ใบแจ้งข่าว ร้องเรียนในกลไกยูเอ็นให้กัมพูชาตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจค้นหาวันเฉลิมโดยทันที หลังไม่ทราบชะตากรรมเกือบจะสี่เดือนแล้ว
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ในสมัยประชุมที่ 45 ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 14 กันยายน ถึง 7 ตุลาคม 2563 คณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติกรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมในประเทศกัมพูชาอ่านรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศกัมพูชาโดยมีองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง ได้กล่าวถึง การหายตัวไปของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์
ในหัวข้อ 4: ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา[1] โดยกล่าวว่า “FIDH กังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการกระชับพื้นที่ภาคประชาชนในกัมพูชา ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการต่อนักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และศิลปินที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบของตน ที่เกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา เราเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกเขาโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข และให้ยกเลิกข้อหาทั้งหมดต่อพวกเขา เรายังขอตอกย้ำข้อเรียกร้องต่อทางการกัมพูชาให้ยุติการดำเนินงานใด ๆ ซึ่งเป็นการข่มขู่และคุกคามบุคคล ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างชอบธรรมและอย่างสงบ เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายเผด็จการ รวมทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการสมาคมและองค์กรพัฒนาเอกชน พระราชบัญญัติว่าด้วยสหภาพแรงงาน และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน
“เรารู้สึกกังวลอย่างยิ่งกับความเพิกเฉยอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล ภายหลังการหายตัวไปของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรมชาวไทย ซึ่งมีผู้พบเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 ในกรุงพนมเปญ การที่เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลได้น้อยมากในการสืบสวนสอบสวนในกรณีนี้นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนชี้ให้เห็นว่า อย่างน้อยเจ้าหน้าที่อาจรู้เห็นเป็นใจ หรืออย่างมากเจ้าหน้าที่อาจมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดการหายตัวไปของนายวันเฉลิม”
“เรากระตุ้นให้ทางการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อสอบสวนกรณีนี้โดยทันที ทั้งนี้เพื่อสืบสวนให้ทราบถึงชะตากรรมหรือที่อยู่ของนายวันเฉลิมให้ได้คำตอบและต้องดำเนินการ อย่างเป็นอิสระ และอย่างไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สอดคล้องตามหลักการของคณะกรรมการว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหายเกี่ยวกับการค้นหาบุคคลผู้สูญหาย และข้อเสนอแนะของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับให้สูญหายหรือโดยไม่สมัครใจแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการสอบสวนที่มีประสิทธิผล”
“เรารำลึกว่า กัมพูชาเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลมีพันธกรณีตามกฎหมาย ต้องสอบสวนการหายตัวไปของนายวันเฉลิม และประกันให้ครอบครัวของเขาเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเป็นผล”
“เรารู้สึกกังวลอย่างยิ่งกับความเพิกเฉยอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลกัมพูชา ภายหลังการหายตัวไปของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรมชาวไทย ซึ่งมีผู้พบเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 ในกรุงพนมเปญ การที่เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลได้น้อยมากในการสืบสวนสอบสวนในกรณีนี้นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนชี้ให้เห็นว่า อย่างน้อยเจ้าหน้าที่อาจรู้เห็นเป็นใจ หรืออย่างมากเจ้าหน้าที่อาจมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดการหายตัวไปของนายวันเฉลิม”
แถลงการณ์ดังกล่าวเรียกร้องให้ตั้งหน่วยเฉพาะกิจ เพื่อสืบสวนสอบสวนกรณีวันเฉลิมโดยทันที “เรากระตุ้นให้ทางการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อสอบสวนกรณีนี้โดยทันที ทั้งนี้เพื่อสืบสวนให้ทราบถึงชะตากรรมหรือที่อยู่ของนายวันเฉลิมให้ได้คำตอบและต้องดำเนินการ อย่างเป็นอิสระ และอย่างไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สอดคล้องตามหลักการของคณะกรรมการว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหายเกี่ยวกับการค้นหาบุคคลผู้สูญหาย และข้อเสนอแนะของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับให้สูญหายหรือโดยไม่สมัครใจแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการสอบสวนที่มีประสิทธิผล”
[1] https://www.fidh.org/en/region/asia/cambodia/oral-statement-for-the-interactive-dialogue-with-the-special-26007
