจ็บปวดตอนผลิตงานแต่เธออยู่กับมันตลอดเวลา เธอผู้นั้นไม่ได้เสแสร้งว่าเจ็บปวด แต่เธอยั่งลึกเข้าไปถึงสิ่งที่หายากตรงนั้น เธอยังสามารถที่จะพบหรือแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกส่วนตัวเพราะว่าเธอเองมีงาน มีเป็นชีวิตเป็นสงครามและการปฏิวัติ
คนไข้ที่มารับการรักษาในคลินิกของสามีเธอมักเป็นคนที่ยากจนไม่มีเงินสำหรับค่ายา เด็กเด็กรอบตัวเธอกำลังจะตายและก็อดอยาก แต่เธอกลับเห็นความสวยงามตรงหน้านั้นได้และนั่นแหละเป็นสิ่งที่ฉันเห็นว่ามันเป็นความกล้าหาญที่เกิดขึ้น งานศิลปะของเธอบอกกับเราว่าที่นี่มีความเจ็บปวดอยู่ที่โลกใบนี้ ณ ปัจจุบันขณะ และเธอไม่สามารถจะเลี่ยงหลบหนีไปไหนได้ ทำให้คุณด้วยไม่สามารถที่จะทำเป็นมองไม่เห็น ดังนั้นงานศิลปะเหล่านี้จึงเป็นการที่คุณจะหลีกหนีไม่พบไม่เห็นไม่สัมผัสไม่ได้
…………. (มีต่อ)